ประกันชีวิตฉบับแรกสำหรับ First Jobber เลือกอย่างไร

icon 23 พ.ค. 66 icon 4,726
ประกันชีวิตฉบับแรกสำหรับ First Jobber เลือกอย่างไร
วันนี้จะมาเล่าประสบการณ์สมัยเริ่มทำงานใหม่ๆ เป็น First Jobber พร้อมแนะนำการเลือกทำประกันชีวิตกันและประกันสุขภาพกันค่ะ ต้องย้อนกลับไปเมื่ออายุ 23 ตอนที่เรียนจบแล้วเริ่มเข้ามาทำงานเป็นปีแรก รู้สึก proud ที่หาเงินได้เอง เงินเดือนที่ได้มา ส่วนใหญ่จะถูกใช้ไปกับเรื่องสัพเพเหระ ช้อปปิ้ง กิน เที่ยว เรียกได้ว่า มีเท่าไหร่ ก็ใช้เกือบหมด (ยังพอมีเหลือเก็บบ้างเล็กน้อยเท่านั้น) เชื่อว่า First Jobber หลายๆ คน ก็เป็นคล้ายๆ กันค่ะ 

ครั้งแรกที่เริ่มคิดเก็บออม

มีวันนึง มีความคิดว่า พ่อแม่เกษียณแล้ว เราจะต้องเป็นผู้นำ และเลี้ยงดูที่บ้าน เราจะใช้เงินแบบนี้ไม่ได้แล้วนะ ไม่งั้นเราจะไม่มีเงินเก็บเหลือเลย ถ้ามีอะไรฉุกเฉิน จะทำอย่างไร? จึงเริ่มคิดว่า เราควรแบ่งสัดส่วนการเก็บและใช้เงินให้ชัดเจน เช่น ใช้ 60% เก็บ 40% และหาตัวช่วยต่างๆ ที่จะเข้ามาแบ่งเบาความเสี่ยงเรื่องการเงิน ซึ่งหนึ่งในตัวช่วยก็คือ ประกันชีวิตนั่นเอง
 

ประกันตัวไหนจะตอบโจทย์เราได้บ้างล่ะ? 

ก่อนอื่นเลย ดูตามความกังวลส่วนตัวที่เกิดขึ้นเป็นหลัก เรียงลำดับความสำคัญไว้ในใจ เช่น

  1. กังวลห่วงคนข้างหลัง หากเสียชีวิต แล้วไม่มีใครดูแลพ่อแม่

  2. กังวลเรื่องไม่มีเงินเก็บ

  3. กังวลเรื่องการเจ็บป่วย แล้วต้องใช้เงินก้อน เอาเงินที่ไหนจ่าย

ซึ่งทั้ง 3 ความกังวลนั้น เราสามารถใช้ประกันในรูปแบบต่างๆ เป็นตัวตอบโจทย์ได้ ดังนี้

1. กังวลห่วงคนข้างหลัง หากเสียชีวิต แล้วไม่มีใครดูแลพ่อแม่

แนะนำ ทำประกันชีวิต คุ้มครองตลอดชีพแบบ Whole life จุดเด่นคือ มีทุนประกันคุ้มครองสูง ในขณะที่เบี้ยประกันต่ำ ยกตัวอย่าง เบี้ยประกันสำหรับผู้หญิงอายุ 25 ปี ทำทุนประกัน 1 ล้านบาท จ่ายเบี้ยเพียงปีละประมาณ 14,500 บาท ตกเดือนละ 1,208 บาทเท่านั้นเอง จะเห็นว่าไม่แพงเลยเมื่อแลกกับความคุ้มครองสูงถึง 1 ล้านบาท หากเราเสียชีวิตลงไป อย่างน้อยได้มีเงินก้อนทิ้งไว้ให้คนที่เรารักที่ถูกระบุเป็นผู้รับผลประโยชน์ได้ อีกทั้งประกันชีวิตยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย ยกตัวอย่างประกันที่ขายกันในตลาด เช่น ของเมืองไทยประกันชีวิต ที่มีประกันชีวิตหลากหลายรูปแบบที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่ต่างกันไป อาจจะแตกต่างกันที่ระยะเวลาการจ่ายเบี้ยประกัน สั้นหรือยาว และเงินคืนระหว่างสัญญา แต่ให้ความคุ้มครองตลอดชีวิตจนถึงอายุ 99 ปี 

