รู้จักกับ "Cyber Security" และ "Cloud Computing" เทรนด์การลงทุนน่าจับตามองในปี 2566

icon 15 ธ.ค. 65 icon 8,309
รู้จักกับ "Cyber Security" และ "Cloud Computing" เทรนด์การลงทุนน่าจับตามองในปี 2566
ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา กระแสการลงทุนที่ร้อนแรงคงหนีไม่พ้นคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งเจอปัญหาจากฟองสบู่ และการฉ้อโกง ขณะที่ทุกฝ่ายต่างตกใจกับข่าวโลกคริปโตฯ ก็มี 2 เทรนด์การลงทุนใหม่ ที่เคยเป็นการลงทุนยอดฮิตช่วง COVID-19 ระบาดครั้งแรก ซึ่งราคาปรับตัวลงมาถึงจุดที่เหมาะสมกับการเติบโตระยะยาว นั่นคือ Cyber Security และ Cloud Computing บทความนี้จะพามารู้จักกับ 2 เทรนด์การลงทุนนี้ที่น่าสนใจในระยะยาว

Cyber Security คืออะไร?

Cyber Security คือ การนำเทคโนโลยี และกระบวนการที่ถูกออกแบบ เพื่อป้องกันการถูกโจมตีเข้ามายังอุปกรณ์เครือข่าย โครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ ระบบ หรือโปรแกรม
ปัจจุบันครัวเรือน และบริษัทต่างหันมาใช้อุปกรณ์ Internet of things ซึ่งมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทำให้มีความเสี่ยงจากการถูกโจมตี จึงมีบริการ Firewall as a Service ป้องกันการโจมตี อีกตัวอย่างที่ใกล้ตัวก็หนีไม่พ้นแอปพลิเคชัน ซึ่งเข้าถึงระบบเครือข่ายได้ง่าย ทำให้ต้องมีการรักษาความปลอดภัย เช่น โปรแกรมสแกนไวรัส โปรแกรมเข้ารหัส เพื่อคัดกรองการแอบเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาต

นี่เป็นตัวอย่าง Cyber Security เพียงเล็กน้อยในยุคที่ทุกอย่างกลายเป็นข้อมูลดิจิทัลที่กำลังเติบโตต่อเนื่อง ส่งให้ Cyber Security มีแนวโน้มเติบโตเช่นกัน

การโจมตีทางไซเบอร์ที่มีนัยยะเพิ่มขึ้นจาก 4 ครั้ง เมื่อปี 2006 ไปสู่ 134 ครั้ง เมื่อปี 2020 ส่วนความเสียหายของการถูกละเมิดข้อมูลในปี 2006 อยู่ที่ 3.5 ล้านดอลลาร์ เพิ่มมาที่ 9.4 ล้านดอลลาร์ ในปี 2022 ด้านบริษัทผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ป้องกันความปลอดภัยปี 2020 อยู่ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์ เติบโตด้วยอัตราทบต้น 3 ปีย้อนหลังที่ 12% Morgan Stanley พบว่าการใช้จ่ายด้าน Cyber Security เพิ่มขึ้นมากกว่าซอฟต์แวร์ชนิดอื่น ในทางกลับกันหากบริษัทประสบปัญหาทางการเงินก็จะเป็นภาคส่วนที่ถูกตัดลดค่าใช้จ่ายแทบจะน้อยที่สุด เพราะความปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็นไปจนกว่าจะเลิกกิจการ

ประเภทของธุรกิจ Cyber Security
 
แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ 
  • Network Security : ปกป้องเครือข่ายจากผู้ใช้งานภายนอก บริษัทในกลุ่มนี้ เช่น Fortinet, Check Point
  • Endpoint Security : ปกป้องอุปกรณ์ปลายทางจาก Malware หรือ Phishing บริษัทในกลุ่มนี้ เช่น Avast, NortonLifeLock
  • Security Analytics : ตรวจสอบ และวิเคราะห์จุดอ่อนของระบบ ทดสอบเจาะระบบ บริษัทในกลุ่มนี้ เช่น Qualys
  • Identity Security : ใช้ตรวจสอบการยืนยันตัวตน ถูกใช้กับการโอนเงิน การเข้าแอพพลิเคชัน รหัส OTP บริษัทในกลุ่มนี้ เช่น Okta
บริษัทผู้ให้บริการ Cyber Security มีความโดดเด่นในแง่รายได้ที่สม่ำเสมอ เพราะดำเนินธุรกิจแบบ subscription จูงใจให้บริษัทอัปเกรดบริการได้ง่าย อีกทั้งซอฟต์แวร์มักเชื่อมต่อกับระบบในบริษัทอย่างลงตัว จึงทำให้การเปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่นยากลำบาก และต้องเสียค่าใช้เพิ่ม

รูปแบบธุรกิจแทบจะหาคู่แข่งหรือเทคโนโลยีมาทดแทนได้ยาก แต่แม้จะมีพื้นฐานดี และอนาคตสดใสมากแค่ไหน นักลงทุนก็ต้องระวังว่าในบางครั้งราคาหุ้นอาจซื้อขายสูงกว่าปัจจัยพื้นฐาน โดยอาจมีสาเหตุมาจากกระแสความนิยมในหมู่นักลงทุนทั่วไป หรือข่าวที่ให้ข้อมูลเกินกว่ามูลค่าที่เหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐาน นักลงทุนจึงควรติดตามข้อมูล ระดับมูลค่า และกระแสความนิยมที่มีแนวโน้มมากเกินไป

สำหรับนักลงทุนที่สนใจสามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมในประเทศไทยซึ่งมีหลายกองทุน ดังนี้ TCYBER, LHCYBER, KFCYBER-A ซึ่งมีสัดส่วนถือครองหุ้น Cyber Security เช่น Fortinet, Check point, Okta, Palo Alto Networks
Cloud Computing คืออะไร?

