พูดถึงประกันสุขภาพ บางคนอาจคิดว่าเราแข็งแรง ออกกำลังสม่ำเสมอ หรือบริษัทที่ทำงานอยู่มีประกันกลุ่มให้อยู่แล้ว เลยไม่รู้จะซื้อทำไม แต่จริงๆ แล้วเรื่องของสุขภาพหรือการเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่มีใครฝืนได้ และสำคัญคือเราไม่มีทางรู้เลยว่าจะเกิดเป็นอะไรขึ้นมาตอนไหน ยิ่งทุกวันนี้รอบตัวเรามีทั้ง PM2.5, Covid-19, Heat stroke และอื่นๆ "ประกันสุขภาพเหมาจ่าย" เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะบริหารความเสี่ยงตรงนี้ได้ดีที่สุด ทั้งในเรื่องให้ความอุ่นใจ รักษาแบบสบายตัว และลดค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ๆ วันนี้ เรามาดูกันครับว่าประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายให้อะไรกับเราบ้าง และที่เขาโฆษณากันเรื่อง "ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย" จะน่าสนใจกว่า "ประกันแบบแยกจ่าย" ยังไง
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย VS ประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่าย
การประกันสุขภาพ คือการที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย เนื่องจากการบาดเจ็บจากโรคภัย อุบัติเหตุ โดยมีทั้งแบบ "เหมาจ่าย" และ "แยกค่าใช้จ่าย"
"ประกันสุขภาพเหมาจ่าย" หลักการคือ ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษา ค่าห้อง หรืออื่นๆ จะจ่ายให้ตามจริงไม่จำกัดภายในวงเงินประกัน และเหมารวมทุกหมวดมาใช้ภายใต้วงเงินเดียวกัน และการเคลมประกันแบบเหมาจ่ายจะมีวงเงินต่อปีคุ้มครองสูงสุดมาให้ชัดเจนตั้งแต่แรก ถ้าค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลยังอยู่ในวงเงินนั้นๆ ก็เคลมได้เลย ไม่ต้องดูรายละเอียดเป็นรายการ และเราจะไปรักษากี่ครั้งก็ได้ ครั้งละกี่บาทก็ได้ ตราบใดที่ยังอยู่ในวงเงินนี้ ในขณะที่ "ประกันแบบแยกค่าใช้จ่าย" จะจำกัดวงเงินตามหมวด (เช่น หมวดค่ายา หมวดค่าผ่าตัด) ทำให้ต้องแยกว่ารายการไหนอยู่ในหมวดอะไร และมีข้อจำกัดทั้งในแง่เงื่อนไข และจำนวนที่ครอบคลุมแค่ไหน
ลดค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มเงินในกระเป๋าได้อย่างไร?
Checkraka ได้ทำการสำรวจตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการรักษา และค่าห้องพื้นฐานในโรงพยาบาล 5 แห่งเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566 ตามตารางสรุปข้างล่าง โดยตั้งใจให้ครอบคลุมฐานผู้ใช้บริการ และสถานที่ตั้งโรงพยาบาลที่หลากหลายแตกต่างกัน โดยยกตัวอย่างของโรค หรืออาการที่เราสามารถพบเจอกันได้ในชีวิตประจำวัน ทั้งของคุณผู้หญิงวัยทำงาน และของคุณผู้ชายที่ชอบออกกำลังกาย เช่น เนื้องอกในมดลูก และค่าผ่าตัดหมอนรองกระดูก ดังนี้
การมีประกันสุขภาพเหมาจ่าย จะช่วยลดค่าใช้จ่าย (Direct Cost) และเพิ่มเงินในกระเป๋า (Indirect Cost) เราได้ ในกรณีตัวอย่างดังนี้
(ก) ประหยัดเงินค่ารักษาบางส่วน : หากวันดีคืนดี เราบังเอิญได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังจำเป็นต้องผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งค่าใช้จ่ายหลักแสน แต่เบี้ยประกันที่เราเลือกปกติแค่หลัก 2-3 หมื่นก็สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายผ่าตัดแบบนี้ได้ระดับหนึ่งแล้ว จะทำให้เราลดค่าใช้จ่ายที่ต้องควักเองไปได้ไม่น้อยกว่า 70,000-80,000 บาทแน่ๆ
