เจาะลึก "งานออนไลน์" ทำแล้วได้เงินจริงไหม? แบบไหนที่ต้องระวัง?

icon 23 ธ.ค. 65 icon 9,938
เจาะลึก "งานออนไลน์" ทำแล้วได้เงินจริงไหม? แบบไหนที่ต้องระวัง?
ตั้งแต่ช่วงที่โควิดระบาดใหม่ๆ จนถึงตอนนี้ คงเป็นจุดเปลี่ยนชีวิตการทำงานของใครหลายคนเลยค่ะ บางคนเปลี่ยนงาน บางคนลาออกจากงานประจำมาทำธุรกิจส่วนตัว และที่แย่ที่สุดเลยคือ มีคนจำนวนไม่น้อยที่กลายสภาพเป็นคนตกงาน เนื่องจากโดนเลิกจ้างกะทันหัน จนต้องกลับมาที่จุดเริ่มต้นเพื่อหางานใหม่ และแน่นอนว่ายิ่งเป็นยุคของการ Work From Home แบบนี้ คนว่างงานจึงหันมาสนใจหางานที่ไม่ต้องเดินทางไปถึงออฟฟิศกันมากขึ้น เพื่อประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย

แต่อย่างไรก็ตาม มันก็มักจะมีมิจฉาชีพเข้ามาแฝงตัวหลอกคนที่กำลังหางานทำด้วยวิธีต่างๆ ที่เราเห็นกันบ่อยๆ ในรูปแบบของ "งานออนไลน์" ซึ่งทำเหยื่อที่หลงเชื่อไปสมัครงานด้วยสูญเงินกันไปไม่น้อยเลยค่ะ ทำให้คนที่กำลังมองหางานออนไลน์ต่างก็ระแวงไปตามๆ กัน ว่าสรุปแล้วงานออนไลน์ยังน่าเชื่อถืออยู่หรือไม่ ดังนั้นวันนี้เรามาค้นหาคำตอบกันดีกว่าค่ะ

 

งานออนไลน์ลักษณะนี้ มิจฉาชีพชัวร์!

ปกติแล้วเวลามิจฉาชีพหลอกให้คนมาสมัครงาน ก็มักจะใช้คำที่ดึงดูดความสนใจได้ดี เช่น งานง่ายๆ, ได้เงินจริง, ได้เงินเยอะ หรือไม่ก็จะประกอบไปด้วยรีวิวจำนวนมากที่ทำให้เรารู้สึกไว้ใจ และตกเป็นเหยื่อในที่สุด โดย 5 ลักษณะงานด้านล่างนี้ คืองานที่หลอกลวงแน่นอน  ซึ่งสามารถพบเห็นได้บ่อยในลักษณะโพสต์หรือคอมเมนต์สแปม (spam) ตามสื่อสังคมออนไลน์นั่นเองค่ะ

  1. งานคอนเฟิร์มออร์เดอร์

  2. งานตอบแชทลูกค้า

  3. งานแพ็คสบู่/แพ็คสินค้า/รับงานมาทำที่บ้าน

  4. งานเล่นเกม

  5. งานลงทุน

หากเจอประกาศรับสมัครงานที่มี Keyword ดังกล่าว ผู้เขียนแนะนำให้เลี่ยงโดยด่วนเลยค่ะ เพราะแท้จริงแล้วงานพวกนี้เป็นงานที่หลอกให้นำเงินเข้าไปเล่นเว็บพนันจนหมดตัว หรือไม่ก็เป็นเครือข่ายลูกโซ่ดีๆ นี่เอง


สรุปแล้วงานออนไลน์ที่ทำแล้วได้เงินมีอยู่จริงไหม?

