จากข้อมูลอัตราดอกเบี้ยข้างต้น จะเห็นว่าธนาคาร A และธนาคาร B ให้ดอกเบี้ยต่ำ และมีช่วงระยะเวลาที่ให้อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ในปีแรก แต่เมื่อเช็กข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี แล้ว อัตราดอกเบี้ยของทีทีบี ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าในปีแรกกลับมีค่าเฉลี่ย 3 ปี ของดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า แสดงให้เห็นว่า การจะตัดสินใจเลือกอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยต่ำตั้งแต่ปีแรก ก็อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องเสมอไป เรามาลองคำนวณเปรียบเทียบกันดูนะคะ
คำนวณเปรียบเทียบ จากอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก ของทั้ง 3 ธนาคารว่าหากเราผ่อนชำระกับแต่ละธนาคาร จะต้องผ่อนต่อเดือนเท่าไหร่ และต้องเสียดอกเบี้ยตลอดสัญญาเป็นเท่าใด โดยจะคำนวณผ่านโปรแกรม Financial Calculators ดังนี้
สรุปจากการคำนวณในตัวอย่างข้างต้น
เมื่อคำนวณแล้วกรณีที่เลือกผ่อนกับธนาคารทีเอ็มบีธนชาต (ทีทีบี) ที่อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 3.55% จะเสียดอกเบี้ยทั้งหมด 1,879,875.60 บาท ซึ่งประหยัดดอกเบี้ยกว่าการผ่อนกับธนาคาร A 164,768.40 บาท และประหยัดดอกเบี้ยกว่าการผ่อนกับธนาคาร B 183,254.40 บาท
ดังนั้น หากจะตัดสินใจเลือกรีไฟแนนซ์ไปธนาคารไหน ก็ควรดูอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก ประกอบด้วยรวมถึงควรให้ความสำคัญกับอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ เช่น ค่า MRR, MLR เพราะแต่ละธนาคารก็จะไม่เท่ากัน อยู่ที่ประมาณไม่เกิน 6 - 8% หากดอกเบี้ยที่เราได้ เป็น MRR หรือ MLR ลบเยอะๆ ก็จะยิ่งทำให้ดอกเบี้ยที่เราได้ถูกลงมากเท่านั้น
CheckPoint 2 ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมเมื่อคิดจะรีไฟแนนซ์
การขอรีไฟแนนซ์บ้านผู้กู้จะต้องดำเนินการเหมือนขอสินเชื่อบ้านรอบแรก ทั้งการยื่นเอกสารต่างๆ รวมถึงจะมีในส่วนของค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเหมือนกับการขอสินเชื่อใหม่อีกครั้ง ดังนี้
1. ค่าปรับกรณียื่นไถ่ถอน หรือขอรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด ในส่วนนี้ผู้กู้ต้องตรวจสอบระยะเวลา ที่จะขอรีไฟแนนซ์บ้านให้ดี เพราะโดยปกติ ธนาคารต่างๆ จะมีข้อกำหนดไว้ว่าผู้กู้จะสามารถขอรีไฟแนนซ์ใหม่ได้ก็ต่อเมื่อได้ผ่อนชำระหนี้ไปแล้วตั้งแต่ 3 ปี เป็นต้นไป ซึ่งหากมีการไถ่ถอน หรือรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด จะมีค่าปรับจากธนาคารเดิม ประมาณ 2 - 3 % ของวงเงินกู้ เช่น ถ้าวงเงินกู้ 3,000,000 บาท ค่าปรับ 2% ของวงเงินกู้ ก็เท่ากับ 60,000 บาทเลยนะคะ หรือบางธนาคารที่มีบริการฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวธนาคารดำเนินการออกให้ ก็จะต้องมีเงื่อนไขสัญญาอยู่ให้ครบ 5 ปี หากไถ่ถอนหรือรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด ก็จะถูกเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวคืน จะอยู่ประมาณที่ 1% ของเงินกู้ หรือสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
ดังนั้น ผู้กู้ไม่ควรรีบร้อนที่จะรีไฟแนนซ์ก่อนครบกำหนดตามสัญญา ก็จะช่วยให้ประหยัดค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ได้ค่ะ
2. ค่าใช้จ่ายในการประเมินทรัพย์สิน และค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ค่าประเมินหลักประกัน โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 1,500 - 3,000 บาท คิดตามเกณฑ์ของแต่ละธนาคารซึ่งอาจจะไม่เท่ากัน