"คลิก" เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

หรือ FWD ที่มีการขายประกันชีวิตออนไลน์ ระยะสั้น 10 ปี คุ้มครอง 10 ปี แล้วมีเงินคืนให้ 10% ของที่จ่ายมาทั้งหมด

"คลิก" เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

2. กังวลเรื่องไม่มีเงินเก็บ

แนะนำ ทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ซึ่งจะเป็นประกันที่เน้นการออมเงิน แต่ได้รับความคุ้มครองชีวิตไปด้วยตลอดระยะสัญญา เราจะรู้ชัดเจนว่า จะต้องจ่ายเท่าไหร่ จำนวนกี่ปี คุ้มครองเท่าไหร่ นานแค่ไหน และได้เงินคืนเท่าไหร่ในปีใดบ้าง ซึ่งผลตอบแทนเฉลี่ยของประกันแบบนี้จะอยู่ที่ประมาณ 1.5 – 2% ต่อปี และสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้  ยกตัวอย่าง เบี้ยประกันสำหรับผู้หญิงอายุ 25 ปี เลือกทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 20 ปี ทำทุนประกันที่ 150,000 บาท จ่ายเบี้ยเพียงปีละประมาณ 23,000 บาท ตกเดือนละ 1,916 บาทเท่านั้น เหมือนเราแบ่งเงินจากรายได้มาออมในประกัน 

หรือจะเลือกประกันที่ระยะสั้นลงได้ เช่น 10/5 แปลว่าเราจ่ายเบี้ย 5 ปี ระยะสัญญา 10 ปี ในระหว่างปี จะมีเงินคืนให้เรา ถือจนจบสัญญาได้รับเงินอีกก้อนหนึ่ง

"คลิก" เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
 
ยกตัวอย่าง ของกรุงไทยAXA แบบประกันสะสมทรัพย์ จ่าย 5 ปี คุ้มครอง 14 ปี ได้ผลประโยชน์รวม 608% 
 
 
หรือของพรูเด็นเชียล ประกันสะสมทรัพย์ Saving 10/4 จ่าย 4 ปี คุ้มครอง 10 ปี ได้ผลประโยชน์รวม 410% 

"คลิก" เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

3. กังวลเรื่องการเจ็บป่วยแล้วต้องใช้เงินก้อน เอาเงินที่ไหนจ่าย

การเจ็บป่วยไม่เลือกเวลาและอายุค่ะ แล้วยิ่งยุคนี้ มีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา แม้ว่าเรายังอายุน้อย ก็มีสิทธิจะป่วยหนัก หรือเกิดเรื่องไม่คาดฝันได้เหมือนกันจริงมั้ยคะ หากป่วยเล็กๆน้อยๆ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยกังวลหรอก เพราะมีประกันกลุ่มดูแลพอได้ แต่ถ้าเกิดเจ็บหนักขึ้นมา เช่น เป็นโรคร้าย หรืออุบัติเหตุหนัก ประกันกลุ่มไม่น่าจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาแน่นอนค่ะ และจะกระทบเงินเก็บของเราได้ค่ะ ดังนั้น แนะนำ ทำประกันสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องนี้ ยกตัวอย่าง เบี้ยประกันสำหรับผู้หญิงอายุ 25 ปี ทำทุนประกันเหมาจ่ายที่ 5 ล้านบาท จ่ายเบี้ยปีละประมาณ 21,500 บาท ตกเดือนละ 1,791 บาทค่ะ คุ้มครองต่อเนื่องจนอายุ 85 ปีได้เลย 

