ชวนตั้งเป้าหมายทางการเงินแบบ SMART & 3 เลขเด็ด เคล็ดลับบริหารเงิน ที่คนมีเงิน และคนมีหนี้ต้องรู้!

icon 25 พ.ค. 66 icon 4,220
ชวนตั้งเป้าหมายทางการเงินแบบ SMART & 3 เลขเด็ด เคล็ดลับบริหารเงิน ที่คนมีเงิน และคนมีหนี้ต้องรู้!
ไม่ว่าจะมีเงิน หรือมีหนี้ การวางแผนจัดการเงินให้ดีย่อมช่วยให้เราก้าวเข้าสู่ความมั่นคงทางการเงินได้ง่ายขึ้นนะคะ โดยเราอาจเริ่มจากเรื่องง่ายๆ เช่น การสร้างวินัยในการออม และใช้เงินอย่างสมเหตุสมผล รวมถึงควรต้องวางแผนการจัดสรรรายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย และควรแบ่งออมให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ วันนี้เราจะมาชวนตั้งเป้าหมายการเงินแบบ SMART  และบอก 3 เลขเด็ด เคล็ดลับบริหารเงิน กันค่ะ จะเป็นอย่างไร และมีอะไรบ้าง ไปดูพร้อมๆ กันเลย 

มาตั้งเป้าหมายทางการเงินกันเถอะ


การตั้งเป้าหมายทางการเงินที่ดี ควรมีการกำหนดเวลา และการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายต่างๆ ให้ชัดเจน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้เราสามารถกำหนดทิศทางการก้าวสู่ความมั่นคงทางการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้นนะคะ  เช่น เราควรนำ "สิ่งที่จำเป็นต้องมี" มากำหนดเป็นเป้าหมายก่อน "สิ่งที่อยากได้" โดยเราสามารถแบ่งได้ทั้งเป็นเป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายระยะกลาง และเป้าหมายระยะยาว ซึ่งการตั้งเป้าหมายที่ดีก็ควรเป็นไปตามหลัก SMART คือ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ค่ะ
 
ตัวอย่างการตั้งเป้าหมายทางการเงิน
 
การตั้งเป้าหมายทางการเงินที่ดี ต้องมีครบทุกข้อตามหลัก SMART ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการซื้อรถ NETA V ราคา 549,000 บาท โดยซื้อเป็นเงินสด ภายในระยะเวลา 5 ปี เราสามารถวางแผนการออมเงินเพื่อกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนตามหลัก SMART ได้ ดังนี้
 
 
  • S : Specific เป็นการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ว่าสิ่งที่ต้องการคืออะไร 
    => เก็บเงิน "เพื่อซื้อรถ EV" 
  • M : Measurable ควรเป็นเป้าหมายที่วัดผลได้ เป็นตัวเลขที่ชัดเจน
    => ราคารถ "549,000 บาท"
  • A : Achievable เป็นเป้าหมายที่สามารถทำให้สำเร็จได้ และรู้ว่าต้องทำอย่างไร 
    => ต้องเก็บเงิน 549,000 บาท "โดยออมเงินทุกเดือน" 
  • R : Realistic เป้าหมายต้องสมเหตุสมผล มีความเป็นไปได้จริง
    => เก็บเงิน 549,000 บาท "ออมเงินเดือนละ 10,000 บาท" 
  • T : Time-bound มีกรอบเวลาที่ชัดเจน ว่าจะบรรลุเป้าหมายเมื่อไร
    => เก็บเงินให้ได้ 549,000 บาท "ในระยะเวลา 5 ปี" 
สรุปจากการวางแผนออมเงินตามหลัก SMART จะเก็บเงิน 549,000 บาท เพื่อซื้อรถ NETA V โดยเริ่มเก็บเงินทันที เดือนละ 1 หมื่นบาท เป็นเวลา 5 ปี ก็จะสามารถออกรถ NETA V เป็นเงินสดได้ 
 
ทั้งนี้ ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงการยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว การจะซื้อรถสักคัน อาจใช้เพียงเงินดาวน์ และผ่อนชำระเป็นรายเดือนได้ ซึ่งหากจำนวนเงินที่เราต้องเก็บออมน้อยลง ระยะเวลาที่ใช้ก็จะสั้นลงได้ค่ะ 
 
และนอกจากเราจะสามารถตั้งเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจนตามหลัก SMART ได้แล้ว เรายังมี 3 เลขเด็ด เคล็ดลับบริหารเงินมาฝากเพิ่มเติมกันอีกด้วยนะคะ จะเป็นเลขอะไรบ้าง มาดูกัน   

3 เลขเด็ด เคล็ดลับบริหารเงิน ที่คุณต้องรู้ ! 


