โบนัสออกแล้ว! มนุษย์เงินเดือนจะเลือกลงทุนเพิ่ม หรือโปะหนี้บ้านดี แบบไหนคุ้มกว่ากัน

icon 17 ม.ค. 66 icon 8,220
โบนัสออกแล้ว! มนุษย์เงินเดือนจะเลือกลงทุนเพิ่ม หรือโปะหนี้บ้านดี แบบไหนคุ้มกว่ากัน
ทำงานมาทั้งปีในที่สุดสิ่งที่รอคอยอย่าง "โบนัส" ก็ออกมาแล้ว สำหรับเพื่อนๆ ที่ได้โบนัสปลายปีแบบนี้ ทีมงานขอแสดงความยินดีด้วย ที่ได้เงินก้อนมาก่อนขึ้นปีใหม่ แต่เพื่อนๆ ที่โบนัสออกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม ก็ไม่ต้องน้อยใจไป เดี๋ยวก็ใกล้จะได้รู้แล้วว่าปีนี้จะได้โบนัสกี่เดือน
 
แต่ได้เงินก้อนใหญ่มาทั้งที จะลงทุนเพิ่ม หรือ โปะหนี้บ้านดีล่ะ พอร์ตลงทุนก็ยังอีกไกลกว่าจะถึงเป้าหมาย ได้โบนัสมาช่วยบ้างก็น่าจะดี แต่หนี้บ้านก็ต้องผ่อนอีกหลาย 10 ปีกว่าจะหมด ไม่โปะเลยดอกเบี้ยก็จะยิ่งบาน แถมเศรษฐกิจก็ยังผันผวน เงินก็เฟ้อขึ้นเรื่อยๆ ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นอีก ค่าใช้จ่ายก็มีอีกเยอะ ควรจะทำอย่างไรดี บทความนี้มีคำตอบ

มีเงินสำรองฉุกเฉินเพียงพอแล้วหรือยัง

ก่อนที่จะไปถึงขั้นลงทุนหรือโปะหนี้บ้าน อยากชวนเพื่อนๆ มาทบทวนเรื่องเงินสำรองฉุกเฉินก่อน ว่าเรามีเพียงพอแล้วหรือยัง ถึงช่วงนี้เศรษฐกิจจะไม่รุนแรงเท่าช่วง COVID-19 ใหม่ๆ แต่ก็ชะล่าใจไม่ได้ เพราะวันนึงอาจเกิดเหตุด่วน เหตุร้ายกับเราได้ แต่เราก็ยังต้องมีเงินไว้ใช้จ่าย และจ่ายหนี้ต่อไป ซึ่งมนุษย์เงินเดือนแบบเรา ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินไว้ 3-6 เดือนของค่าใช้จ่าย ก็เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในแบบที่ขาดรายได้ ได้สักระยะ
 
หากเรามีค่าใช้จ่ายเดือนละ 30,000 บาท ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินไว้ 90,000-180,000 บาท แต่ไม่จำเป็นต้องนำโบนัสทั้งหมดมาลงที่ส่วนนี้ เพราะชีวิตมนุษย์เงินเดือนยังมีค่าใช้จ่ายและหนี้สินอีกเยอะ อาจแบ่งมาสัก 15-30% เพื่อเติมในส่วนนี้ให้อุ่นใจเพิ่มขึ้นมาบ้าง หลังจากนั้นก็อาจจะทยอยเก็บเพิ่มเดือนละ 10-15% ของเงินเดือน โดยเก็บไว้ในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ ที่แปลงกลับมาเป็นเงินสดได้ง่าย แต่ไม่ควรถอนออกมาใช้ได้ง่ายเกินไป เพื่อป้องกันการนำมาใช้ในเรื่องอื่น อย่างกองทุนรวมตลาดเงิน หรือ กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น

ค่าใช้จ่ายระยะสั้นจัดการเรียบร้อยแล้วหรือยัง

ค่าใช้จ่ายระยะสั้น ไม่เกิน 1 ปี เช่น ค่าประกันชีวิต ค่าประกันสุขภาพ ค่าส่วนกลางบ้าน/คอนโด ค่าเทอมลูก ค่าผ่อนสินค้าต่างๆ เป็นค่าใช้จ่ายที่ถ้าเราไม่จ่ายจะเกิดปัญหาตามมาได้ หากเพื่อนๆ ได้ทยอยเก็บเงินมาเรื่อยๆ เพื่อนำมาจ่ายในแต่ละปีอยู่แล้ว ข้อนี้ก็จะไม่ติดปัญหาอะไร แต่หากเรายังไม่ได้เตรียมไว้ การแบ่งเงินจากโบนัสมาช่วยจ่ายบางส่วน ก็ทำให้สบายตัวขึ้น

ลงทุนเพิ่ม VS โปะหนี้บ้าน

เมื่อจัดการเป้าหมายที่สำคัญอย่างเงินสำรองฉุกเฉิน และค่าใช้จ่ายระยะสั้นเรียบร้อยแล้ว มาตอบคำถามเพื่อนๆ กันดีกว่า ว่าควรเลือกอะไรดี เพราะทั้งการลงทุนเพิ่มและการโปะหนี้บ้านเพื่อลดระยะเวลาการเป็นหนี้สิน ก็ล้วนนำไปสู่อิสรภาพการเงินทั้งนั้น
 
ซึ่งดอกเบี้ยบ้านเป็นการคิดแบบลดต้นลดดอก ทำให้การโปะหนี้บ้าน ช่วยลดภาระหนี้สินได้ แต่ควรจะเลือกโปะหนี้บ้านในกรณีไหนบ้าง