Cloud Computing คือ บริการให้เช่าระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ใช้ในการประมวลผล จัดเก็บข้อมูล และระบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังเข้าถึงข้อมูลบน cloud จากที่ไหนก็ได้

ทุกวันนี้เกือบทุกคนต้องได้ใช้บริการ cloud กันในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นในออฟฟิศที่เก็บข้อมูลไว้บน Microsoft OneDrive การบันทึกการประชุมผ่าน Zoom ก็ต้องใช้บริการ cloud มากกว่านั้นยังมีระบบ cloud ที่ให้บริการระดับองค์กรมากมาย เช่น Amazon Web Services, IBM Cloud, Microsoft Azure หรือจะเป็นไฟล์ส่วนตัวที่นิยมเก็บไว้กับ Google Drive ความนิยมดูหนังผ่านระบบ stream ก็ต้องเก็บข้อมูลไว้กับ cloud เช่นกัน

ปี 2021 มูลค่าตลาด cloud อยู่ที่ 368,970 ล้านดอลลาร์ คาดว่าอัตราการเติบโตระหว่างปี 2022-2030 อยู่ที่ 15.7% ต่อปี โดยปี 2030 จะมีมูลค่าประมาณ 1,614,100 ล้านดอลลาร์ การเติบโตเช่นนี้เป็นไปตามยุคเปลี่ยนผ่านสู่การเก็บข้อมูลไว้กับ cloud ในแบบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ประเภทของบริการ Cloud

แบ่งได้ 4 ประเภท ประกอบด้วย
  • Infrastructure as a Service (IaaS) : บริการเฉพาะระบบพื้นฐานสำหรับองค์กรที่ต้องการแค่ระบบไปพัฒนาต่อเอง เช่น สร้างระบบเก็บข้อมูลในองค์กร สร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน
  • Platform as a Service (PaaS) : ให้บริการระบบพื้นฐานและเครื่องมือชุดคำสั่งสำหรับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันและเว็บไซต์
  • Software as a Service (SaaS) : ให้บริการครอบคลุมตั้งแต่ระบบพื้นฐานไปจนถึงเครื่องมือชุดคำสั่งสำเร็จรูป เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ต้องการสร้างระบบเอง ไม่ต้องการดูแลระบบเอง
  • Desktop as a service (DaaS) : หรือเรียกว่า Cloud PC บริการให้เช่า PC ในรูปแบบ cloud โดยผู้ใช้สามารถนำอุปกรณ์ของตัวเองรีโมทเข้าระบบที่เช่าสเปคที่ดีกว่า ผู้ใช้สามารถปรับแต่งสเปคเองได้ เช่น หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ RAM
นักลงทุนต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุน Cloud Computing เริ่มจากความคาดหวังที่สูงเกินไปจากนักลงทุนในตลาด ซึ่งเมื่อผลประกอบการผิดคาดก็จะส่งให้ราคาหุ้นปรับตัวลงอย่างหนัก ส่วนรายละเอียดระดับบริษัทต้องติดตามตัวเลข Return on Investment (ROI) เพื่อดูต้นทุนของธุรกิจ เช่น ค่าไฟฟ้า นอกจากนี้ต้องติดตามปัจจัยด้านความปลอดภัย
 
สำหรับนักลงทุนที่สนใจสามารถเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวมในประเทศ ได้แก่ TCLOUD และ PRINCIPAL GCLOUD-A ช่วยให้ได้ถือครองหุ้นด้าน cloud ชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Amazon, Shopify, Workday, Workiva

ในขณะที่ตลาดหุ้นถูกกดดันจนราคาร่วงหนัก กลับกลายเป็นโอกาสลงทุนสำหรับหุ้นเติบโตที่ราคาเคยแพงก่อนหน้านี้ ซึ่ง Cyber Security และ Cloud Computing ต่างเป็นเทรนด์ที่น่าจับตามอง นอกจากนี้นักลงทุนต้องกระจายความเสี่ยงให้เหมาะกับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ด้วย มิฉะนั้นพอร์ตการลงทุนอาจผันผวนมากจนโอกาสเปลี่ยนเป็นความกังวลไปได้
 
ดูรายละเอียดบทความสำหรับงาน Money Expo 2022  Bangkok Year-End ที่น่าสนใจเพิ่มเติม
แท็กที่เกี่ยวข้อง บทความลงทุน 2565 เทรนด์การลงทุน 2566 Cyber Security Cloud Computing
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)