ประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้นกับระยะยาว

icon 23 พ.ค. 66 icon 4,556
ประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้นกับระยะยาว
หลายคนที่กำลังมองหาประกันสุขภาพหรือประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ มักจะมีคำถามว่า จะทำประกันสะสมทรัพย์แบบไหนดี ระยะสั้นหรือยาวดี ผลตอบแทนแบบไหนคุ้ม ตัดสินใจไม่ถูก วันนี้มาทำความเข้าใจเพิ่มเติมและอ่านข้อเสนอแนะดีๆ กันค่ะ
 
ประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้น ในมาตรฐานของตลาดประกันชีวิต จะอยู่ที่ 10 ปี เนื่องจากกรมสรรพากรได้ระบุสิทธิการลดหย่อนภาษีโดยการนำเบี้ยประกันชีวิตมาหักลดได้ โดยประกันชีวิตที่ทำต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ดังนั้นแบบประกันส่วนใหญ่ที่ออกแบบมา จะมีระยะตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปนั่นเอง

ประกันสะสมทรัพย์ระยะยาว ก็คือระยะสัญญาของประกันที่ยาวกว่า 10 ปี เช่น 15 ปี 20 ปี หรือ 25 ปี เป็นต้น 
 
 

คำแนะนำเบื้องต้นในการตัดสินใจเลือกทำประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้น หรือระยะยาว

  1. ดูเป้าหมายในการเก็บเงินของเราเป็นหลัก

ในการวางแผนการเงิน เรามักจะแบ่งเป้าหมายออกตามระยะเวลา ได้แก่ เป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารเงินของเราต่อ

  • เป้าหมายระยะสั้น เช่น เก็บเงินก้อนเล็กๆ เก็บเงินดาวน์รถ เก็บเงินไปเที่ยว
  • เป้าหมายระยะกลาง เช่น เก็บเงินก้อนแต่งงาน เก็บเงินให้ลูกเรียนมหาวิทยาลัย
  • เป้าหมายระยะยาว เช่น เก็บเงินเกษียณ

ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยตั้งเป้าหมายทางการเงินกันเท่าไหร่ หรือคิดไว้แล้วแต่ก็ทำไม่ได้สักที การทำประกันชีวิต ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีในการสร้างวินัยในการเก็บเงินได้มากเลยค่ะ

  1. อายุขณะที่กำลังจะทำประกัน ความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน และบริบทอื่นๆ

ถ้าเราอายุน้อย แปลว่า ระยะเวลาในการเก็บเงินของเราจะมีนานขึ้น ทำให้เราสามารถวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ระหว่างคนอายุ 25 ปี กับคนอายุ 35 ปี ระยะเวลาต่างกันถึง 10 ปี อาจจะสร้างความมั่นคงทางการเงินได้ต่างกันเลยทีเดียว 

ยกตัวอย่างเช่น ผู้หญิงอายุ 25 ปี เริ่มสะสมเงินต่อปี ปีละ 60,000 บาท สะสม 15 ปีในประกันสะสมทรัพย์ จะมีเงินเก็บ 1 ล้านบาทในอายุ 49 ปี ส่วนผู้หญิงอายุ 35 ปี เริ่มสะสมเงินที่เท่ากันแต่ช้ากว่า ก็จะมีเงิน 1 ล้านตอนอายุ 59 ปี ช้ากว่า 10 ปี

ในเรื่องอาชีพและรายได้ รวมถึงความสามารถในการจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะ ประกันชีวิต จะมีเงื่อนไขในการจ่ายเบี้ย หากจ่ายช้ากว่ากำหนด ก็จะถือว่าผิดสัญญา และกระทบกับเงินคืนตามสัญญาของเราได้เช่นกัน ยกตัวอย่าง คุณบี อายุ 30 ปี วางแผนซื้อประกันสะสมทรัพย์ไว้ 3 เล่ม 3 ระยะ

เล่มแรก 10/5 ระยะ 10 ปี จะได้เงินก้อนออกมาตอนอายุ 40 ปี นำไปซื้อกองทุน หรือดาวน์รถคันใหม่

เล่มที่สอง 15/10 ระยะ 15 ปี จะได้เงินก้อนออกมาตอนอายุ 45 ปี วางแผนว่าจะส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัย

เล่มที่สาม 25/15 ระยะ 25 ปี จะได้เงินก้อนออกมาตอนอายุ 55 ปี วางแผนว่าจะใช้เป็นเงินเกษียณ หรือลงทุนธุรกิจส่วนตัวหลังเกษียณ

ข้อแนะนำในการดูรหัสตัวเลขของประกันง่ายๆ ก็คือ ตัวเลขด้านหน้าเป็นจำนวนปีที่คุ้มครอง และตัวเลขด้านหลังเป็นจำนวนปีที่ชำระเบี้ยประกันภัย เช่น ตัวอย่างข้างบนเล่มแรก 10/5 หมายถึง ระยะเวลาให้ความคุ้มครองชีวิต 10 ปี และจ่ายชำระเบี้ย 5 ปี เมื่อครบกำหนดอายุกรมธรรม์ ก็จะได้รับเงินออมและผลประโยชน์ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ เป็นต้น

  1. สิทธิประโยชน์ในการเสียภาษี

ข้อนี้เป็นตัวช่วยอีกตัวหนึ่งในการตัดสินใจว่า เราจะซื้อประกันที่กี่บาทต่อปี หลังจากคำนวนภาษีแล้ว รายได้ของเรา อยู่ในขั้นฐานภาษีใด และประกันชีวิตที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ สามารถประหยัดภาษีให้เราได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งประกันชีวิตสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทค่ะ ลองดูตัวอย่างคำนวนได้ที่นี่

  1. ผลตอบแทนของประกันชีวิต

ผลตอบแทนของประกันชีวิต โดยส่วนมากมักจะอยู่ระหว่าง 2%-4% ขึ้นอยู่กับแบบประกันชีวิต หรือเงื่อนไขต่างๆ ของบริษัทประกัน ทั้งนี้ แบบระยะสั้น จะให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่าระยะยาว เพราะเงินที่เราจ่าย หรือเรียกว่าเบี้ยประกัน ให้บริษัทประกัน จะนำไปบริหาร หรือลงทุนต่อ ถ้าเราทำแบบประกันที่สั้น จะทำให้บริษัทมีเวลาที่จะนำไปบริหารได้น้อยลง จึงทำให้ผลตอบแทนหรือเงินคืนอาจจะน้อยกว่าระยะยาวได้เล็กน้อย แต่ถ้าเปรียบเทียบผลตอบแทนจากประกันสะสมทรัพย์ จะพบว่าส่วนใหญ่จะสูงกว่าการฝากเงินกับธนาคาร แต่ข้อเสียคือ ไม่สามารถถอนเงินได้ตามใจ จะติดระยะของสัญญาของประกัน

ยกตัวอย่างแบบประกันสะสมทรัพย์

แต่ละบริษัทประกัน จะออกแบบประกันมาให้เลือกมากมายให้ตรงกันความต้องการของแต่ละคน
 
จะเห็นได้ว่า เราไม่จำเป็นต้องทำประกันสะสมทรัพย์แบบระยะเดียวนะคะ เราสามารถทำได้ทั้งระยะสั้น กลาง ยาว เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้ได้เลยค่ะ
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกัน ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ บทความการเงิน 2566 บทความประกัน 2566 ประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้น ประกันสะสมทรัพย์ระยะยาว
Money Guru
เขียนโดย คุณป้อ (ประกันเข้าใจง่าย) Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)