ซื้อประกันสุขภาพแบบไหนดี

icon 24 มี.ค. 66 icon 4,521
ซื้อประกันสุขภาพแบบไหนดี
ปัจจุบันการทำประกันสุขภาพเป็นที่สนใจมากขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงเรื่องโรคต่างๆ มีมากขึ้น ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไป และค่ารักษาพยาบาลที่แพงขึ้นทุกๆปี เวลาเจ็บป่วยหนักๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะต้องควักเงินเก็บออกมารักษา แต่ถ้าทำประกันสุขภาพติดตัวไว้ ก็จะสามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายตรงนี้ออกไปได้บ้างไม่มากก็น้อย แต่เราควรเลือกทำประกันสุขภาพแบบไหนดีล่ะถึงจะตอบโจทย์ที่สุด ทั้งเรื่องเบี้ยประกัน และความคุ้มครองที่ครอบคลุม
 

ประเภทของประกันสุขภาพ จัดกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

  1. ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คือ ประกันสุขภาพที่คุ้มครองทุกค่าใช้จ่ายจำเป็นที่เกิดขึ้นตอนนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เช่น ทำประกันสุขภาพที่มีวงเงินคุ้มครอง 5 ล้านบาท เราสามารถเบิกเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการรักษาพยาบาล เช่น ค่าผ่าตัด ค่าบริการทางการแพทย์ ค่ายา ค่าทำเคมีบำบัด รังสีบำบัด อยู่ในวงเงิน 5 ล้าน แต่อาจจะมีการจำกัดความคุ้มครองเฉพาะค่าห้องต่อวันไว้ บางแบบประกันจะมีการเพิ่มเติม การรักษาแบบ OPD หรือ ผู้ป่วยนอกเข้าไปด้วย ในแผนประกันที่วงเงินสูง ซึ่งจะตามมาที่ค่าเบี้ยประกันที่แพงขึ้น

ยกตัวอย่างแบบประกันเหมาจ่าย AIA Health Happy

จะเห็นว่าในตารางผลประโยชน์ ระบุความคุ้มครองแบบ “เหมาจ่ายตามจริง” ในวงเงินที่เราทำ เช่น ทำแผน 1 ล้าน ก็เหมา 1 ล้าน ส่วนอื่นๆ จะมีการกำหนดวงเงินค่าใช้จ่ายไว้ เช่น ค่าห้อง ไม่เกิน 1,500 บาทต่อวัน ค่ายากลับบ้าน ไม่เกิน 20,000 บาท และค่าแพทย์ตรวจรักษาไม่เกิน 1,000 บาทต่อวัน ในแผนประกัน 1 ล้านบาท
แต่หากเราทำแผนประกันทุน 25 ล้านบาท ซึ่งเป็นแผนสูงสุด จะพบว่า จะมีปลผระโยชน์เพิ่มเติมเรื่องค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกเข้ามาให้ที่ 2,000 บาทต่อครั้ง สูงสุด 30 ครั้งต่อปี
 
iHealthy Ultra ของกรุงไทย AXA
 
 
 Package เหมาจ่ายเริ่มต้นที่ 3 ล้านบาท จะได้ค่าห้อง 1,500 บาทต่อวัน และมีเงื่อนไขในข้อ 3 เรื่องแพทย์ตรวจ จะได้ 1,000 บาทต่อวัน
 

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย Gen Health Lump Sum Plus ของ Generali

เริ่มต้นที่ 300,000 บาท มีค่าห้อง 2,000 ต่อวัน และในบางข้อก็มีวงเงินกำหนดไว้ จุดเด่นคือเบี้ยประกันต่อปีค่อนข้างถูกถ้าเทียบกับเจ้าอื่นๆ

 
  1. ประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่าย
ปัจจุบันทุกบริษัทประกันจะปรับประกันสุขภาพเป็นแบบมาตรฐานใหม่ ซึ่งรายละเอียดความคุ้มครองจะคล้ายคลึงกัน แตกต่างกันที่ตัวผลประโยชน์ที่ให้มาทั้งแบบเหมาจ่ายและแบบแยกค่าใช้จ่าย ซึ่งแบบประกันแบบแยกค่าใช้จ่ายนี้ จะมีการกำหนดค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวดเอาไว้ชัดเจนว่าเคลมได้ไม่เกินกี่บาท ตัวอย่างเช่น แบบประกันของอาคเนย์ ให้ค่าห้อง วันละ 1,000 บาท ค่าบริการทางการแพทย์ 14,000 บาท ค่าห้องผ่าตัด 5,000 บาท สำหรับแผน 1,000 บาท ซึ่งจะแตกต่างจากแบบเหมาจ่าย ที่มีวงเงินที่สูงกว่า เป็นต้น
 
แผนประกันสุขภาพทั่วไป มาตรฐานใหม่ HS Extra ของ AIA ก็จะให้ค่าห้อง และความคุ้มครองในแต่ละหมวดเป็นลักษณะวงเงินจำกัด 
 