ลักษณะงานบางอย่างก็ต้องยอมรับว่าได้เงินจริงค่ะ แต่ได้ในจำนวนที่น้อยมากๆ ซึ่งต้องอาศัยเวลาค่อนข้างนานถึงนานมาก จึงจะได้เงินเยอะตามที่ผู้ว่าจ้างได้อวดอ้างไว้ และในกรณีที่แย่ที่สุดเลยคือเงินก้อนแรกที่ได้มาอาจเป็นแค่เหยื่อล่อ เพราะกว่าจะได้เงินก้อนถัดไป ผู้ว่าจ้างก็จะหาข้ออ้างสารพัดที่ทำให้เราได้เงินยากขึ้นกว่าเดิม อย่างเช่น ให้จ่ายค่าดำเนินการต่างๆ ความจริงแล้วนั่นคือหนึ่งในขั้นตอนของที่ทำเพื่อซื้อใจเรานั่นเองค่ะ พอเหยื่อเห็นว่าได้เงินจริง ก็จะหลงกลโอนเงินต่อไปเรื่อยๆ จนหมดตัว หรือให้ผู้เขียนสรุปสั้นๆ คือ งานออนไลน์มีทั้งรูปแบบที่ได้เงินจริง แต่ใช้เวลานาน และแบบที่เป็นมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินโดยเฉพาะ ทั้งนี้ก็ขอแนะนำให้พิจารณาให้ดีก่อนสมัครดีกว่าค่ะ


ทำงานแล้วได้เงินจริง เรียกหลอกลวงยังไง?

ถัดมาจากหัวข้อด้านบนที่ผู้เขียนได้กล่าวไป อาจจะมีคนสงสัยว่า มีบางงานที่ทำแล้วได้เงินจริงๆ แล้วแบบนี้เรียกหลอกลวงยังไง? คำตอบคือเจ้าตัวจะได้ประโยชน์จาก "ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม" ค่ะ เช่น ค่าสมัคร ค่าสอนงาน ค่าดำเนินการต่างๆ ทั้งที่งานออนไลน์บางงาน เพียงแค่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน หรือแค่มี URL เว็บไซต์ก็สามารถเข้าใช้งานเองได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องรอการสอนงานเลยค่ะ ผู้ว่าจ้างหัวใสจึงได้เงินจากตรงนี้ไปเต็มๆ


ข้อควรสังเกตก่อนสมัครงานออนไลน์ทุกครั้ง

  • สอบถามชื่อ ที่อยู่ ข้อมูลของบริษัทให้ละเอียด เลี่ยงสมัครงานกับบริษัทที่ไม่มีข้อมูลแน่ชัด 

  • บริษัทควรมีการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง ไม่ควรตรวจสอบแค่ภาพถ่ายของใบจดทะเบียน เนื่องจากมีโอกาสเป็นรูปที่ผ่านการตัดต่อหรือนำมาแอบอ้าง ควรตรวจสอบจากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยตรง

  • การรับสมัครงานจะไม่มีการเรียกเก็บเงิน หรือให้โอนเงินใดๆ มิจฉาชีพบางคนอาจโน้มน้าวให้เราโอนเงินไปให้ก่อน ถ้ายังไม่ทราบข้อมูลของบริษัท ก็ไม่ควรโอนเงินไปให้เด็ดขาด

  • ไม่มีงานไหนที่ได้เงินมาอย่างง่ายๆ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ไม่มีอะไรที่ได้มาอย่างง่ายดาย โดยเฉพาะเรื่องเงิน ดังนั้นจึงอย่าหลงเชื่อประกาศรับสมัครงานที่อวดอ้างรายได้เกินจริง

สามารถตรวจสอบข้อมูลบริษัทได้ที่ datawarehouse.dbd.go.th


แม้ในตอนนี้งานจะเป็นที่ต้องการมากขนาดไหน แต่ก็อยากให้ลองพิจารณาดูดีๆ ทุกครั้งก่อนสมัครด้วยคำแนะนำจากผู้เขียนในบทความนี้ค่ะ หวังว่าทุกคนจะได้งานที่ต้องการไวๆ นะคะ ?

แท็กที่เกี่ยวข้อง กลโกง มิจฉาชีพ กลโกงออนไลน์ มิจฉาชีพออนไลน์ บทความการเงิน 2565 งานออนไลน์ สมัครงานออนไลน์ หางานออนไลน์
Money Guru
เขียนโดย สุทธิดา กาหา Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)