ฟรีแลนซ์ต้องรู้…ดูให้ครบก่อนตัดสินใจ "ประกันสังคมมาตรา 40" ต้องจ่ายเท่าไหร่ คุ้มครองอะไรบ้าง

icon 17 พ.ค. 66 icon 42,780
ฟรีแลนซ์ต้องรู้…ดูให้ครบก่อนตัดสินใจ "ประกันสังคมมาตรา 40" ต้องจ่ายเท่าไหร่ คุ้มครองอะไรบ้าง
การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ก็คล้ายๆ กับการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ ที่ดูเหมือนจะเป็นการจ่ายเบี้ยทิ้งไป โดยอาจจะไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่คุ้มค่าเท่าใดนัก แต่...ก็ต้องบอกว่า กองทุนประกันสังคมก็ถือเป็นอีกหนึ่งสวัสดิการจากภาครัฐ ที่จะช่วยสร้างหลักประกันให้เราได้อุ่นใจขึ้นบ้างในวันที่เกิดความจำเป็นต้องใช้ค่ะ เพราะผู้ประกันตนก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ที่จะช่วยรับผิดชอบเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น เงินทดแทนรายวันเมื่อผู้ประกันตนเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ประสบอันตราย หรือทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ รวมถึงมีเงินสงเคราะห์บุตรให้ รวมถึงติดตามสวัสดิการจากรัฐที่ควรได้เพิ่มเติม เป็นต้น

โดยเฉพาะกลุ่มฟรีแลนซ์ หรือกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพอิสระ ที่ไม่ได้รายได้ประจำ และไม่มีสวัสดิการเหมือนกับพนักงานบริษัททั่วไป ที่ควรหาช่องทางวางแผนการเงินที่จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น ในเรื่องของการรักษาพยาบาล และสวัสดิการอื่นๆ ที่ควรจะได้รับ แต่จะต้องทำประกันสังคมมาตราไหน ต้องจ่ายเท่าไหร่ และได้รับความคุ้มครองอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ 
 

คุณสมบัติของผู้ประกันตนมาตรา 40

ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ กลุ่มคนที่ประกอบอาชีพอิสระ ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39 และไม่เป็นข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
 
  • ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
  • อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
  • ผู้พิการทางร่างกายที่รับรู้สิทธิ
  • เป็นผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ที่มีเลขประจำตัวหลักแรกเป็น 0 หรือ 6 หรือ 7

ผู้ประกันตน มาตรา 40 จะได้รับความคุ้มครองอะไรบ้าง

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้รับความคุ้มครอง ใน 5 กรณี ตามเงื่อนไขของการจ่ายเงินสมทบ โดยการจ่ายสิทธิประโยชน์จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ ดังนี้ค่ะ 

กรณีที่ 1 เมื่อประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 3 ใน 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย
 
กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยรับเงินทดแทนการขาดรายได้ ทางเลือกที่ 1 
จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 2
จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 3
จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน
นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป (ผู้ป่วยใน)  วันละ 300 บาท วันละ 300 บาท วันละ 300 บาท
ไม่นอนโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ ให้หยุดพักรักษาตัว ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท วันละ 200 บาท วันละ 200 บาท
ภายใน 1 ปี นอนพัก และไม่นอนพักในโรงพยาบาล ไม่เกิน 30 วัน/ปี ไม่เกิน 30 วัน/ปี ไม่เกิน 90 วัน/ปี
ไปพบแพทย์ (ผู้ป่วยนอก) และมีใบรับรองแพทย์มาแสดง ครั้งละ 50 บาท 
(3 ครั้ง/ปี)
ครั้งละ 50 บาท 
(3 ครั้ง/ปี)
ไม่คุ้มครอง
 