ยังมีประกันสุขภาพอื่นๆ ที่สามารถทำเพิ่มเติมได้ เช่น ประกันชดเชยรายได้ ประกันโรคร้ายแรง ประกันอุบัติเหตุ ซึ่งจะเจาะลึกกันภายหลัง
 

แล้วเราควรเลือกประกันสุขภาพแบบไหนดีล่ะ ระหว่างเหมาจ่าย หรือแยกค่าใช้จ่าย ไม่ยากเลยค่ะ ลองดูคำถามที่ควรนำมาพิจารณาก่อนเลือกทำประกันสุขภาพกันก่อน

  1. สำรวจค่ารักษาพยาบาล 

สำรวจโรงพยาบาลที่เรามีประวัติรักษา และเข้าเป็นประจำก่อนค่ะ เรทค่าห้องสูงมั้ย แบบประกันแบบไหนที่ครอบคลุม หรือเราต้องจ่ายเพิ่มเท่าไหร่ ถ้าป่วยนอนโรงพยาบาล ถ้ากรณีป่วยหนักหรือเป็นโรคร้ายแรง ประกันคุ้มครองหมดมั้ย

  1. เช็คความคุ้มครองหรือสวัสดิการที่มีทั้งหมด และคำนวนว่ายังขาดอะไรบ้าง

ตรวจสอบก่อนว่าเรามีประกันสุขภาพอะไรบ้าง เช่น ประกันกลุ่มของบริษัทที่ทำไว้ให้แล้ว หรือประกันสังคม และขาดเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอหากป่วยหนักๆ

  1. ความสามารถในการจ่ายประกันของเราเอง เนื่องจากเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้นทุกๆช่วงอายุ

โดยปกติประกันสุขภาพเบี้ยจะไม่คงที่ จะมีการปรับราคาขึ้นตามอายุ เพราะอายุมากขึ้นก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้นนั่นเอง ลองดูตารางเบี้ยล่วงหน้าว่า ถ้าเราอายุมากขึ้น เบี้ยจะแพงขึ้นกี่บาท เพื่อให้เราเตรียมความพร้อมเรื่องค่าเบี้ยไว้แต่เนิ่นๆ

  1. ต่อประกันได้ถึงอายุกี่ปี บางบริษัทต่อได้ถึงอายุ 85 ปี หรือบางที่ก็ 99 ปี เราอาจจะทำประกันสุขภาพมาทั้งชีวิตไม่เคยเคลม แต่พออายุ 86 ป่วยหนักก็เป็นไปได้นะคะ ดังนั้น ข้อนี้ก็สำคัญเหมือนกันที่เอามาพิจารณา

  2. เงื่อนไขอื่นๆ ในความคุ้มครองมีอะไรบ้าง เช่น ระยะเวลารอคอย โรคที่ไม่คุ้มครอง 

  3. หากมีเวลา ลองเปรียบเทียบประกัน 2-3 ที่ ดูเงื่อนไข หรือแผนประกันความคุ้มครอง เลือกที่เหมาะและดีที่สุดสำหรับตัวเอง 

  4. ความมั่นคงของบริษัท หรือตัวแทนมีความน่าเชื่อถือแค่ไหน  ก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน เพราะเราอาจจะเคยได้ยินบริษัทประกันหลายเจ้าล้มละลายในช่วงโควิดที่ผ่านมา ก็จะมีความเสี่ยงต่อลูกค้าด้วยเช่นกัน หรือตัวแทนก็สำคัญเช่นเดียวกันสำหรับการทำประกันสุขภาพ เพราะจะมีเรื่องการเคลมประกันต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้ามีตัวแทนที่ดี น่าเชื่อถือ และไว้วางใจได้ ก็จะเป็นข้อพิจารณาในการทำประกันสุขภาพ

  5. ประวัติการเคลมง่ายของบริษัทประกัน เครือข่ายโรงพยาบาลที่มีว่าครอบคลุมแค่ไหน เผื่อกรณีฉุกเฉินใดๆ เหตุสุดวิสัยที่เราไม่สามารถเข้าโรงพยาบาลประจำได้

  6. ระบบการดูแลลูกค้าดีมั้ย หลังจากทำประกันไปแล้ว มีระบบให้เข้าถึงข้อมูลตัวประกัน หรือเคลมประกันได้ง่ายหรือไม่

 
สรุป การเลือกทำประกันสุขภาพ จะเหมาะกับคนที่ไม่มีประกันสุขภาพอะไรคุ้มครองเลย หรือมีแต่ไม่เพียงพอ ถ้าเรามองอย่างรอบด้าน การทำประกันสุขภาพถือเป็นการโอนย้ายความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาพยาบาล การเสียเงินทำประกันหลักหมื่น เพื่อคุ้มครองเงินก้อนใหญ่หรือเงินสะสมของเราไว้ ก็คงมีความคุ้มค่าไม่น้อยค่ะ
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกัน ประกันสุขภาพ ซื้อประกัน ซื้อประกันสุขภาพ บทความการเงิน 2566 บทความประกัน 2566 ซื้อประกันสุขภาพแบบไหนดี
Money Guru
เขียนโดย คุณป้อ (ประกันเข้าใจง่าย) Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)