กรณีที่ 1 ดอกเบี้ยลอยตัว

โดยปกติแล้วดอกเบี้ยจะถูกในช่วง 3 ปีแรก ซึ่งมีทั้งแบบดอกเบี้ยคงที่ และดอกเบี้ยลอยตัว ในตอนนี้เศรษฐกิจอยู่ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น สถานะดอกเบี้ยของใครที่เป็นดอกเบี้ยลอยตัวแล้ว การเลือกโปะหนี้บ้าน ช่วยชะลอการบานของดอกเบี้ยได้

กรณีที่ 2 อัตราดอกเบี้ยบ้านเฉลี่ยสูงกว่า 4-5% ต่อปี

การที่อัตราดอกเบี้ยบ้านอยู่ในระดับ 4-5% ต่อปี เมื่อเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุน เริ่มเข้าสู่ความเสี่ยงระดับปานกลาง หากลงทุนในระยะสั้น อาจเกิดผลขาดทุนได้ ดังนั้นเลือกโปะหนี้บ้านจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า

กรณีที่ 3 ไม่เคยโปะหนี้บ้านเลย

ช่วง 3 ปีแรก หลายๆ คนอาจจะยังไม่เคยโปะบ้านเลย เนื่องจากเป็นหนี้สินที่ต้องจ่ายเดือนละหลักหมื่น ไหนจะค่าอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้าน ค่าซ่อมแซม ต่อเติม ค่าส่วนกลาง การมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาจากตอนก่อนเป็นหนี้สิน ทำให้เราอยากตั้งหลักเพื่อให้ยังสามารถจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างมั่นคง ไม่กระทบกับชีวิตประจำวัน แต่การไม่เคยโปะหนี้บ้านเลย อาจทำให้เรารู้สึกได้ว่าหนี้สินไม่หมดเสียที ทีมงานขอกระซิบว่าได้โปะปีละ 1 ครั้ง ก็ช่วยลดภาระได้แล้ว
 
ตัวอย่างการผ่อนบ้าน/คอนโด ราคา 2,500,000 บาท
ผ่อนเดือนละ 10,000 บาท ดอกเบี้ย 3 ปีแรก คงที่ 3% และโปะหนี้ปีละ 30,000 บาท
 
 
จากตารางด้านบน จะเห็นว่ายอดคงเหลือ ณ สิ้นงวดที่ 36 จะเหลือ 2,263,063.10 บาท แต่หากไม่เคยโปะเลย ยอดคงเหลือจะเป็น 2,355,789.52 บาท ต่างกันประมาณ 93,000 บาทเลยทีเดียว แล้วถ้าเรายิ่งโปะจำนวนเยอะขึ้น ถี่ขึ้น ช่วยให้เราลดหนี้สินได้มากเลยทีเดียว
 
แต่หากเพื่อนๆ กำลังอยู่ในช่วงดอกเบี้ยคงที่ มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำกว่า 4% ต่อปี การเลือกลงทุนเพิ่มอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะสามารถหาสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่านั้นได้ เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วโลก กองทุนรวมผสมที่มีสัดส่วนตราสารหนี้ 60% ตราสารทุน 40%

จะเป็นอย่างไร ถ้าหากนำเงินปีละ 30,000 บาท หรือ 2,500 บาทต่อเดือน ไปเปรียบเทียบกันระหว่างลงทุน กับ โปะบ้าน

ตัวอย่างการคำนวณ
  • บ้านราคา 3,000,000 บาท
  • ดอกเบี้ยเฉลี่ยตลอดอายุสัญญา 6% ต่อปี (ไม่ทำการรีไฟแนนซ์)
  • ระยะเวลาผ่อน 30 ปี (360 งวด)
กรณีที่ 1 ไม่โปะบ้านเลย
 
 
  • จะผ่อนอยู่ที่ 17,986.52 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินทั้งหมด 6,475,147.20 บาท
  • คิดเป็นดอกเบี้ยทั้งหมด 3,475,147.20 บาท (มากกว่าค่าบ้าน)
กรณีที่ 2 โปะบ้านเดือนละ 2,500 บาท
 
 
  • จะประหยัดดอกเบี้ยได้ 1,063,576.08 บาท
  • ผ่อนหมดเร็วขึ้น 95 งวด ดั้งนั้นจากที่ต้องผ่อน 360 งวด จะเหลือเพียง 360-95 = 265 งวด หรือประมาณ 22 ปี
ซึ่งหากไม่โปะหนี้บ้านเลย ยอดหนี้คงเหลือ ณ งวดที่ 265 จะอยู่ที่ 1,357,542.43 บาท เราจะใช้ตัวเลขนี้ในการคำนวณต่อว่าการลงทุนหรือโปะบ้านคุ้มกว่ากันนะครับ
 
 
จากตารางด้านบน หากลงทุนโดยได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยต่ำว่า 6% ต่อปี การโปะบ้านจะคุ้มค่ากว่ามาก แต่หากได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่า 6% ต่อปี การลงทุนจะคุ้มค่ามากกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงมากกว่า เพราะอาจเกิดวิกฤตเศรษฐกิจระหว่างทางได้

โดยสรุปแล้วไม่ว่าจะเลือกลงทุนเพิ่ม หรือ โปะหนี้บ้าน ก็เป็นทางเลือกที่ดีทั้งนั้น สิ่งที่สำคัญกว่าคือวินัยในการลงทุน หรือ โปะบ้านอย่างสม่ำเสมอ เพราะเงินหลักพันต้นๆ ต่อเดือน สามารถสร้างเงินล้าน และประหยัดดอกเบี้ยได้หลักล้านบาทเช่นกันครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงิน บทความลงทุน 2566 โปะหนี้บ้าน ทางเลือกลงทุน
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)