รวมวิธีสังเกตแบงก์ปลอมด้วยตัวเอง เช็กให้ชัวร์ก่อนใช้ ไม่มีโดนหลอกแน่นอน

icon 23 ก.พ. 66 icon 4,896
รวมวิธีสังเกตแบงก์ปลอมด้วยตัวเอง เช็กให้ชัวร์ก่อนใช้ ไม่มีโดนหลอกแน่นอน
นอกจากกลโกงสารพัดวิธีที่ผู้เขียนเคยกล่าวถึงในบทความอื่นๆ แล้ว ช่วงนี้ผู้เขียนเองก็สังเกตเห็นว่ากระแสมิจฉาชีพที่ใช้ "แบงก์ปลอม" ซื้อของ รวมทั้งการซื้อขายแบงก์ปลอมเริ่มกลับมาอีกรอบ ทำให้หลายคนที่ชอบพกเงินสดติดตัวต่างก็ระแวงไปตามๆ กันว่าธนบัตรที่ถืออยู่ในมือนั้นเป็นของจริงหรือไม่ โดยเฉพาะธนบัตร 1,000 บาทถูกปลอมแปลงมากที่สุด เพราะเมื่อเวลามิจฉาชีพนำไปซื้อของจำนวนน้อยๆ ก็จะได้เงินทอนที่เป็นเงินจริงกลับมาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในบทความนี้ผู้เขียนจึงได้รวบรวมวิธีสังเกตแบงก์ปลอมง่ายๆ ที่สามารถทำได้ด้วยตนเองมาฝากกันค่ะ ใครที่ผ่านมาเห็นก็ลองนำไปใช้กับแบงก์ที่ตัวเองมีอยู่ได้นะคะ

 การผลิต-ซื้อ-ขายแบงก์ปลอมมีความผิดอย่างไร? 

ก่อนที่จะไปดูวิธีตรวจสอบ อันดับแรกเรามาทำความเข้าใจความผิดของการผลิต และการซื้อ-ขายแบงก์ปลอมกันก่อนค่ะ สำหรับการกระทำดังกล่าว ถือว่าเป็นความผิดทั้งตามพระราชบัญญัติเงินตรา และตามประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 7 ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง หมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา โดยแบ่งการกำหนดโทษได้เป็นดังนี้

  • การผลิต หรือปลอมแปลงธนบัตร มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 240 ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 10 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 – 400,000 บาท

  • การซื้อและจำหน่ายธนบัตรปลอม ถือว่ามีไว้เพื่อนำออกใช้โดยรู้ว่าเป็นของปลอมตามมาตรา 240 หรือของแปลงตามมาตรา 241 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 244 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 - 15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท - 300,000 บาท

 

 ใช้แบงก์ปลอมแบบไม่รู้ตัว มีความผิดหรือไม่ 

โดยทั่วไปแล้วการใช้แบงก์ปลอมซื้อของ มีโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี ทำให้คนที่เผลอใช้แบงก์ปลอมแบบไม่รู้ตัวอาจจะกังวลว่าจะมีความผิดโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ แต่ความจริงแล้วความผิดของการใช้แบงก์ปลอมถูกแบ่งออกตามเจตนาของผู้ใช้ดังนี้ค่ะ

  • ได้ธนบัตรปลอมมาโดยไม่รู้ตัว แต่ต่อมารู้ว่าเป็นของปลอมและใช้ต่อ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 245 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  • ใช้ธนบัตรปลอมโดยที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของปลอม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 - 15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท - 300,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 244 เช่นเดียวกันกับการซื้อและขาย

 

 วิธีตรวจสอบแบงก์ปลอมง่ายๆ ด้วยตัวเอง 

  1. กระดาษธนบัตร ทำจากใยฝ้าย ซึ่งสัมผัสจะมีความแตกต่าง และมีความแข็งแรงทนทานกว่ากระดาษทั่วไป ไม่เปื่อยยุ่ยง่ายเมื่อโดนน้ำ

  2. ลายพิมพ์เส้นนูน เกิดจากการใช้เทคนิคการพิมพ์แบบพิเศษที่ทำให้ลายเส้นที่พิมพ์นูนขึ้นมา หากลองใช้มือสัมผัสจะรู้สึกว่าธนบัตรจะมีความเรียบไม่เท่ากัน

  3. ลายน้ำบนธนบัตร บริเวณพื้นที่ว่างทั้งด้านหน้าและด้านหลังของธนบัตร เมื่อสะท้อนแสงจะเห็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และตัวเลขบอกชนิดธนบัตร
  1. ภาพซ้อนทับ ด้วยเทคนิคการพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ลายทั้งสองด้านได้พร้อมกัน ทำให้เมื่อนำธนบัตรไปส่องแสงแล้วจะพบว่าลายทั้งสองด้านจะซ้อนกันสนิท
 
  1. ลายดอกประดิษฐ์ บริเวณภาพพิมพ์ลายดอกประดิษฐ์จะมีความเป็นประกาย หรือเปลี่ยนสีได้ (ขึ้นอยู่กับชนิดของธนบัตร) และดูมีมิติเมื่อพลิกธนบัตรไปมา และมีตัวเลขระบุชนิดธนบัตร
  
 
  1. แถบสีบนธนบัตร จะมีเลขระบุชนิดธนบัตรอยู่บนแถบ โดยธนบัตรแต่ละชนิดจะมีแถบสีที่ไม่เหมือนกัน หากจับพลิกจะสามารถเปลี่ยนสีได้
  1. หมึกเรืองแสง อีกหนึ่งลักษณะพิเศษที่ยากจะเลียนแบบ คือการพิมพ์ลวดลายบนธนบัตรด้วยหมึกเรืองแสง หากฉายด้วยรังสีเหนือม่วงจะสะท้อนแสงชัดเจน

อย่างไรก็ตาม วิธีดังกล่าวเป็นแค่การตรวจสอบเบื้องต้นเท่านั้น หากยังไม่มั่นใจ ผู้เขียนขอแนะนำว่าให้นำธนบัตรที่น่าสงสัยไปให้เจ้าหน้าที่ธนาคารช่วยตรวจสอบ และหากพบธนบัตรปลอม ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือสามารถแจ้งกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้โดยตรง ผ่านเบอร์โทรศัพท์ 0-2356-7987 สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยนะคะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ธนบัตร ธนบัตรปลอม มิจฉาชีพ แบงก์ปลอม วิธีดูแบงก์ปลอม วิธีสังเกตแบงก์ปลอม เช็กแบงก์ปลอม
Money Guru
เขียนโดย สุทธิดา กาหา Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)