ออมทรัพย์ vs ฝากประจำ vs ทำประกัน แบบไหนดีกว่า

icon 22 มิ.ย. 66 icon 38,688
ออมทรัพย์ vs ฝากประจำ vs ทำประกัน แบบไหนดีกว่า
ใครที่กำลังมองหาวิธีการบริหารเงิน หรือเริ่มต้นเก็บเงิน ขอแนะนำให้อ่านบทความนี้ก่อนนะคะ เพราะเราจะแนะนำตัวช่วยง่ายๆ ในการเก็บเงินสำหรับมือใหม่กันค่ะ 

ทุกคนคงรู้จักรูปแบบต่างๆ ในการออมเงินอยู่แล้ว ที่หลายๆ คนนิยมทำ เช่น หยอดกระปุกด้วยแบงค์ 50 ฝากเงินกับธนาคารแบบออมทรัพย์ หรือแบบประจำ ซื้อพันธบัตรรัฐบาล และทำประกัน เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย และมีความเสี่ยงต่ำ แต่ละวิธีจะมีความแตกต่างกันในข้อดีที่แตกต่างกัน รวมถึงเงื่อนไขที่อาจไม่เหมือนกัน ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาให้ดีก่อน แม้ว่าจะเป็นเรื่องเบสิกก็ตาม
 
เริ่มจาก การฝากเงินกับธนาคาร ซึ่งแบ่งเป็น 2 รูปแบบที่รู้จัก ดังนี้

1. ฝากเงินแบบออมทรัพย์ทั่วไป (Savings account) เป็นบัญชีที่มักไม่กำหนดระยะเวลา และจำนวนครั้งในการฝากถอน เหมาะกับไว้เป็นบัญชีเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพื่อ ฝาก ถอน โอน จ่าย เพราะมีสภาพคล่องสูง มักใช้ร่วมกับบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต บัญชีประเภทนี้มักกำหนดเงินฝากขั้นต่ำไว้ไม่สูงนัก แต่ผลตอบแทน (อัตราดอกเบี้ย) ค่อนข้างต่ำ และคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน หรืออาจจะเป็นแบบขั้นบันได โดยปัจจุบัน บัญชีที่เปิดแบบออนไลน์ (ไม่มีสมุด) จะได้รับดอกเบี้ยที่สูงกว่า เช่น 
 
CIMB - บัญชีเงินฝาก Chill D
  • วงเงินฝากไม่เกิน 10,000 บาท เงินส่วนนี้จะได้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.50% ต่อปี
  • วงเงินส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000 บาท จะได้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.80% ต่อปี
  • วงเงินส่วนที่เกิน  50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.00% ต่อปี
  • วงเงินส่วนที่เกิน 100,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ย 0.20% ต่อปี
SCB - บัญชีออมทรัพย์ อีซี่ ที่ให้ดอกเบี้ย 1.50% ตั้งแต่บาทแรก 
  • วงเงินฝากไม่เกิน 2 ล้านบาท จะได้รับดอกเบี้ย 1.50% ต่อปี
  • วงเงินฝากส่วนที่เกิน 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท จะได้รับดอกเบี้ย 1.00% ต่อปี
  • วงเงินฝากส่วนที่เกิน 3 ล้านบาท จะได้รับดอกเบี้ย 0.55% ต่อปี
2. ฝากเงินกับบัญชีฝากประจำ (Fixed Deposit Account) เป็นบัญชีที่มีการมีกำหนดระยะเวลาการฝากถอนที่แน่นอน เช่น 3 เดือน / 6 เดือน /12 เดือน/ 24 เดือน/ 36 เดือน ตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร และมีการจูงใจด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการฝากแบบออมทรัพย์ธรรมดา ยิ่งระยะเวลานานเท่าไหร่ ดอกเบี้ยก็จะได้สูงขึ้น โดยธนาคารจะสามารถนำเงินส่วนนี้ไปใช้ประโยชน์หรือลงทุนได้ตามระยะเวลาการรับฝาก โดยไม่ต้องสำรองไว้เหมือนบัญชีเงินฝากออมทรัพย์  ถ้าถอนออกก่อนล่ะ ทำได้มั้ย? สามารถถอนได้ แต่ก็จะไม่ได้อัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลง หรืออาจจะได้เรทแบบออมทรัพย์ทั่วไป บัญชีประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีเงินเย็น ที่สามารถฝากเงินทิ้งไว้ในระยะเวลาหนึ่งโดยไม่ต้องการใช้เงิน ถ้าเป็นคนที่เริ่มต้นสะสมเงิน การฝากประจำก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีทางหนึ่งเลย 

ปัจจุบันมีบัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษีออกมาให้เลือกเปิดได้ โดยมีเงื่อนไขคือเปิดได้เพียง 1 บัญชีเท่านั้น (รวมทุกธนาคาร)

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา - บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 2.75% ต่อปี สำหรับฝากระยะเวลา 24 เดือน  เริ่มต้นฝากขั้นต่ำ 500 บาท และสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน  และระยะเวลาฝาก 36 เดือน อัตราดอกเบี้ย 2.60%ต่อปี ฝากสูงสุดไม่เกิน 16,000 บาทต่อเดือน
 
ธนาคารกรุงไทย - บัญชีเงินฝากประจำ KTB Zero Tax Max อัตราดอกเบี้ย 2.30% ต่อปี ฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท และฝากเท่ากันทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง โดยมีระยะเวลา 24 เดือน เริ่มต้นฝาก 1,000-25,000 บาท ระยะเวลา 36 เดือน ฝากตั้งแต่ 1,000-16,500 บาท และระยะเวลา 48 เดือน ฝากตั้งแต่ 1,000-12,500 บาท
 
ธนาคารกสิกรไทย - บัญชีเงินฝากทวีทรัพย์ 24 เดือน ฝากเริ่มต้นตั้งแต่ 500-25,000 บาท ระยะเวลา 24 เดือน อัตราดอกเบี้ย 2.30%ต่อปี ขาดการฝากได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ตลอดระยะเวลาการฝาก มีสิทธิขอยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประเภทนี้ได้เพียงคนละ 1 บัญชีเท่านั้น
 
ซึ่งจะมีการกำหนดเงื่อนไขในการฝากเงินไว้ด้วย เช่น ขาดฝากได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ถอนก่อน 3 เดือนธนาคารไม่จ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก หรือฝากตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป หากถอนก่อนกำหนด หรือทำผิดเงื่อนไข ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ และหักภาษี ณ ที่จ่าย
 
3. เก็บเงินกับประกันชีวิตในรูปแบบสะสมทรัพย์
 
หลายๆ คนอาจจะไม่รู้เลยว่า เราสามารถเก็บเงินกับประกันชีวิตได้ด้วย นึกว่ามีเพียงออมกับธนาคารเท่านั้น ซึ่งวิธีเก็บเงินกับประกัน จะมีความใกล้เคียงกับการฝากเงินประจำ แต่แถมความคุ้มครองชีวิตมาให้ด้วย โดยที่เราฝากเงินเข้าไปในรูปแบบเบี้ยประกัน ทุกๆ ปี (โดยสามารถทำรายเดือน รายสามเดือน หรือรายหกเดือนได้ แล้วแต่สะดวก) โดยมีระยะเวลามาเป็นตัวกำหนดความยาวของสัญญา เช่น 10 ปี 15 ปี 20 ปี เป็นต้น และทางบริษัทประกันจะคืนเงินมาให้เป็นงวดๆ แล้วแต่ระบุในสัญญา 

ซึ่งการทำประกันสะสมทรัพย์จะต่างการการออมเงินในธนาคารในแง่ระยะสัญญาที่ยาวกว่า และสภาพคล่อง ที่ผู้ทำประกันจะไม่สามารถถอนเงินระหว่างทางของสัญญาได้ หรือหากถอนก่อนกำหนด ก็จะได้รับเงินคืนตามที่ระบุในสัญญาเท่านั้น ซึ่งอาจจะน้อยกว่าเงินต้นที่สะสมเข้าไป แต่ในกรณีที่เสียชีวิตทางประกันก็จะมีทุนคุ้มครองชีวิตจ่ายออกมาให้เป็นเงินก้อน ดังนั้นประกันชีวิต จะเหมาะกับคนที่มีความพร้อมและตั้งใจที่จะสะสมเงินก้อนในระยะยาวมากกว่า 5 ปีขึ้นไป โดยที่วางแผนแล้วว่า สามารถจ่ายเบี้ยประกันได้อย่างต่อเนื่องจนครบสัญญา

