รวมแพคกองทุน SSF / RMF น่าลงทุนปี 2022

icon 28 พ.ย. 65 icon 9,026
รวมแพคกองทุน SSF / RMF น่าลงทุนปี 2022
เดินทางมาถึงไตรมาสสุดท้ายของปี 2022 แล้ว เป็นช่วงเวลาที่ทั้งมนุษย์เงินเดือน และเจ้าของกิจการต่างมองหากองทุนประหยัดภาษี ซึ่งบทความนี้จะรวบรวมกองทุนประหยัดภาษีทั้ง SSF และ RMF สำหรับนักลงทุนสายประหยัดภาษีได้เลือกลงทุน

เกณฑ์การลดหย่อนภาษีกองทุน SSF และ RMF ปี 2022
 
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เน้นการออมระยะยาวและออกมาแทนกองทุน LTF สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
 
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ นำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
 
สำหรับค่าลดหย่อนกลุ่มประกันชีวิต และการลงทุนในการวางแผนเกษียณ ประกอบด้วย กองทุน RMF, กองทุน SSF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข., กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ, ประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 บาท
 
ที่สำคัญกรมสรรพากรออกกฎใหม่ให้นักลงทุนที่ต้องการประหยัดภาษีจากองทุน RMF และ SSF ปี 2022 ต้องแจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกับ บลจ. เนื่องจากกรมสรรพากรจะยอมรับหลักฐานการซื้อหน่วยลงทุนจาก บลจ. โดยตรงเท่านั้น
 
(สรุปพิกัด...แจ้งสิทธิขอลดหย่อนภาษี SSF / RMF และประกันภัย จะทำตรงไหน ยังไงได้บ้าง เช็กเลย!)

กองทุน SSF และ RMF เลือกยังไง กองไหนดี
 
การคัดเลือกกองทุน SSF และ RMF รวมไปถึงกองทุนรวมทั่วไป ควรเริ่มจากข้อมูลสถิติย้อนหลังในระยะเวลา 1, 3 และ 5 ปี ได้แก่
  • Maximum Drawdown หรือจุดขาดทุนสูงสุด เพื่อพิจารณาผลตอบแทนในสถานการณ์ที่แย่ที่สุด
  • Sharpe Ratio เพื่อพิจารณาผลตอบแทนจากการลงทุนหักด้วยผลตอบแทนปราศจากความเสี่ยงเทียบกับความผันผวน ยิ่งมีค่าสูง ยิ่งดี
  • Total Return เพื่อพิจารณาผลตอบแทนจากการลงทุน โดยเหตุผลที่ต้องพิจารณาสถิติในหลายช่วงเวลาเพื่อพิจารณาความสม่ำเสมอของกองทุน
หลังจากนั้นต้องพิจารณาแนวทางการลงทุนของผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) กรอบแนวคิดการเลือกสินทรัพย์ในพอร์ตกองทุน ประกอบกับการปรับพอร์ตการลงทุนในอดีตและสัดส่วนสินทรัพย์ในปัจจุบัน ว่ามีความสอดคล้องกับแนวทางการลงทุนหรือไม่ เพราะเหตุใด
 
สุดท้ายหากกองทุนที่คัดเลือกมามีความคล้ายกัน นักลงทุนต้องพิจารณาค่าธรรมเนียมที่ต่ำที่สุด เพราะกองทุน SSF และ RMF มีระยะเวลาลงทุนที่ยาวนาน ดังนั้นค่าธรรมเนียมจึงมีนัยสำคัญต่อการลงทุน
ข้อมูล และจุดเด่นแต่ละกองทุน
 
B-INNOTECHSSF / B-INNOTECHRMF : ลงทุนใน Fidelity Funds - Global Technology Fund เป็นกองทุนหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก มีนโยบายแบบ Active ด้วยกลยุทธ์การลงทุนหลากหลาย ทั้งลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีตามมุมมอง ลงทุนหุ้นวัฏจักรหรือหุ้นสถานการณ์พิเศษ รวมถึงมีหุ้นที่มีความแข็งแกร่ง และความผันผวนต่ำ เพื่อสร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ พร้อมความผันผวนที่ต่ำกว่ากองทุนหุ้นเทคโนโลยีอื่น ด้านผู้จัดการกองทุนมีความเชี่ยวชาญด้วยประสบการณ์ลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีอย่างยาวนาน
 