(ข) ป้องกันเงินก้อนที่เก็บมาทั้งชีวิตหาย : ถ้าเราเลือกประกันแบบที่รวมโรคร้ายแรงด้วย จะช่วยปิดความเสี่ยงเรื่องการ "สูญเสียเงินก้อนใหญ่" ไปได้มาก เพราะโรคร้ายแรงสมัยนี้ค่ารักษาอย่างต่ำก็เป็นหลักหลายแสน ถ้าเรามีประกันเหมาจ่ายแบบที่ตรวจพบโรคร้ายแรงก็ให้เงินก้อนมาเลย (เจอ จ่าย จบ) คุณสามารถนำไปบริหารจัดการเองได้ และไม่ต้องนำเงินก้อนที่เก็บไว้มาใช้
(ค) มีค่าทดแทนให้ช่วงทำงานไม่ได้ : ถ้าเราเลือกแผนประกันที่ช่วยชดเชยรายได้ จะช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋าให้เราได้โดยเราสามารถนอนพักผ่อนรักษาร่างกายจากการเจ็บป่วยได้เต็มที่ โดยจะได้รับค่าสินไหมทดแทนรายวันในช่วงที่เราไม่สามารถไปทำงานได้ เป็นการเพิ่มเงินในกระเป๋าไปในตัว เช่น ชดเชยรายได้วันละ 1,000 บาท (30 วัน)
(ง) ลดหย่อนภาษีได้ทำให้เพิ่มเงินในกระเป๋า : ทุกเดือนเราจะโดนหักภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ซึ่งปลายปี เราสามารถนำเบี้ยประกันภัยสุขภาพไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี แต่ถ้าเรามีซื้อประกันชีวิต หรือประกันแบบสะสมทรัพย์ด้วย ค่าเบี้ยประกันของทั้งหมดนี้ จะลดหย่อนได้เต็มที่ไม่เกิน 100,000 บาทนะครับ นอกจากนี้ ถ้าเราทำประกันสุขภาพเหมาจ่ายให้บิดามารดาของเราเอง (แต่ละคนมีต้องรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี) เราจะเพิ่มการลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงอีกแต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี (หากทำ 1 ฉบับให้บิดา และอีก 1 ฉบับให้มารดาก็จะรวมกันได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี)
(จ) ซื้อแบบเน้นให้ลูก หรือให้ทั้งครอบครัวได้ : ถ้าเราเป็นเสาหลักของครอบครัว และมีทั้งลูกเล็ก และพ่อแม่ที่อายุเยอะ หรือครอบครัวมีประวัติกรรมพันธุ์ในบางโรค บริษัทประกันบางที่มีแผนประกันสุขภาพเหมาจ่ายให้ทั้งครอบครัวได้ (เช่น กำหนดให้ 5 คนใน 1 ครอบครัวด้วยการจ่ายเบี้ยจำนวนเดียว) หรือเด็กเล็กของเราเจ็บป่วยบ่อย ก็อาจซื้อแผนประกันสุขภาพของเด็กเล็ก เช่น อายุ 3 ปีได้ ซึ่งในหลายๆ กรณี การซื้อแบบเหมาจ่ายทั้งครอบครัว อาจมีค่าเบี้ยประกันที่ต่ำกว่าการซื้อแยกเป็นรายบุคคลไป และในการบริหารจัดการค่ารักษาแบบเหมาสำหรับทั้งครอบครัว อาจบริหาร หรือแบ่งกันใช้เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดได้คุ้มกว่า
ตัวอย่าง ประกันเหมาจ่าย ttb Easy Care Plus (ทีทีบี อีซี่ แคร์ พลัส)
ในตลาดตอนนี้ มีผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ตอบโจทย์ในหลายๆ วัย และในหลายๆ งบประมาณการซื้ออยู่หนึ่งตัวคือ "ttb Easy Care Plus" ที่จัดจำหน่ายโดยทีเอ็มบีธนชาต และผู้รับประกันคือบริษัทประกันที่มีความมั่นคงในระดับโลก คือ บมจ.พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) (ซึ่งในกลุ่ม Prudential ทั้งหมดปัจจุบันมีลูกค้าประกันชีวิตกว่า 17 ล้านรายในเอเชีย และแอฟริกา และเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ London, Hong Kong, Singapore และ New York) เรามาดูกันคร่าวๆ ข้างล่างครับว่า ttb Easy Care Plus มีข้อดี และช่วยประหยัดเงิน พร้อมเพิ่มวงเงินในกระเป๋าเรายังไงได้บ้าง
ประหยัดเงิน & เพิ่มเงินในกระเป๋า | ttb Easy Care Plus ตอบโจทย์ให้เรายังไงได้บ้าง |