ยกตัวอย่างแบบประกันที่มีในตลาด
 
ประกันสะสมทรัพย์ 11/5 ของบริษัทเมืองไทยที่ออกแบบมาขายเฉพาะบนช่องทางออนไลน์ มีการจ่ายเบี้ยทุกปีจำนวน 5 ครั้ง และคุ้มครองชีวิต 11 ปี ได้รับเงินคืนทุกๆ 2 ปี ปีสุดได้เงินคืนครบกำหนดสัญญา
 
 
ประกันสะสมทรัพย์ 15/25 (NON PAR) ของ AIA ซื้อได้ผ่านช่องทางตัวแทน แผนนี้ระยะค่อนข้างยาวหน่อย เหมาะกับคนที่วางแผนเกษียณ หรือเก็บเงินก้อนใหญ่
 
 
เปรียบเทียบการออมเงินกับธนาคาร หรือประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับมือใหม่เริ่มเก็บเงิน เราจะแบ่งเงินกี่ส่วนดี ไปฝากไว้ที่ไหนดี ?
 
โดยปกติ สัดส่วนการออมเงินที่นิยมใช้กันคือ 50-30-20
  • 50% กันไว้ให้ค่าใช้จ่ายจำเป็น เช่น ค่ากิน ค่าอยู่ ค่าผ่อน
  • 30% กันงบให้กับรางวัลชีวิต เช่น ค่าช้อปปิ้ง ค่าเที่ยว gadget
  • 20% กันไว้เก็บออม 
แต่ในบทความนี้ จะแนะนำให้ลองสร้างความเข้มข้นในการเก็บเงินให้มากขึ้น (ขอเพียงมีความตั้งมั่นแน่วแน่ เหมาะกับคนที่ไม่ได้มีภาระมากมาย สามารถทำได้แน่นอนค่ะ) ลองแบ่งเงิน 60% ไว้ออม และ 40% ไว้ใช้ เช่น เงินเดือน 30,000 บาท ใช้จ่าย 12,000 บาท และเก็บ 18,000 บาท
  • ในเงิน 40% ไว้ใช้ ใช้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป ที่ฝาก ถอน โอน จ่าย ได้ สภาพคล่องสูง เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน
  • ในเงิน 60% ที่เก็บ ลองกระจายการเก็บ เป็น 50-30-20 โดยที่ 
    - 50% ฝากประจำ สร้างวินัย และพักเงินระยะสั้นๆ ไม่เกิน 3 ปี เผื่อฉุกเฉินจะถอนได้ง่ายกว่าประกันชีวิต
    - 30% ทำประกันสะสมทรัพย์ ระยะยาว เพื่อเงินก้อนใหญ่ในอนาคต ไม่เหมาะที่จะยกเลิกกลางทาง 
    - 20% เอาไปลองลงทุนในความเสี่ยงที่สูงขึ้น เช่น กองทุน หรือหุ้น เพื่อสรางผลตอบแทนที่มากขึ้น ทั้งนี้ต้องทำแบบประเมินความเสี่ยงก่อนทุกครั้งนะคะ
ไม่ว่าจะเก็บเงินในรูปแบบไหน ฝากเงินที่ธนาคาร หรือทำประกัน ขอเพียงแค่เริ่ม ก็ล้วนเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวินัยทางการเงินที่ดี และยังสามารถเพิ่มความมั่นคง และต่อยอดไปสู่ความมั่งคั่งทางการเงินได้อีกด้วยค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง เงินฝากประจำ ประกันชีวิต เงินฝากออมทรัพย์ ทำประกัน บทความประกัน 2566 เปรียบเทียบรูปแบบการออมเงิน เคล็ดลับการออมเงิน
Money Guru
เขียนโดย คุณป้อ (ประกันเข้าใจง่าย) Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)