โรคมือเท้าปาก โรคหัด โรคปอดบวมในเด็ก (ปอดอักเสบ) RSV พบเด็กเล็กอายุ 1-3 ปี
โรคอุจจาระร่วง พบมากในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอีสุกอีใส พบมากในช่วงอายุ 7-14 ปี
เพิ่มโอกาสการรักษาที่ดีและบริการที่รวดเร็วสะดวกสบายให้กับลูก เมื่อมีวงเงินประกันที่เพียงพอจะสามารถช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจเลือกการรักษาที่ดีที่สุดให้กับลูกได้
เด็กมีโอกาสป่วยได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ และมีโรคเฉพาะที่เกิดกับเด็ก เช่น RSV ชัก หอบหืด ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เฉลี่ยเริ่มต้น 3-5 หมื่นบาทต่อครั้งที่เข้ารับการรักษา ถ้าป่วยบ่อยป่วยง่าย ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายหลักแสนเลยทีเดียวค่ะ
หากลูกเคยป่วยแล้ว มาสมัครอาจถูกเลื่อนการรับสมัครทำประกัน มีโรคหรือข้อยกเว้นในประกัน ถูกเพิ่มเบี้ย หรืออาจถูกปฏิเสธการทำประกันได้ ดังนั้นให้ดีที่สุดคือทำตั้งแต่แรกเกิดและยังไม่เคยป่วยนะคะ
เด็กเล็กไม่สามารถพูดหรือสื่อสารได้ การมีประกันเด็ก จะทำให้คุณพ่อคุณแม่อุ่นใจและมั่นใจทุกครั้งที่ลูกรักต้องเจ็บป่วย สามารถเริ่มวางแผนและทำประกันได้ตั้งแต่ลูกอายุ 1 เดือนขึ้นไป
1. เลือกประกันที่คุ้มครองการรักษาที่ครอบคลุมผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน (IPD + OPD)
ความคุ้มครองแบบครั้งต่อครั้ง อธิบายอย่างง่าย ๆ คือ คุณจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายและค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินเอง ในกรณีที่ค่ารักษาเกินวงเงินที่บริษัทประกันภัยกำหนด
เบี้ยเด็กอายุ 1 เดือน ค่าห้อง 1,500 บาท เบี้ยเริ่มต้นได้ตั้งแต่ 23,000 บาทขึ้นไป ซึ่งครอบคลุมค่าห้อง ค่าแพทย์ ค่ารักษา ค่าผ่าตัดต่างๆ ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทประกันว่าจะมีเงื่อนไขรายละเอียดในแต่ละความคุ้มครองอย่างไรบ้าง
ยกตัวอย่าง ของ AIA ที่มี OPD ผู้ป่วยนอกเข้ามาอยู่ในแผนด้วย และรับประกันทารกตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ถ้าไม่เคลม มีเงินคืนพิเศษให้ในปีถัดไป
"คลิก" เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ความคุ้มครองแบบเหมาจ่าย คือ บริษัทประกันจะเป็นผู้กำหนดวงเงินความคุ้มครองใน 1 ปีให้คุณ ดังนั้น คุณไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลรายครั้งเลยว่าจะเกินวงเงินหรือไม่
เบี้ยเด็กอายุ 1 เดือน คุ้มครองเหมาจ่าย 1 ล้านบาท เบี้ยเริ่มต้นได้ตั้งแต่ 56,000 บาทขึ้นไป จนถึงหลักแสนต้นๆ
ยกตัวอย่าง ของ AZAY ที่คุ้มครองแบบเหมาจ่ายค่ารักษาสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 11 ปี
"คลิก" เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันอีกรูปแบบที่สามารถเลือกได้ คือ เลือกที่จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนแรกเอง ที่เหลือให้ประกันจ่ายให้ รูปแบบนี้ก็จะสามารถลดค่าเบี้ยประกันลงได้ค่อนข้างมาก ข้อดีคือทำให้ได้ประกันที่ถูกลง ข้อเสียคือคุณพ่อคุณแม่ ก็จะต้องจ่ายค่ารักษาเองก่อนในแต่ละครั้ง ถ้าเกินวงเงินความรับผิดชอบส่วนแรก ก็จะเป็นทางประกันจ่ายต่อให้ค่ะ ยกตัวอย่างของเมืองไทย
"คลิก" เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
2. ศึกษาเรื่องระยะเวลารอคอย คือ ระยะเวลาที่ผู้เอาประกันยังไม่สามารถเรียกร้องเงินชดเชยได้ บางคนมีโรคมาก่อนทำประกัน จึงต้องมีข้อกำหนดที่เรียกว่า “ระยะเวลารอคอย (Waiting Period)” เพื่อป้องกันการเรียกค่าสินไหมเกินจากสภาพที่เป็นมาก่อนเอาประกันภัย แต่ละบริษัทจะกำหนดระยะเวลารอคอยแตกต่างกัน ตั้งแต่ 30 - 120 วัน ขึ้นอยู่กับแผนประกันภัย
3. เปรียบเทียบแบบประกันหลายๆบริษัท อย่างน้อย 2-3 บริษัท เพื่อคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกรัก และให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายที่ต้องการวางแผน
4. แนะนำให้เลือกจากบริษัทประกันที่มีความน่าเชื่อถือ และตรวจสอบให้มั่นใจว่าเป็นแบบประกันที่จะไม่เท หรือยกเลิกหากมีการเคลมประกันตามเงื่อนไขที่ถูกต้องแล้ว เพราะหลายครั้งจะพบว่า บริษัทประกันยกเลิกประกันของลูกค้าเพราะเคลมมากไป (คล้ายๆการทำประกันวินาศภัย เช่น ประกันรถยนต์)
เงื่อนไขเบื้องต้นอะไรบ้างที่ใช้ในการพิจารณาสำหรับเคสประกันเด็กแรกเกิดที่พ่อแม่ควรรู้
(ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การพิจารณาของแต่ละบริษัทที่อาจแตกต่างกันออกไปนะคะ)
น้ำหนักแรกเกิดต้องไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม และไม่คลอดก่อนกำหนด
เตรียมสมุดสุขภาพเด็กให้ครบทุกหน้า เอกสารสูติบัตรและสมุดฉีดวัคซีน
ยื่นทำประกันหลังอายุครบ 30 วัน
ถ้าป่วยเป็น RSV ต้องเว้นไปก่อน 1 ปี ถึงจะทำประกันได้
กรณีคุณพ่อคุณแม่ทำประกันให้กับลูกแล้ว จะมีสิทธิ์เป็นเจ้าของกรมธรรม์ ซึ่งเป็นคนรับผิดชอบและสามารถตัดสินใจทั้งหมดบนประกันฉบับนั้นๆ เช่น จ่ายเบี้ย ยกเลิก เป็นต้น
สุดท้ายนี้ การเจ็บป่วยและอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิด ดังนั้น ถ้าเรามีการวางแผนที่ดี มีการทำประกันสุขภาพไว้ อย่างน้อย คุณพ่อคุณแม่จะอุ่นใจมากขึ้น และสามารถบริหารความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้
ประเภทคุกกี้ อ่านเพิ่มเติม ที่นี่ |
ยินยอม / ไม่ยินยอม |
---|---|
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ (Strictly Necessary) |
|
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์ (Functionality) |
|
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์ (Performance & Analytics) |
|
คุกกี้เพื่อการตลาด (Marketing) |