อยากได้แบบให้ "เงินก้อน" ไว้บริหารจัดการเอง หรือเป็นสมบัติให้ลูกหลาน | มีแบบ "เจอ จ่าย จบ" มะเร็งทุกระยะให้ด้วย และรับเงินก้อนสูงสุดหลักล้านบาท |
ลดภาษี | ค่าเบี้ยสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี (ตามหลักเกณฑ์กรมสรรพากร) |
งบจ่ายเบี้ยมีไม่มาก | มี Option ให้เลือกเพื่อจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยถูกลงได้ เช่น ให้เลือกร่วมรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในส่วนแรก (Deductible) หรือเลือกแบบร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล 20% ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง (Co-Payment) หรือเลือกจำนวนเบี้ยประกันที่คิดว่าเราจ่ายไหวในแต่ละปี ซึ่งจำนวนเบี้ยก็จะผันแปรไปกับวงเงินคุ้มครอง ตั้งแต่ 200,000 - 5,000,000 บาท |
กระจายการแบ่งจ่ายเบี้ยออก ไม่เป็นภาระก้อนใหญ่ | สามารถเลือกชำระเบี้ยประกันแบบรายปี รายเดือน ราย 3 เดือน หรือราย 6 เดือนได้ |
ค่าเดินทางไปโรงพยาบาล | สามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนไหนก็ได้ ใกล้บ้าน |
ซื้อ 1 แต่คุ้มครองได้หลายคน | สามารถซื้อให้ลูก หรือผู้สูงวัยในครอบครัวได้ เพราะอายุการรับประกันมีได้ตั้งแต่ 6-65 ปี และคุ้มครองได้ถึงอายุ 85 ปี และยังมีแบบ ทีทีบี อีซี่ แคร์ พลัส สำหรับครอบครัวด้วย (คุ้มครองได้สูงสุด 5 คนในครอบครัว) |
ตอบโจทย์กันในหลายๆ เรื่องแบบนี้แล้ว ใครสนใจประกันชีวิตสุขภาพเหมาจ่าย ttb Easy Care Plus สามารถลองเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติม หรือ
กดสมัครเลยได้ที่นี่ และนอกจากนี้หากเราสมัครภายในวันนี้ ยังมีโอกาสรับสิทธิพิเศษเหล่านี้ด้วยนะครับ
- ต่อที่ 1 รับเงินคืนเข้าบัญชีสูงสุด 3,000 บาท
- ต่อที่ 2 รับเพิ่มเครดิตเงินคืน 15% ของค่าเบี้ยประกันภัยรายปี ปีแรก เมื่อชำระค่าเบี้ยประกันภัยด้วยบัตรเครดิตทีทีบี
- ต่อที่ 3 สามารถทำรายการแบ่งจ่ายสบาย ๆ กับ ttb so good ดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน โทร 1428 กด 1
หรือสามารถสมัคร ทีทีบี อีซี่ แคร์พลัส ผ่าน แอปฯ ttb touch ได้ที่หน้าประกัน
- *เงื่อนไขเป็นไปตามความคุ้มครองที่ระบุในกรมธรรม์ / ผลประโยชน์ขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครองที่เลือก/ค่าห้องครอบคลุมห้องเตียงเดี่ยวมาตรฐานทุกโรงพยาบาล / ค่าเบี้ยฯ เริ่มต้น 32 บาทต่อวัน คำนวณจากค่าเบี้ยประกันภัยเพศชาย อายุ 35 ปี แผนคลาสสิกแผน 1
- *ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- *รับประกันชีวิตโดย บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) เป็นเพียงนายหน้าประกันชีวิต และรับผิดชอบในฐานะนายหน้าเท่านั้น
สุดท้ายนี้ อยากฝากไว้นิดครับว่า หากเจ็บป่วยขึ้นมาแล้ว ค่อยคิดจะมาทำประกันสุขภาพ ในบางที ก็อาจจะสายเกินไปเสียแล้ว เพราะเรามีประวัติเจ็บป่วยมาแล้ว ค่าเบี้ยประกันเราอาจจะโดนสูงมาก หรือบางโรคอาจไม่มีบริษัทไหนรับประกันเลย ดังนั้น การซื้อ และจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพถือเป็นการบริหารความเสี่ยง เพราะเราไม่มีทางรู้อนาคตว่าจะล้มป่วยเมื่อไร วันหนึ่งที่โรคร้ายมาเยือน เราจะได้มีเบาะนุ่มๆ รองรับให้ความอุ่นใจ และรักษาพยาบาลได้เต็มที่ด้วยความสบายกายไม่รบกวนเงินเก็บในกระเป๋า หรือเป็นภาระสำหรับคนในครอบครัวครับ