โรคเสพติดการช้อปมีอยู่จริง! ทำความรู้จักโรค "Shopaholic"

icon 28 มี.ค. 66 icon 4,416
โรคเสพติดการช้อปมีอยู่จริง! ทำความรู้จักโรค "Shopaholic"
เดี๋ยวนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยค่ะว่าการช้อปปิ้งนั้นง่ายเพียงแค่เอื้อมมือจริงๆ แค่มีอินเทอร์เน็ต หรือเปิดโทรศัพท์ ก็สามารถเอฟของได้ง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปถึงห้างแล้ว ยิ่งอยู่ในช่วงโปรโมชันประจำเดือน หรือช่วงลดราคาพิเศษของแอปพลิเคชันช้อปปิ้ง ก็ยิ่งเสียเงินง่ายขึ้น (แม้ตอนแรกจะไม่มีของที่อยากได้เลยก็ตาม รู้ตัวอีกทีก็เงินปลิวไปซะแล้ว) พอทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นอุปนิสัย ขอบอกเลยว่าจากเดิมที่เป็นแค่นักช้อป อาจกลายมาเป็นโรคเสพติดการช้อปปิ้ง หรือ "Shopaholic" ได้ค่ะ โดยในบทนี้เราจะมาทำความรู้จักโรคนี้กันค่ะ

โรค Shopaholic คืออะไร

Shopaholic เป็นชื่อโรคทางจิต ใช้เรียกบุคคลที่มีพฤติกรรมเสพติดการซื้อของมากเกินความจำเป็น บางรายอาจเป็นหนักถึงขั้นก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหาทางด้านการเงิน ปัญหาความขัดแย้งกับคนในครอบครัว หรืออาจมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น พยายามหลบซ่อน หรือปกปิดราคาของที่ซื้อมา แม้โรคนี้จะเกิดขึ้นบ่อยในเพศหญิง แต่ในความเป็นจริงแล้วสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ เนื่องจากขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการช้อปของแต่ละคนค่ะ


สาเหตุของโรค Shopaholic

โรคเสพติดการช้อปปิ้งเกิดได้จากทั้งตัวบุคคลเอง และเกิดจากสิ่งกระตุ้นจากรอบตัว ซึ่งสาเหตุที่มาจากตัวบุคคลเองก็จะได้แก่ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล สมาธิสั้น ขาดความมั่นใจในตนเอง หรือเกิดความเครียด ทำให้ต้องซื้อของเพื่อเป็นการบรรเทาอารมณ์เชิงลบออกไป ส่วนสิ่งกระตุ้นรอบตัวที่ส่งผลอย่างชัดเจนคือสื่อโฆษณาที่ดึงดูดทำให้เราอยากซื้อสินค้าชิ้นนั้นๆ รวมถึงความสะดวกสบายในการช้อปปิ้ง อย่างการซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์


แบบไหนถึงเข้าข่ายเป็นโรค Shopaholic

หากไม่แน่ใจว่าตัวเองอยู่ในสภาวะของการเป็นโรค Shopaholic หรือไม่ ผู้เขียนแนะนำให้ลองประเมินตัวเองจากพฤติกรรมที่ยกตัวอย่างโดยกรมสุขภาพจิต ดังนี้ค่ะ

  • เสพติดการช้อปปิ้ง หยุดช้อปปิ้งไม่ได้ ช้อปปิ้งเป็นประจำทุกวัน หรือทุกสัปดาห์
  • เมื่อเกิดความเครียด มักบรรเทาด้วยการซื้อของ
  • ใช้บัตรเครดิตจนเต็มวงเงิน หรือเปิดบัตรเครดิตใบใหม่ ทั้งที่ยังไม่ได้ชำระหนี้เก่า 
  • รู้สึกดี หรือรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้ช้อปปิ้ง
  • ซื้อแต่ของที่ไม่จำเป็น หรือไม่ได้ใช้
  • โกหกหรือลักขโมยเพื่อให้ได้ช้อปปิ้งต่อ
  • รู้สึกผิดหลังได้ช้อปปิ้ง แต่ไม่สามารถหยุดช้อปปิ้งได้
  • ไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารการใช้จ่ายของตนเอง หรือไม่สามารถใช้หนี้ที่เกิดจากการช้อปปิ้งได้
  • ยับยั้งพฤติกรรมการช้อปปิ้งของตนเองไม่ได้

แก้นิสัย Shopaholic ได้ง่ายๆ ด้วยวิธีดังนี้

การแก้ไขพฤติกรรม Shopaholic อาจจะต้องลงลึกไปที่สาเหตุหลัก อย่างปัญหาทางจิตต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคกังวลต่อการเข้าสังคม และโรคย้ำคิดย้ำทำ โดยผู้ที่มีปัญหานี้อาจจะต้องเข้ารับคำปรึกษาและรับการบำบัดจากจิตแพทย์โดยตรง ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนอยู่ในสภาวะที่รุนแรงมากแค่ไหน แต่ถ้าหากไม่ได้รุนแรงมาก อาจจะเริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น คำนึงถึงความจำเป็นก่อนที่จะซื้อ วางแผนการใช้จ่ายอย่างจริงจัง ควบคุมอารมณ์และมีสติในการช้อปปิ้งแต่ละครั้ง รวมทั้งพยายามลดความถี่ในการช้อปปิ้งให้น้อยลง ซึ่งอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็คือความเข้าใจและกำลังใจจากคนรอบข้างค่ะ


จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ยอมรักษาโรค Shopaholic

หากเราปล่อยให้ตัวเองอยู่ในอาการเสพติดการช้อปปิ้งไปนานๆ ผลที่ตามมาอาจไม่ได้แค่ส่งผลกระทบต่อตนเองเพียงอย่างเดียว อาจส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างด้วย อย่างเช่นการติดหนี้สินจนส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนรอบตัว และที่หนักที่สุดคือการลักเล็กขโมยน้อยเพื่อตอบสนองความอยากได้ของตนเอง จนนำไปสู่การดำเนินคดีตามกฎหมายในที่สุด

ทางที่ดีหากไม่อยากให้การช้อปปิ้งกลายมาเป็นการเสพติดจนเกิดปัญหาตามมาทีหลัง ผู้เขียนก็ขอแนะนำให้หมั่นมีสติ และคิดก่อนช้อปทุกครั้งนะคะ ?
แท็กที่เกี่ยวข้อง ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้งออนไลน์ ซื้อของออนไลน์ shopaholic บทความการเงิน 2566 โรคเสพติดการช้อปปิ้ง
Money Guru
เขียนโดย สุทธิดา กาหา Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)