ข้อสังเกตของการทำประกันสุขภาพที่ต้องรู้

  • เบี้ยจ่ายทิ้ง ถ้าไม่เคลม เราจะไม่ได้อะไรคืน แต่หากไม่ทำไว้เลย ก็จะมีความเสี่ยงเช่นกัน ดังนั้น ให้คิดว่านี่คือการบริหารความเสี่ยงทางการเงินของเราทางหนึ่งนะคะ

  • เบี้ยไม่คงที่ จะปรับขึ้นตามอายุของเรา เนื่องจากมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น โดยทั่วไปปรับขึ้นทุก 5 ปี

  • ทำตอนสุขภาพดี ไม่มีประวัติ ถึงจะคุ้มครองแบบไม่มีเงื่อนไขใดๆ

ยกตัวอย่าง ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายของ AIA  ที่เน้นความคุ้มครองสูงแบบเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล ไม่จำกัดวงเงิน
"คลิก" เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
 
ของ Cigna ก็มีหลายแบบที่สามารถเลือกความคุ้มครองหรือ package กลุ่มโรคต่างๆ ตามความกังวลของเราได้
"คลิก" เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

อย่าลืมดูเรื่องกำลังทรัพย์สำหรับการซื้อประกัน!!!

เนื่องจาก First Jobber เป็นวัยที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ รายได้อาจจะยังมีไม่มากมาย ต้องจัดสรรรายรับ รายจ่ายให้ดีก่อน รายได้ขั้นต่ำของพนักงานใหม่ในปีแรกๆ อาจจะอยู่ที่ 20,000-25,000 บาท ซึ่งถ้าเป็นคนไม่มีภาระอะไร เราสามารถแบ่งเงินบางส่วนมาทำประกันได้ ตามตัวอย่างเบี้ยที่ยกไว้เบื้องต้น เราจะพบเจอหลายครั้ง ที่กลุ่ม First Jobber ทำประกัน แล้วมีการยกเลิกหรือเวนคืนกรมธรรม์กันไปหลังจากทำได้ 1-2 ปี เหตุผลหลักๆ เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่มีมากขึ้น ทำให้ไม่มีเงินมาชำระค่าเบี้ยประกัน ซึ่งการทำประกันนั้น จะมีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลาในการถือกรมธรรม์และผลประโยชน์ ซึ่งผลที่ตามมาหลังจากยกเลิก หรือเวนคืนกรมธรรม์ก็คือ การเสียผลประโยชน์ของผู้ทำประกัน ทั้งในเรื่อง มูลค่ากรมธรรม์ ณ ตอนนั้น เช่น เราส่งเบี้ยมาแล้ว 2 ปี ทั้งหมด 20,000 บาท แต่เมื่อเวนคืน มูลค่าที่ได้คืนมา ได้เพียง 4,000 บาท เป็นต้น รวมถึงความคุ้มครองที่หายไป ดังนั้น ก่อนการทำประกันทุกครั้ง จะต้องมีการคำนวนแล้วว่า สามารถที่จะชำระเบี้ยได้จนจบครบสัญญา จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อไม่ให้เราเสียผลประโยชน์ค่ะ

โดยสรุปแล้ว การเลือกทำประกันอยากแนะนำให้ดูความกังวล หรือความต้องการ และรายรับรายจ่ายของเราเป็นหลักก่อน ไม่จำเป็นต้องทำประกันทุกๆ แบบ เพราะในช่วงวัย First Jobber เรายังมีข้อจำกัดด้านรายได้อยู่ อาจจะต้องเลือกทำประกันที่สำคัญ และจำเป็นกับชีวิตเราก่อน แล้วเมื่อมีรายได้มากขึ้น ถึงค่อยๆ ทำเพิ่มได้ค่ะsmiley
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันชีวิตฉบับแรก First Jobber เลือกซื้อประกัน
Money Guru
เขียนโดย คุณป้อ (ประกันเข้าใจง่าย) Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)