เอาไงดี จะเช่าซื้อสินเชื่อรถปีนี้ หรือรอปีหน้าดี? กฎใหม่ สคบ. ผู้บริโภคได้เสียอะไรบ้าง?

icon 2 ธ.ค. 65 icon 33,007
เอาไงดี จะเช่าซื้อสินเชื่อรถปีนี้ หรือรอปีหน้าดี? กฎใหม่ สคบ. ผู้บริโภคได้เสียอะไรบ้าง?
เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2566 คนซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์จะได้รับความคุ้มครองจากสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มากขึ้นตามประกาศที่เพิ่งออกมาเมื่อตุลาคม 2565 นี้ (ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565) โดยหลักคือ สคบ. กำหนดให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์-มอเตอร์ไซค์เป็นธุรกิจควบคุมที่ห้ามเอาเปรียบผู้บริโภค (เช่น กำหนดเรื่องดอกเบี้ยสูงสุด) และต้องมีเนื้อหาสัญญาบางอย่างที่ สคบ. กำหนด วันนี้เรามาดูกันครับ ว่ากฎเกณฑ์นี้มีดี หรือไม่ดียังไงกับผู้บริโภคอย่างเราๆ บ้าง 

ที่ผ่านมาไม่มีข้อห้ามเรื่องดอกเบี้ยสูงสุด  (Maximum Cap) 

ที่ผ่านมา ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์แทบจะเป็นธุรกิจให้กู้ประเภทเดียวในเมืองไทยที่ไม่มีข้อห้ามเรื่องเพดานดอกเบี้ย เป็นช่องโหว่ที่ทำให้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยกันเต็มที่ เช่นปัจจุบัน ถ้าจะเช่าซื้อรถมอเตอร์ไซค์ อาจโดนดอกเบี้ยสูงถึง 35% ต่อปี ทั้งที่ ธุรกิจสินเชื่ออื่นยังมีกฎเรื่องห้ามคิดดอกเบี้ยเกินกำหนดเลย เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต ห้ามคิดดอกเบี้ยเกิน 16% ต่อปี หรือสินเชื่อจำนำทะเบียนที่ถือว่าเสี่ยงกว่าเช่าซื้อ ก็มีกฎห้ามคิดเกิน 24% ต่อปี เป็นต้น สคบ. จึงออกกฎตัวนี้ออกมา

ผู้บริโภคได้อะไรดีขึ้นบ้าง 

หลักๆ คนซื้อรถยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์อาจได้ประโยชน์จากกฎ สคบ. ใหม่นี้อยู่ 4 เรื่องหลักๆ คือ 
 
เรื่อง ของเดิม ของใหม่เริ่มมกราคม 2566
เพดานดอกเบี้ยสูงสุดที่คิดได้ 
คิดแบบ Flat Rate และไม่มีกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเอาไว้ แต่ในทางปฏิบัติ ปัจจุบันคิดกันประมาณนี้
•    รถยนต์ใหม่ 2.5-7% ต่อปี 
•    รถยนต์ใช้แล้ว 4-10% ต่อปี
•    จักรยานยนต์ 18-25% ต่อปี
ยังคิดแบบ Flat Rate ได้แต่ต้องระบุว่าถ้าแปลงเป็น Effective Rate จะเป็นเท่าไหร่ และถ้าแปลงแล้ว Effective Rate ต้องไม่เกิน
•    รถยนต์ใหม่ ไม่เกิน 10% ต่อปี 
•    รถยนต์ใช้แล้ว ไม่เกิน 15% ต่อปี และ
•    รถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 23% ต่อปี
ถ้ามีการโปะหนี้ หรือปิดบัญชีก่อนกำหนด (Prepay)
 
โปะหนี้ "บางส่วน" ไม่ได้ต้องโปะครั้งเดียวทั้งหมด และจะได้รับส่วนลดเท่ากันทุกกรณี คือส่วนลดไม่น้อยกว่า 50% ของดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ 
 
 
 
 
 