- ค่าธรรมเนียมการขอสินเชื่อ เป็นค่าธรรมเนียมที่ธนาคารจะทำการวิเคราะห์หรือจัดการสินเชื่อ โดยปกติจัดเก็บไม่เกิน 1% ของวงเงินกู้
- ค่าจดจำนอง จ่ายให้กับสำนักงานที่ดิน โดยผู้กู้จะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไว้ชำระค่าธรรมเนียมจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ หรือวงเงินที่เราจดจำนอง
- ค่าอากรแสตมป์ จ่ายให้กับสำนักงานที่ดิน 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่ หรือทุกๆ 2,000 บาทของเงินที่กู้ยืม จะเสียอากรแสตมป์ 1 บาท แต่ก็จะไม่เกิน 10,000 บาท
3. ค่าทำประกัน ซึ่งจะแยกเป็นการทำประกันสินเชื่อ และการทำประกันอัคคีภัย
- ค่าใช้จ่ายในการทำประกันสินเชื่อ (MRTA) การทำประกันสินเชื่อ MRTA เป็นรูปแบบประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อที่อยู่อาศัย มีหน้าที่จ่ายชำระหนี้ให้กับธนาคารแทนผู้กู้ เมื่อผู้กู้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ซึ่งผู้กู้จะทำประกัน MRTA นี้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ โดยธนาคารก็จะมีอัตราดอกเบี้ยจูงใจ เช่น ถ้าทำประกัน MRTA ควบคู่กับการขอสินเชื่อก็จะได้ส่วนลดอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
การทำประกัน MRTA ธนาคารจะกำหนดให้ประกันคุ้มครองวงเงินกู้ขั้นต่ำตั้งแต่ 70% - 100% ซึ่งค่าเบี้ยประกันก็ขึ้นอยู่กับความคุ้มครองที่ผู้กู้เลือก รวมถึงอายุของผู้กู้ประกอบด้วย
- ค่าประกันอัคคีภัย การทำประกันอัคคีภัย เป็นการทำประกันภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ถือเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นที่ผู้ขอสินเชื่อต้องทำ โดยความคุ้มครองพื้นฐาน ได้แก่ ไฟไหม้ ฟ้าผ่า และภัยระเบิดจากก๊าซหุงต้มภายในบ้าน รวมถึงความคุ้มครองเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น ภัยธรรมชาติ ภัยน้ำท่วม เป็นต้น ทั้งนี้รายละเอียดความคุ้มครองก็ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันกำหนด
CheckPoint 3 การรีไฟแนนซ์สามารถขอวงเงินเพิ่มได้
เหตุผลของการรีไฟแนนซ์ นอกจากจะต้องการให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง ลดระยะเวลาการผ่อนชำระเพื่อให้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้น หรือยืดระยะเวลาผ่อนชำระเพื่อให้ผ่อนได้สบายขึ้นแล้ว อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญคือ ต้องการวงเงินเพิ่ม เพื่อนำไปเสริมสภาพคล่อง ซึ่งผู้กู้สามารถขอวงเงินกู้เพิ่มได้ แต่วงเงินจะถูกแยกออกเป็นคนละวงเงินกับสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน อัตราดอกเบี้ยก็จะแตกต่างกัน
ข้อดีของการขอวงเงินเพิ่ม
- อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการขอสินเชื่อบุคคล หรือการใช้วงเงินสินเชื่อจากบัตรเครดิต
- สะดวก ได้เงินเร็ว เพราะเป็นการกู้กับธนาคารที่ทำสัญญาสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์อยู่แล้ว ทำให้ง่ายต่อการดำเนินการ ไม่ต้องเสียเวลาไปทำเอกสารกู้ใหม่จากที่อื่น
- ไม่ต้องหาหลักประกันใหม่ เพราะสามารถใช้หลักประกัน คือ บ้านที่เราขอรีไฟแนนซ์ มาค้ำประกันได้เลย
ข้อควรระวังของการขอวงเงินเพิ่ม
- อาจทำให้ปิดหนี้ได้ช้าลง หากวัตถุประสงค์ของการขอรีไฟแนนซ์ เพื่อต้องการให้ ผ่อนสบาย และปิดหนี้ได้เร็วขึ้น การขอวงเงินเพิ่มอาจทำให้ผู้กู้ต้องผ่อนชำระต่อเดือนเพิ่มขึ้น และปิดหนี้ได้ช้าลง
- ควรขอวงเงินเพิ่มเมื่อมีความจำเป็น และต้องการใช้ประโยชน์จริงๆ เท่านั้น เพราะวงเงินส่วนที่ขอเพิ่มถึงแม้อัตราดอกเบี้ยจะต่ำกว่าสินเชื่อบุคคลทั่วไป แต่จะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์ปกติ อาจทำให้ผู้กู้ต้องรับภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