แล้วถ้าพูดกันถึงเรื่อง "การบริหารเงิน" ไม่เพียงแต่ต้องตั้งเป้าหมายทางการเงินให้ดีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง การบริหารเงินทั้งในส่วนของเงินออม และหนี้สินที่เรามี ให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมอีกด้วย ซึ่งวันนี้ เรามี 3 เลขเด็ด ที่จะช่วยเป็นเกราะป้องกัน เพื่อให้คุณสามารถเดินตามเส้นทางการเงินที่ตั้งไว้ได้อย่างราบรื่น ดังนี้ค่ะ 
 
 
เลขเด็ด หมายเลขที่ 1 คือ "14" 
 
14 เป็นสัดส่วนของการออมเงิน ที่เราควรออม อย่างน้อย 1 ใน 4 ของรายได้ต่อเดือน เช่น หากคุณมีรายได้ เดือนละ 30,000 บาท ก็ควรเก็บออมให้ได้อย่างน้อย 7,500 บาทต่อเดือนนะคะ 
 
เลขเด็ด หมายเลขที่ 2 คือ "13"
 
13 คือ สัดส่วนของหนี้สินที่เรามีไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน เช่น หากคุณมีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือน หนี้สินที่มีก็ไม่ควรเกิน 10,000 บาท
 
ซึ่งเมื่อสังเกตุให้ดี หากเรามีรายได้ 30,000 บาท เก็บออมไปแล้ว 7,500 บาท และยังมีหนี้สินเต็มกำลังคือ 10,000 บาท เราจะเหลือเงินใช้จ่ายเพียง 12,500 บาทต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งหากเหลือเงินเพื่อใช้จ่ายต่อเดือนน้อย ก็อาจจะทำให้เราต้องก่อหนี้เพิ่มเติม ดังนั้นทางที่ดี ก็ควร balance รายรับ รายจ่าย และเงินออมให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อปิดโอกาสเสี่ยงที่เราอาจจะต้องก่อหนี้เพิ่มไว้ตั้งแต่ต้นจะดีกว่านะคะ
 
เลขเด็ด หมายเลขที่ 3 คือ "36"
 
36 คือ สัดส่วนของเงินออมเผื่อฉุกเฉินที่เราควรมีอย่างน้อย 3 - 6 เท่าของรายจ่ายจำเป็น และภาระผ่อนหนี้ต่อเดือน โดยเราสามารถคำนวณได้จาก 
 
 
หมายเหตุ :

(1) รายจ่ายจำเป็นต่อเดือน เช่น ค่าอาหาร ค่าเช่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ให้ครอบครัว และหนี้สินที่ต้องชำระต่อเดือน
(2) สำหรับระยะเวลา 3 - 6 เดือน เราสามารถปรับได้ตามความมั่นคงทางการเงินของเรา ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับอาชีพ เช่น
  • หากเราเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ในช่วงภาวะเศรษฐกิจไม่ดี อาจมีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้าได้ ดังนั้นอาจต้องสำรองเงินเผื่อฉุกเฉินไว้อย่างน้อย 6 เดือน หรือมากกว่า โดยอาจจะพิจารณาจากความสามารถในการหางานใหม่ เพื่อให้กลับมามีรายได้เหมือนเดิม ว่าเราจะใช้ระยะเวลาประมาณเท่าไหร่ด้วยนะคะ 
  • หากเราทำอาชีพรับราชการ หรือทำงานในหน่วยงานที่มีความมั่นคง ก็อาจปรับลดเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินมาอยู่ที่ 3 เดือน ได้ค่ะ 
  • ส่วนในกรณีที่เราทำอาชีพที่มีรายได้ไม่แน่นอน เช่น Freelance ขายของออนไลน์ หรืออาชีพที่ไม่สามารถทราบรายได้ที่ชัดเจนได้ การเก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินไว้อย่างน้อย 6 เดือน หรือมากกว่านั้น ย่อมทำให้รู้สึกอุ่นใจ เมื่อเกิดสถานการณ์ที่เราขาดรายได้นะคะ

ไม่ว่าเราจะมีการตั้งเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจน หรือมีเคล็ดลับในการบริหารเงินอย่างไร สิ่งสำคัญคือ เราควรวางแผนการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับรายรับที่เรามี โดยควรแบ่งส่วนของรายรับสำหรับเงินออม และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นก่อน และหากรายรับที่มีไม่เพียงพอ เราก็ควรหาทางลดรายจ่าย หรือเพิ่มรายได้ให้เหมาะสมด้วยนะคะ :)
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงิน บทความการเงิน 2566 ตั้งเป้าหมายการเงิน SMART หลักการตั้งเป้าหมายการเงิน เคล็ดลับบริหารเงิน เรื่องต้องรู้ของคนมีเงิน เรื่องต้องรู้ของคนมีหนี้
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)