ประกันควบการลงทุน (Unit Linked) คืออะไร
Unit Linked มาจากคำว่า Unit Linked Insurance Policy (ULIP) หรือกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน คือ การประกันชีวิตที่ให้ทั้งความคุ้มครองชีวิตและการลงทุนในกองทุนรวม พูดง่ายๆ คือ ประกันที่มาพร้อมหน่วยลงทุน ซึ่งในเงิน 100% ที่ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบ Unit Linked จะมีบางส่วนไปซื้อกองทุนด้วย แปลว่า ผู้ทำประกัน มีโอกาสจะได้ผลตอบแทนที่มาจากหน่วยลงทุน พร้อมรับความคุ้มครองชีวิตไปในเวลาเดียวกัน หากเสียชีวิต ก็จะได้รับเงินคุ้มครอง บวกกับมูลค่าหน่วยลงทุนในขณะนั้นไป
ซึ่งกองทุนที่อยู่ในประกันชีวิต Unit linked ก็คือกองทุนรวมนั่นเอง ที่มีในตลาดการซื้อขายกองทุนทั่วๆ ไป โดยที่เราสามารถซื้อได้เองโดยไม่ผ่านประกันชีวิตก็ได้เช่นกัน
ยกตัวอย่าง
ผู้ชาย อายุ 35 ปี รับความเสี่ยงในการลงทุนได้สูง
ทำประกัน Unit linked ไว้ ซึ่งจ่ายเบี้ยสะสมปีละ 100,000 บาท ทุกๆ ปี เมื่อถึงอายุ 60 ปี จะมีมูลค่าเงินที่สะสมไว้ทั้งหมด 26 ปี เป็นเงินรวม 2,600,000 บาท
ในระหว่างที่จ่ายเบี้ยอยู่ ก็ได้รับความคุ้มครองชีวิตด้วย ในวงเงิน 5,000,000 บาท ถ้าในกรณีเสียชีวิต จะได้เงินคุ้มครอง 5,000,000 บวกกับมูลค่ารับซื้อหน่วยลงทุนในขณะนั้นเพิ่มเข้าไปด้วย
ทั้งนี้ มูลค่ารับซื้อหน่วยลงทุน หรือ NAV อาจจะมีโอกาสกำไรหรือขาดทุนได้ จะเป็นความเสี่ยงที่ทางผู้ทำประกันต้องรับทราบ และประเมินความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ก่อนทำประกันชีวิตทุกครั้งค่ะ
อายุ | เบี้ยประกันหลัก | เบี้ยประกันภัยสะสม | มูลค่ารับซื้อหน่วยลงทุน (NAV) ที่ 5% | ความคุ้มครองชีวิต | ลดหย่อนภาษี |
35 | 100,000 | 100,000 | 29,424 | 5,000,000 + NAV | 72,246 |
40 | 100,000 | 600,000 | 425,855 | 5,000,000 + NAV | 23,567 |
50 | 100,000 | 1,600,000 | 1,638,700 | 5,000,000 + NAV | 41,871 |
60 | 100,000 | 2,600,000 | 3,263,249 | 5,000,000 + NAV | 90,000 |
65 | 3,602,400 | 5,000,000 + NAV |
กองทุนรวม หรือ Mutual Fund คืออะไร
"กองทุนรวม" คือ คือ การรวบรวมเงินของนักลงทุน นำมาลงทุนตามนโยบายที่กองทุนรวมนั้นๆ กำหนดไว้ โดยมี "ผู้จัดการกองทุน" ที่เป็นมืออาชีพช่วยบริหารจัดการเงินของกองทุน กองทุนรวมมีจุดเด่นตรงที่มีเงินน้อยก็ลงทุนได้ แถมยังมีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งกองที่ลงทุนในตราสารหนี้ หุ้นในประเทศ หุ้นต่างประเทศ รวมไปถึงอสังหาริมทรัพย์ ทองคำ และสินทรัพย์อื่นๆ นักลงทุนแต่ละรายจะได้รับจัดสรร "หน่วยลงทุน" เพื่อแสดงสถานะความเป็นเจ้าของในเงินที่ได้ลงทุนไป ดังนั้น ผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมจึงถูกเรียกว่า "ผู้ถือหน่วยลงทุน"
ความแตกต่างของประกันควบการลงทุน กับ กองทุนรวม
จากที่อธิบายไปเบื้องต้น เราจะพอเห็นความแตกต่างของ 2 ผลิตภัณฑ์นี้ จุดใหญ่ๆ คือ
ความคุ้มครอง
ข้อดี ของประกัน Unit linked คือ มีความคุ้มครองให้ด้วย สามารถใช้ในการวางแผนมรดกได้ไปในตัว เหมาะกับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตสูงๆ ให้กับคนในครอบครัว คนที่เป็นเสาหลักของบ้าน
ข้อเสียเปรียบของประกัน Unit linked คือ ความยืดหยุ่นในการขายกองทุน อาจจะมีเงื่อนไขของประกันเข้ามาประกอบด้วย เพราะในปีแรกๆ มูลค่าการลงทุนจะต่ำมาก เพราะเงินส่วนใหญ่จะถูกใช้ไปกับการคุ้มครองชีวิต ถ้ามีการปิดเล่มกรมธรรม์ในช่วงก่อน 10 ปีแรก เงินที่ได้คืนมา อาจจะไม่คุ้มกับที่จ่ายไป ดังนั้น แนะนำให้มองเป็นการทำประกันระยะยาว วางแผนการเงินที่มากกว่า 10 ปี ขึ้นไป
เงินลงทุน กับ เบี้ยที่จ่ายประกัน
ถ้าเป็นการลงทุนในกองทุนรวมปกติ ดูที่ขั้นต่ำของแต่ละกองทุนที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนได้เลย แต่ถ้าเราซื้อผ่านประกัน จะมีขั้นต่ำในการซื้อ เพราะจริงๆแล้ว เราจะดูมูลค่าการซื้อที่ทุนประกันชีวิต ถ้าทำทุนประกันสูง ค่าเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้นเป็นปกติ
กองทุนในกรมธรรม์
ข้อดี ของประกัน Unit linked คือ กองทุนที่อยู่ในประกัน จะถูกคัดเลือกมาให้แล้วจากบริษัทประกันว่าเป็นกองทุนที่มี performance ดี และมีการจัดกลุ่มของกองทุนไว้ให้ลูกค้าแล้ว ทำให้ไม่ต้องคิดมากในการเลือกกองทุน ซึ่งอาจจะเป็นข้อจำกัดของลูกค้าด้วยเช่นกัน เพราะเราไม่สามารถเลือกกองทุนรวมอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่บริษัทคัดสรรมาให้
ยกตัวอย่างกองทุนรวมภายใต้กรมธรรม์ของประกันชีวิตควบการลงทุน มาย สไตล์ โพรเทค (ยูนิต ลิงค์) ของอลิอันซ์ อยุธยา
จะเห็นว่ามีการคัดเลือกกองทุนจากหลาย บลจ. และมีทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และแบบกองทุนผสม
เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้
ประเภทคุกกี้ อ่านเพิ่มเติม ที่นี่ |
ยินยอม / ไม่ยินยอม |
---|---|
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ (Strictly Necessary) |
|
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์ (Functionality) |
|
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์ (Performance & Analytics) |
|
คุกกี้เพื่อการตลาด (Marketing) |