ต้องทำงานมาแล้วกี่เดือน ถึงจะกู้บ้านได้ ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

icon 18 ก.ค. 66 icon 28,861
ต้องทำงานมาแล้วกี่เดือน ถึงจะกู้บ้านได้ ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
ใครๆ ก็อยากมีบ้านเป็นของตัวเองใช่มั้ยคะ? แต่จะซื้อบ้านโดยจ่ายเงินสดก้อนใหญ่เลยก็อาจจะไม่ไหว และแน่นอนว่าทางออกสำหรับคนอยากมีบ้านก็คือการขอสินเชื่อบ้านจากสถาบันการเงินนั่นเอง แต่ว่าสถาบันการเงินแต่ละแห่งเอง ก็จะมีหลักเกณฑ์การพิจารณา มีคุณสมบัติของผู้กู้ต่างกันออกไป อย่างเช่น อายุ, อาชีพ, รายได้, ภาระหนี้ที่มีอยู่ ไปจนถึงรายละเอียดแยกย่อยอย่าง "อายุงาน" ใช่แล้วค่ะ! อายุงานก็มีผลต่อการอนุมัติสินเชื่อนะคะ วันนี้พาไปเช็กข้อมูลกันค่ะว่า ทำงานมานานเท่าไหร่ถึงจะกู้ซื้อบ้านผ่านได้แบบง่ายๆ รวมถึงเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับขอสินเชื่อบ้าน พร้อมแล้ว ไปดูกันเลยค่ะ...
ทำไม? จะกู้ซื้อบ้านต้องดูอายุงาน??
 
แน่นอนว่าการจะอนุมัติสินเชื่อ สถาบันการเงินต้องดูรายได้เป็นหลัก แต่อายุงานก็สำคัญเช่นกัน เพราะเป็นอีกหนึ่งเครื่องการันตีความมั่นคงทางการเงิน ความสามารถในการชำระหนี้สถาบันการเงินส่วนใหญ่จะพิจารณาอายุงานอยู่ที่ 6 เดือนขึ้นไปค่ะ เพราะช่วงนี้ก็ถือว่าผ่านช่วงทดลองงาน หรือผ่านโปรมาเรียบร้อยแล้วนั่นเอง แต่หากใครประกอบธุรกิจส่วนตัว ต้องประกอบธุรกิจมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี นะคะ
 
กู้ซื้อบ้าน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง??
 
มาถึงเรื่องเอกสารที่ต้องใช้กันบ้างค่ะ ใครที่ไม่ชอบเรื่องเตรียมข้อมูลเตรียมเอกสาร อาจต้องปวดหัวนิดนึงนะคะ ขอแบ่งการเตรียมเอกสารออกเป็น 5 กลุ่มค่ะ ดังนี้
 
1. เอกสารส่วนตัว
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี)
  • สำเนาทะเบียนสมรส พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของคู่สมรส (กรณีสมรส)
2. เอกสารทางการเงิน
2.1 กรณีประกอบอาชีพมีรายได้ประจำ
  •      หนังสือรับรองเงินเดือน
  •      สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
  •      สมุดบัญชีเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
2.2 กรณีเจ้าของธุรกิจ
  •      สำเนาทะเบียนการค้าหรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
  •      รายชื่อผู้ถือหุ้น
  •      รายการเดินบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
  •      สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
  •      หลักฐานการเสียภาษี เช่น ภ.พ. 30 เป็นต้น
  •      รูปถ่ายกิจการ พร้อมแผนที่ตั้งโดยสังเขป
2.3 กรณีประกอบอาชีพอิสระ
  •      รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
  •      ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กรณีประกอบอาชีพแพทย์, ทนาย, สถาปนิก เป็นต้น
3. เอกสารหลักประกัน
  • สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิห้องชุด
  • สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ
  • แผนที่แสดงที่ตั้งของที่ดินหลักประกัน
4. เอกสารของผู้กู้ร่วม (ถ้ามี)
ใครที่กลัวกู้ไม่ผ่านการ "กู้ร่วม" ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยนะคะ ซึ่งก็เพิ่มความความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงิน เพิ่มโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อนั่นเองค่ะ ผู้กู้ร่วมต้องยื่นเอกสารแสดงตัวตนและรายได้ รวมถึงเอกสารยินยอมให้ตรวจประวัติเครดิตบูโรด้วย ซึ่งผู้กู้ร่วมจะเป็นญาติพี่น้อง,คู่สมรส หรือบิดามารดา เท่านั้น
 
5. หนังสือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลเครดิต
คือการตรวจสอบประวัติชำระหนี้ต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร ตรงเวลาสม่ำเสมอ หรือมีหนี้ค้างอยู่หรือเปล่านั่นเองค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ จริงๆ แล้วการกู้ซื้อบ้านหรือขอสินเชื่อบ้านกับสถาบันการเงินก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย เตรียมตัวเตรียมเอกสารให้พร้อมก็ช่วยเพิ่มโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อแล้ว แนะเคล็ดลับกันอีกนิดค่ะ ใครที่กำลังจะยื่นกู้แนะนำให้ลองยื่นซัก 3-5 ธนาคารนะคะ เพื่อเป็นตัวเลือกเปรียบเทียบกันนะคะ ทั้งในส่วนของวงเงินอนุมัติ, ดอกเบี้ย รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่าลืมว่าสินเชื่อบ้านเป็นสินเชื่อก้อนใหญ่ และต้องผ่อนยาวๆ กันไป 10-30 ปี นะคะ wink
แท็กที่เกี่ยวข้อง สินเชื่อบ้าน สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบ้าน uob
Money Guru
เขียนโดย ชไมพร มีศิริ Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)