 
โปะหนี้ยังคงต้องโปะครั้งเดียวทั้งหมดเหมือนเดิม แต่จะได้รับส่วนลดแตกต่างกัน ยิ่งผ่อนนาน ยิ่งได้ส่วนลดมากขึ้น 
•    ชำระค่างวดมาไม่เกิน 1 ใน 3 ให้ได้รับส่วนลดในอัตราไม่น้อยกว่า 60% ของดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
•    ชำระค่างวดไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 แต่ไม่เกิน 2 ใน 3 ให้ได้รับส่วนลดในอัตราไม่น้อยกว่า 70% ของดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
•    ชำระค่างวด ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ให้ได้รับส่วนลดทั้งหมดของดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
เบี้ยปรับกรณีผิดนัด 
 
ให้คิดเบี้ยปรับกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่างวดได้ตั้งแต่ 3% + Effective Interest Rate แต่ห้ามเกิน 15% ต่อปี ให้คิดเบี้ยปรับกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่างวดได้ไม่เกิน 5% ต่อปี
 
ผ่อนไม่ไหว อยากเปลี่ยนตัวคนเช่าซื้อ ไม่มีข้อบังคับว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อเท่าใด ค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อต้องไม่เกิน 2,500 บาทเท่านั้น
 
ใครต้องทำตามกฎ สคบ. นี้บ้าง  
 
มองเป็น 2 ฝั่งคือ 

(ก) ฝั่งผู้บริโภค โดยหลักคือคนที่อยากได้รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ทุกประเภทเพื่อเอามาใช้ส่วนตัว และขอสินเชื่อเช่าซื้อจากผู้ให้สินเชื่อ ก็จะได้ประโยชน์จากกฎนี้ คำว่า "สินเชื่อเช่าซื้อ" ในที่นี้คือ วางดาวน์ ผ่อนเป็นงวด และเมื่อผ่อนหมดจะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ หรือจะได้สิทธิซื้อรถ หรือมอเตอร์ไซค์นั้น ดังนั้น ถ้าเป็นการปล่อยเช่าให้ใช้รถเฉยๆ หรือเอารถที่มีอยู่ไปขอสินเชื่อประเภท รถแลกเงิน จำนำทะเบียนรถ  Auto Cash หรือ Car4Cash จะไม่เข้ากฎตัวนี้ 

(ข) ฝั่งคนให้สินเชื่อเช่าซื้อ โดยหลักคนที่ต้องปฏิบัติตามกฎนี้คือ Dealer หรือ Showroom ขายรถหรือมอเตอร์ไซค์โดยให้เช่าซื้อ ไม่ว่ารถใหม่หรือเก่า และบริษัทไฟแนนซ์ในเครือรถยนต์ต่างๆ ที่ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อให้รถแบรนด์ตัวเอง เช่น Honda Leasing (Thailand) หรือ BMW Leasing (Thailand) เป็นต้น หรือพวก Non-Bank ที่ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อแบบไม่จำกัดแบรนด์ เช่น ศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อ หรือ Group Lease เป็นต้น   
สรุปคือผู้บริโภคได้ประโยชน์จริงๆ อะไรบ้าง 

ถ้าวิเคราะห์กันจริงๆ แล้ว กฎ สคบ. ตัวนี้จะให้ประโยชน์แก่ลูกค้าบางกลุ่มเท่านั้น ดังนี้
  
กลุ่มที่ได้ประโยชน์
กลุ่มซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ที่มีเอกสารและประวัติทางการเงินชัดเจน
เพราะปัจจุบัน ถ้าจะเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่อาจโดนดอกเบี้ย Flat Rate ได้สูงถึง 18-25% ต่อปี แต่ตามกฎ สคบ. ใหม่นี้ ดอกเบี้ยลดต้นลดดอกจะต้องห้ามเกิน 23% ต่อปี หรือ Flat Rate ประมาณ 12.5%ต่อปี 
 