กรณีที่ 2 ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ตามเงื่อนไขขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ ดังนี้
  • จ่ายเงินสมทบ 6 ใน 10 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 500 บาท/เดือน 
  • จ่ายเงินสมทบ 12 ใน 20 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 650 บาท/เดือน 
  • จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 40 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 800 บาท/เดือน 
  • จ่ายเงินสมทบ 36 ใน 60 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 1,000 บาท/เดือน 
กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ทางเลือกที่ 1 
จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 2
จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 3
จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน 500 - 1,000 บาท 500 - 1,000 บาท 500 - 1,000 บาท
ระยะเวลาในการรับเงินทดแทน เป็นเวลา 15 ปี เป็นเวลา 15 ปี ตลอดชีวิต
ได้รับเงินค่าทำศพ (เสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทน) 25,000 บาท 25,000 บาท 50,000 บาท
 
กรณีที่ 3 กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ โดยมีเงื่อนไข คือ 
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 ใน 12 เดือน ก่อนเดือนที่เสียชีวิต
  • กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จ่ายเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือน ก่อนเดือนที่เสียชีวิต มีสิทธิ์ได้รับเงินค่าทำศพ
กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ ทางเลือกที่ 1 
จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 2
จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 3
จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน
ได้รับเงินทำศพ (โดยผู้จัดการศพ) 25,000 บาท 25,000 บาท 50,000 บาท
ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต
(เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน ก่อนเดือนที่เสียชีวิต)
รับเพิ่ม 8,000 บาท รับเพิ่ม 8,000 บาท ไม่คุ้มครอง
 
กรณีที่ 4 กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
 
กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล ทางเลือกที่ 1 
จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 2
จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 3
จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน
ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ
(ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์ตอบแทน)
ไม่คุ้มครอง 50 บาท/เดือน 150 บาท/เดือน
รับเงินบำเหน็จเพิ่ม
(เมื่อจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป)
ไม่คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง รับเพิ่ม 10,000 บาท
สามารถฝากเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท ไม่คุ้มครอง ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
 
กรณีที่ 5 กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 24 ใน 36 เดือน และขณะรับเงินสงเคราะห์บุตร ต้องส่งเงินสมทบทุกเดือน
 
กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน ทางเลือกที่ 1 
จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 2
จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 3
จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน
ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน
ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 2 คน
ไม่คุ้มครอง ไม่คุ้มครอง 200 บาท/คน/เดือน

ช่องทางการสมัคร / การชำระเงิน และการรับเงินประโยชน์ทดแทน

สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้ง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ, เคาน์เตอร์เซอร์วิส (เซเว่น-อีเลฟเว่น), ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, เว็บไซต์ www.sso.go.th, เครือข่ายประกันสังคมทั่วประเทศ หรือสายด่วนประกันสังคม 1506 

ตัวอย่างแบบคำขอสมัครผู้ประกันตนตามมาตรา 40
ช่องทางการชำระเงินสำหรับสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40
 
  • ชำระเงินได้ที่เคาน์เตอร์ธนาคาร และหน่วยบริการ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, เคาร์เตอร์เซอร์วิส (เซเว่น-อีเลฟเว่น), เคาน์เตอร์โลตัส, ตู้บุญเติม และเคาน์เตอร์ Cenpay Powered by บุญเติม
  • ชำระเงินโดยการหักบัญชีเงินฝากธนาคาร ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • ชำระผ่าน Mobile Application Shopee
ช่องทางการรับเงินประโยชน์ทดแทนมาตรา 40 
 
  • รับเงินด้วยตนเอง/มอบอำนาจรับเงินแทน ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
  • รับเงินทางธนาณัติ
  • รับเงินผ่านธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

อย่างที่ทราบกันดีว่าประกันสังคมเป็นสวัสดิการที่รัฐบาลให้การสนับสนุน เพื่อให้ผู้มีรายได้ มีหลักประกันในการใช้ชีวิต มีความมั่นคง และมีเงินเก็บส่วนหนึ่งเตรียมพร้อมสำหรับวัยเกษียณ การจะเลือกสมัครประกันสังคมมาตราไหน ผู้สมัครก็ควรศึกษาหลักเกณฑ์การส่งเงินสมทบ และเงื่อนไขการรับสิทธิประโยชน์ทดแทน เพื่อช่วยวางแผนคุ้มครองความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมนะคะ wink
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันสังคม ฟรีแลนซ์ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม บทความการเงิน 2566 ประกันสังคมมาตรา 40
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)