PRINCIPAL iPROPEN-SSF : กองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท REITs และกองทุนรวมอสังหาฯ รวมถึงหน่วยลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยกองทุนจะเน้นลงทุนในประเทศไทย และสิงคโปร์ ซึ่งมีอัตราการปันผลสูงเมื่อเทียบกับทั่วโลก ความสัมพันธ์กับตลาดหุ้นทั่วโลกต่ำช่วยกระจายความเสี่ยงให้พอร์ตลงทุน
 
KTMEE-SSF : กองทุนรวมผสมทั่วโลกจัดสรรสัดส่วนลงทุนไปยังหน่วยลงทุนกองทุนอื่นโดยผู้จัดการกองทุนจากบลจ. กรุงไทย เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยง และควบคุมความผันผวน
 
UGIS-SSF / UGISRMF : ลงทุนผ่านกองทุน PIMCO GIS Income Fund จาก บลจ. PIMCO ที่เชี่ยวชาญการลงทุนตราสารหนี้มาอย่างยาวนาน กองทุนหลักบริหารด้วยนโยบาย Active มีกลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลาย ปรับสัดส่วนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาดตราสารหนี้
 
K-FIXEDPLUS-SSF : กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะกลางที่เน้นลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นพันธบัตรและหุ้นกู้ Investment Grade โดยอาจมีหุ้นกู้ Non-Investment Grade/Unrated ไม่เกิน 20% ของ NAV จึงเหมาะกับการกระจายความเสี่ยง และลดความผันผวนของพอร์ตลงทุน
 
B-IF-FOFRMF : กองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท REITs และกองทุนรวมอสังหาฯ บริหารแบบ Active โดยประเมินทั้งระดับมูลค่า และแนวโน้มการเติบโตของอัตราการปันผลในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งที่ผ่านมาควบคุมความผันผวนได้โดดเด่น และผลตอบแทนดีกว่ากองทุนรวมอื่น สำหรับ REITs และกองทุนรวมอสังหาฯ มีอัตราการปันผลสูงเมื่อเทียบกับทั่วโลก ความสัมพันธ์กับตลาดหุ้นทั่วโลกต่ำช่วยกระจายความเสี่ยงให้พอร์ตลงทุน
 
KVIETNAMRMF : ลงทุนในหุ้นรายตัว และหน่วยลงทุนของกองทุน ETF โดยบริหารแบบ Active มุ่งหวังสร้างผลตอบแทนเหนือดัชนี MSCI Vietnam Net Total Return USD Index ซึ่งตลาดหุ้นเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตโดดเด่นในระยะยาว รับเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ และมีประชากรวัยทำงานในสัดส่วนที่สูงพร้อมรับโอกาสในอนาคต
 
KFIRMF : กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะกลางที่เน้นลงทุนตราสารหนี้ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นพันธบัตร และหุ้นกู้ Investment Grade โดยอาจมีหุ้นกู้ Non-Investment Grade/Unrated ไม่เกิน 20% ของ NAV จึงเหมาะกับการกระจายความเสี่ยง และลดความผันผวนของพอร์ตลงทุน

จากบทความนี้เชื่อว่านักลงทุนสายประหยัดภาษีอาจไปพบกองทุนที่น่าสนใจ และเหมาะสมกับตนเองแล้ว อย่างไรก็ตามการลงทุนมีความเสี่ยง ตลาดการเงินอาจเกิดความผันผวนได้ตลอดเวลา ดังนั้นนักลงทุนจึงควรกระจายความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนอย่างสม่ำเสมอ มากกว่านั้นนักลงทุนควรศึกษากฎเกณฑ์การลดหย่อนภาษีเพื่อจะได้ใช้สิทธิ์อย่างเหมาะสม และคุ้มค่าที่สุดนะครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ลดหย่อนภาษี กองทุน rmf กองทุนลดหย่อนภาษี กองทุน SSF ลดหย่อนภาษีปี 2565 บทความกองทุน 2565
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)