ทำไมนักลงทุนควรจัดพอร์ต RMF แบบ Asset Allocation

icon 8 ธ.ค. 65 icon 7,574
ทำไมนักลงทุนควรจัดพอร์ต RMF แบบ Asset Allocation
RMF หรือ Retirement Mutual Fund คือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นมาสนับสนุนให้นักลงทุนไทยออมเงินเพื่อการเกษียณ ถ้าในวันนี้เพื่อนๆ ยังมีเวลาในการทำงานมากกว่า 20-30 ปี ก่อนจะเกษียณอายุ การจัดพอร์ตลงทุนแบบ Asset Allocation จะทำให้พอร์ตของเพื่อนๆ ปลอดภัย ทนทานต่อวิกฤตเศรษฐกิจมากขึ้น แล้วการจัดพอร์ตลงทุนสำคัญอย่างไร บทความนี้จะเล่าให้ฟัง...

เงื่อนไข และการลดหย่อนภาษีของ RMF ปี 2022
 
 
  • นโยบายของกองทุนรวม RMF สามารถลงทุนในกองทุนรวมได้ทุกประเภท ทั้งตราสารหนี้ ตราสารทุน และตราสารทางเลือก
  • ไม่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล
  • เมื่อซื้อแล้ว ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรือเว้นได้ไม่เกิน 1 ปี
  • ต้องถือครองไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อ และขายได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • ซื้อได้สูงสุด 30% ของรายได้ทั้งปี ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ทั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ  (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และประกันบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท 
  • ผู้ซื้อต้องแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกับบลจ. (ดูรายละเอียด สรุปพิกัด...
ทำความรู้จักกับ Asset Allocation
 
 
Asset Allocation คือ การลงทุนโดยกระจายสินทรัพย์หลากหลายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือความเสียหายของพอร์ตการลงทุนในระยะยาว โดยสินทรัพย์การลงทุนจะแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก
  • เงินสด
  • ตราสารหนี้
  • ตราสารทุน
  • ตราสารทางเลือก อย่างอสังหาริมทรัพย์และทองคำ
ข้อดีของการจัดพอร์ตแบบ Asset Allocation
 
  • กระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์การลงทุนที่หลากหลาย การที่ลงทุนโดยกระจุกอยู่ในสินทรัพย์เดียว แม้จะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าในบางโอกาส แต่ก็มีความเสี่ยงสูง เช่น สนใจลงทุนในหุ้น เพราะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ หรือสถานการณ์ที่ตลาดหุ้นได้รับผลกระทบ สินทรัพย์แรกที่มีโอกาสขาดทุนสูงที่สุดคือหุ้น

    ดังนั้นหากเราได้กระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ปลอดภัยอื่นๆ ช่วยให้ลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้ในยามเศรษฐกิจไม่ดี แต่ในยามที่เศรษฐกิจดี พอร์ตของเราก็จะได้รับผลตอบแทนได้ไม่ดีเท่าการลงทุนในสินทรัพย์เดียว ซึ่งสินทรัพย์ของกองทุนรวม RMF มีหลากหลายให้นักลงทุนจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยงได้
     
  • ลงทุนในระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับเราได้ พอร์ตการลงทุนสามารถปรับเปลี่ยนความเสี่ยงได้ตามความเหมาะสม หากในตอนนี้ยังอยู่ในวัยทำงาน ยังมีเวลาในการลงทุนระยะยาว ดังนั้นพอร์ตการลงทุนเหมาะสมกับความเสี่ยงสูง หากในตอนนี้อยู่ในวัยใกล้เกษียณในอีกประมาณ 5-10 ปี พอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมคือความเสี่ยงปานกลาง หรือ ความเสี่ยงต่ำ ซึ่งเราต้องซื้อกองทุนรวม RMF ทุกปีอยู่แล้ว ทำให้สามารถปรับสัดส่วนการลงทุนในแต่ละปีให้เหมาะสมกับคาวมเสี่ยงได้
     
  • ป้องกันความเสียหายของพอร์ตเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
จากข้อดีข้อแรก มาดูตัวอย่างกันเพิ่มเติมว่าการจัดพอร์ตช่วยป้องกันความเสียหายได้อย่างไรบ้าง
ตารางผลตอบแทนสินทรัพย์ในแต่ละปี ที่มา : https://novelinvestor.com/asset-class-returns/ 
 
ตารางด้านบน เป็นตารางที่แสดงผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์ในแต่ละปี โดยเรียงสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนมากที่สุดไปน้อยที่สุด จากบนลงล่าง จะเห็นว่าในปีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจอย่างปี 2008 2018 รวมถึงปี 2022 เอง เป็นปีที่หุ้นให้ผลตอบแทนติดลบกว่า 10% ไปถึง 50% แต่สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดใน 3 ปีนั้น กลับเป็นสินทรัพย์เสี่ยงต่ำอย่างเงินสด และตราสารหนี้
 
ในตารางจะเห็นตัวอักษร AA ย่อมาจาก Asset Allocation Portfolio หรือการจัดพอร์ตลงทุน โดยกระจายการลงทุนในตราสารทุน 50% ทั้งหุ้นขนาดใหญ่ หุ้นขนาดเล็ก อสังหาริมทรัพย์ 10% และตราสารหนี้ 40% การจัดพอร์ตแบบนี้แม้จะไม่มีปีใดเลยที่ให้ลตอบแทนสูงที่สุด แต่ก็ไม่มีปีใด ที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุดเช่นกัน การจัดพอร์ตแบบนี้ช่วยประคองพอร์ตการลงทุนไว้ได้ในปีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ

โดยสรุปแล้วการที่ RMF มีระยะเวลาลงทุนที่ยาวนาน มีสินทรัพย์หลากหลายให้ลงทุน จึงเหมาะสมกับการจัดพอร์ตมาก นอกจากจะได้ลดหย่อนภาษีแล้ว ยังช่วยกระจายความเสี่ยง ทำให้พอร์ตของนักลงทุนต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจได้ดี แต่อย่างไรก็ตาม ในทุกๆ ปี อย่าลืมหมั่นที่จะทบทวนเป้าหมายของตัวเองเสมอ ว่าต้องการลงทุนด้วยความเสี่ยงแบบไหน เพื่อปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงนั่นเอง
แท็กที่เกี่ยวข้อง ลดหย่อนภาษี กองทุนลดหย่อนภาษี ลดหย่อนภาษีปี 2565 บทความกองทุน 2565 Asset Allocation
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)