เปิดหมดเปลือก...ประกันภัยภาคสมัครใจนั้นสำคัญอย่างไร ควรซื้อหรือไม่ คุ้มครองอะไรบ้าง

icon 4 ส.ค. 66 icon 3,968
เปิดหมดเปลือก...ประกันภัยภาคสมัครใจนั้นสำคัญอย่างไร ควรซื้อหรือไม่ คุ้มครองอะไรบ้าง
การประกันรถยนต์ เป็นการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้รถ ทั้งความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดแก่ รถยนต์ หรือความเสียหายที่รถยนต์ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์ ซึ่งการประกันรถยนต์จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และการประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ทั้ง 2 แบบจะมีความแตกต่างกันอย่างไร ไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ
 
ประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และประกันภาคสมัครใจ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง 
 
ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance)
 
การประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่เรียกว่า ประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งรถยนต์ทุกคันทุกชนิดต้องทำประกันภัยประเภทนี้  เนื่องจากถูกบังคับโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ประกันภัยประเภทนี้ให้ความคุ้มครองและรับผิดชอบต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกาย  หรืออนามัยของประชาชนผู้ประสบภัยจากรถยนต์เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น นายเอกขับรถไปชนคนที่กำลังเดินข้ามถนนได้รับบาดเจ็บ ประกันรถยนต์ภาคบังคับนี้จะรับผิดชอบเฉพาะค่ารักษาพยาบาลของคนเดินถนนที่ได้รับบาดเจ็บเท่านั้น 
 
ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)
 
ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ  เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) เป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความต้องการของผู้ซื้อโดยไม่มีผู้ใดบังคับ ซึ่งประกันรถยนต์ภาคสมัครใจนี้จะรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนที่เกินจากความรับผิดชอบของประกันรถยนต์ภาคบังคับนั่นเอง
 
และในเมื่อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการเลือกซื้อโดยไม่มีผู้ใดมาบังคับ จะซื้อ หรือไม่ก็ได้ ดังนั้น เราจะมาชี้กันชัดๆ เลยว่าประกันภาคสมัครใจนั้นสำคัญอย่างไร ควรซื้อหรือไม่ คุ้มครองอะไรบ้าง
 
รู้จักประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance) มีกี่ประเภท และคุ้มครองอะไรบ้าง 
 
ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจะรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนที่เกินจากความรับผิดชอบของประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ประเภท และแต่ละเภทให้คุ้มครองในเรื่องต่างๆ  ดังนี้ค่ะ 
 
 
กรมธรรม์ประกันรถยนต์ประเภท 1 (Comprehensive) เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการประกันรถยนต์ประเภทอื่นๆ โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 4 ประเภท ดังนี้
 
  1. คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
  2. คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  3. คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์
  4. คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์
กรมธรรม์ประกันรถยนต์ประเภท 2 (Third Party Liability, Fire and Theft) เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 แตกต่างเพียงไม่มีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ โดยมีความคุ้มครองหลัก ดังนี้
  1. คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
  2. คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  3. คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์
กรมธรรม์ประกันรถยนต์ประเภท 3 (Third Party Liability) กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าการประกันรถยนต์ประเภท 1 และประเภท 2 โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ดังนี้
  1. คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
  2. คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
กรมธรรม์ประกันรถยนต์ประเภท 4 (Third Party Property Damage Only) ให้ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น โดยคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง
 
กรมธรรม์ประกันรถยนต์ประเภท 5 เป็นแบบคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาในภายหลัง แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
 
แบบประกัน 2 พลัส (2+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
  1. คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  2. คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  3. คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
  4. คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
แบบประกัน 3 พลัส (3+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้
  1. คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  2. คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  3. คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก
ดูจากความคุ้มครองจากประเภทประกันรูปแบบต่างๆ ข้างต้นแล้ว เห็นได้ชัดเลยนะคะว่า ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจะรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนที่เกินจากความรับผิดชอบของประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ซึ่ง หากผู้ครอบครอง หรือผู้ใช้รถ ทำประกันภัยภาคสมัครใจไว้ด้วยแล้ว ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดใดๆ ก็จะได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ที่ถืออยู่ด้วย
 
แต่ทั้งนี้ การจะเลือกซื้อประกันภัยเราก็สามารถเลือกซื้อประกันตามกำลังทุนทรัพย์ที่เรามี และตามประเภทความคุ้มครองที่เรายอมรับได้ หรือเลือกจากปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย ดังนี้
 

สุดท้ายนี้ ถ้าให้ GURU แนะนำ สำหรับการทำประกันภัยภาคสมัครใจ ถ้าเรามีความสามารถในการซื้อรถ หรือมีความสามารถในการเป็นผู้ครอบครองรถแล้ว การจะเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัยเพิ่มเติม เพื่อคุ้มครองกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดคิด ทั้งต่อตนเอง ทรัพย์สิน หรือบุคคลอื่นที่จะได้รับผลกระทบด้วยนั้น ก็จะช่วยสร้างความอุ่นใจ เพราะเมื่อถึงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุจริงๆ อย่างน้อยก็ยังมีกรมธรรม์ประกันภัยที่คอยซัพพอร์ตในเรื่องความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้นะคะ heart
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันรถยนต์ เบี้ยประกันภัย การวางแผนการเงิน บทความประกันภัย 2565 ประกันภัยภาคบังคับ ประกันภัยภาคสมัครใจ ความคุ้มครองตามกรมธรรม์
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)