ลดดอกเบี้ย ผ่อนสบาย ขอวงเงินกู้เพิ่มได้ ต้อง "สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์" จากธนาคารทีเอ็มบีธนชาต
หากเป้าหมายของการรีไฟแนนซ์ คือ ประหยัดดอกเบี้ยได้มากขึ้น ผ่อนต่อเดือนน้อยลง เป็นเจ้าของบ้านได้เร็วขึ้น และขอวงเงินกู้เพิ่มเสริมสภาพคล่องได้ วันนี้เราขอแนะนำ "สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์" จากธนาคารทีเอ็มบีธนชาต (ทีทีบี) เป็นสินเชื่อที่ตอบโจทย์ ได้จบ ครบทุกความต้องการ
รายละเอียดผลิตภัณฑ์
- วงเงินอนุมัติ : วงเงินขั้นต่ำ 500,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 50,000,000 บาท หรือ วงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินธนาคาร
- ระยะเวลาผ่อนชำระ : นานสูงสุด 35 ปี ทั้งนี้ เมื่อรวมกับอายุผู้กู้แล้วไม่เกิน 65 ปี
วงเงิน TOP UP แบบฉบับของคนต้องการเสริมสภาพคล่อง
การรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารทีเอ็มบีธนชาต นอกจากจะได้ลดภาระดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านแล้ว ยังขอวงเงินเพิ่มได้หลากหลายรูปแบบ โดยผู้กู้สามารถเลือกให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ ดังนี้
- ขอวงเงินกู้เพิ่มแบบปกติ เป็น สินเชื่อบ้านแลกเงิน Top Up ที่ได้รับเงินก้อนโอนเข้าบัญชี ลูกค้าจะนำเงินก้อนไปใช้กับอะไรก็ได้ ตามที่ลูกค้าต้องการ ดอกเบี้ยก็จะคิดตั้งแต่วันที่ธนาคารโอนเงินเข้าไปให้ การผ่อนจ่ายก็เป็นรายงวด งวดละเท่าๆ กัน คิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก โปะได้ (การคิดดอกเบี้ย คือ เฉลี่ย 3 ปีแรก เริ่มที่ 5.53%ต่อปี)
- ขอวงเงินกู้เพิ่ม เพื่อไปปิดหนี้ เป็นสินเชื่อบ้านแลกเงิน เคลียร์หนี้ เหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องการให้ธนาคารช่วยไปปิดหนี้กับสถาบันการเงินอื่นๆ เช่น บัตรกดเงินสด บัตรเครดิต ที่ดอกเบี้ยค่อนข้างสูง มารวมหนี้ผ่อนเหลือที่เดียวที่ ทีทีบี ที่ดอกเบี้ยถูกกว่า ช่วยลดภาระค่าผ่อนต่อเดือนให้น้อยลง และการพิจารณวงเงินสินเชื่อธนาคารก็จะไม่คิดภาระหนี้ที่ลูกค้าต้องการรวบ ทำให้เพิ่มโอกาสการอนุมัติ และวงเงินสินเชื่อได้มากกว่า การกู้แบบปกติและเอาเงินไปปิดหนี้เอง
- ขอวงเงินกู้เพิ่ม แบบแบ่งเป็น 2 ก้อน เหมาะสำหรับคนที่มีแผนการใช้เงินชัดเจน ว่าต้องการเงินที่จำนวนเท่าไหร่ และอยากได้วงเงินสำรองแบบเผื่อจำเป็นต้องการใช้ในอนาคต และไม่อยากขอเสียเวลาทำเรื่องกู้เพิ่ม โดยเงิน 2 ก้อนนี้จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการใช้เงินให้กับลูกค้า คือ
ก้อนที่ 1 : โอนเงินเข้าบัญชีตามปกติ เหมือนกับตัวสินเชื่อบ้านแลกเงิน Top Up เงินส่วนนี้สำหรับลูกค้ามีแผนการใช้เงินที่ชัดเจน ว่าต้องการจำนวนเท่าไหร่ และธนาคารจะโอนเงินก้อนนี้ไปให้ตามบัญชีที่ลูกค้าแจ้งไว้ (ตั้งแต่ 100,000 – 10,000,000 บาท) การคิดดอกเบี้ยก็จะคิดตั้งแต่วันแรกที่ธนาคารโอนเงินเข้าไปให้ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก เริ่มที่ 5.53%ต่อปี ผ่อนคืนเป็นรายงวด งวดละเท่าๆ กัน โปะได้
ก้อนที่ 2 : เป็นวงเงินสำรองในบัตร ลักษณะคือบัตรกดเงินสด ที่ธนาคารจะโอนเงินเข้าไปตามจำนวนเงินที่ลูกค้าต้องการ ตั้งแต่ 10,000 - 2,000,000 บาทในบัตรกดเงินสด ทีทีบี บ้านแลกเงิน ก้อนนี้เป็นวงเงินสำรอง ธนาคารจะยังไม่คิดดอกเบี้ย จะคิดก็ต่อเมื่อลูกค้าทำรายการเบิกเงินออกมา ไม่ว่าจะเป็นการกดเงินสดจากตู้ ATM หรือโอนวงเงินจากบัตรเข้าบัญชีผ่าน ttb touch หรือนำบัตรไปรูดผ่อนสินค้าและบริการกับร้านค้าที่ร่วมรายการ
สนใจสมัคร
"สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ ทีทีบี" สินเชื่อที่ตอบโจทย์ ได้จบ ครบทุกความต้องการ
คลิกเลย!