กลุ่มซื้อรถยนต์มือสอง ลูกค้าเช่าซื้อรถยนต์มือสองบางกลุ่มจะได้ประโยชน์ เช่นปัจจุบัน หากจะขอสินเชื่อเช่าซื้อรถมือสองที่เก่า เช่น เกิน 10 ปี อาจโดนดอกเบี้ย Flat Rate 10% ต่อปี แต่ตามกฎ สคบ. ใหม่นี้ ดอกเบี้ยลดต้นลดดอกจะต้องห้ามเกิน 15% ต่อปี หรือ Flat Rate ประมาณ 8.5%ต่อปี
ลูกค้าที่อยากปิดบัญชีเร็ว ลูกค้ากลุ่มนี้จะได้ประโยชน์ที่สุด โดยถ้าผ่อนมาแค่ 1 ใน 3 แล้วจะปิดบัญชี ก็จะได้ส่วนลดไม่น้อยกว่า 60% ของดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระแล้ว (ซึ่งมากกว่าของเดิมคือได้แค่ 50%)  
ผู้ค้ำประกัน ใครที่ช่วยค้ำประกันหนี้เช่าซื้อคนอื่นอยู่จะได้ประโยชน์บ้าง คือเบี้ยปรับผิดนัดที่จะต้องรับผิดจะต่ำลง คือมีการกำหนดไม่ให้เกิน 5% ต่อปี และผู้ค้ำประกันจะมีจะมีเวลาเตรียมตัวมากขึ้นเวลาลูกหนี้มีปัญหา คือจะได้รับการแจ้งนานขึ้น (เช่น 30 วันล่วงหน้าหลังผิดนัดเพื่อให้มีสิทธิช้อนซื้อเอง หรือหาคนซื้อต่อเพื่อปิดหนี้ หรือ 15 วันล่วงหน้าก่อนวันประมูลหรือขายทอดตลาด เป็นต้น)
 
กลุ่มที่อาจเสียประโยชน์ หรือไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
กลุ่มซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ที่ไม่มีเอกสาร (เช่น Slip เงินเดือน) หรือไม่มีรายได้การเงินที่ต่อเนื่อง ชัดเจน ลูกค้ากลุ่มนี้เหมือนจะได้ประโยชน์ในเรื่องดอกเบี้ย แต่ในความเป็นจริงอาจได้รับผลกระทบเยอะที่สุด เพราะกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อความสามารถในการผ่อนชำระสูงสุด ผู้ให้เช่าซื้อจะคิดดอกเบี้ยได้น้อยลง และอาจไม่คุ้ม จึงต้องเข้มงวดมากขึ้นด้วยการไม่อนุมัติสินเชื่อให้เลย หรือกำหนดให้ต้องจ่ายเงินดาวน์เยอะขึ้นกว่าแต่ก่อน
กลุ่มซื้อรถยนต์ใหม่ที่เครดิตไม่ค่อยดี (เช่น ต้องผ่อนมากกว่า 4 ปี หรือดาวน์น้อยกว่า 10%) ถ้ามองในแง่ดอกเบี้ย ลูกค้ากลุ่มนี้อาจได้ประโยชน์ แต่ถ้ามองภาพรวมอาจได้รับผลกระทบมากกว่า เพราะผู้ประกอบการจะเสี่ยงมากขึ้น และทดแทนด้วยการไม่ให้ดาวน์ต่ำ หรือไม่ให้ผ่อนยาวอีกต่อไป
กลุ่มซื้อรถยนต์ใหม่เครดิตดี หรือปานกลาง (เช่น ผ่อน 4 ปี หรือดาวน์มากกว่า หรือเท่ากับ 10%) กลุ่มนี้ไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะปัจจุบัน หากจะขอสินเชื่อเช่าซื้อรถใหม่ อัตราดอกเบี้ยไม่ได้สูงอยู่แล้วคือ Flat Rate อยู่ระหว่าง 2.5-7% ต่อปี 
กลุ่ม Big Bike  ไม่น่าจะได้ประโยชน์ หรือได้รับผลกระทบอะไรเพราะปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ย Big Bike ไม่สูงกว่าเพดานอยู่แล้ว (Flat Rate อยู่ที่ 4-7%ต่อปี)
 
ข้อแนะนำสุดท้ายสำหรับพวกเราทุกคนที่จะซื้อขอสินเชื่อเช่าซื้อคือ ในทางปฏิบัติ ผู้ให้สินเชื่อมักจะโฆษณา หรือพูดถึงแต่อัตราดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ (Flat Interest Rate) เพราะตัวเลขจะต่ำกว่าดอกเบี้ยอัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกเสมอ (Effective Interest Rate) และเราไม่สามารถนำตัวเลข Flat Rate มาเปรียบเทียบโดยตรงกับตัวเลข Effective Rate ได้ เพราะวิธีการคิดดอกเบี้ยแตกต่างกัน ดังนั้น เวลาคุยกับพนักงานขายต้องถามให้ชัดว่าอัตราดอกเบี้ยที่ให้คืออัตราแบบไหน และถ้าเค้าบอกเป็น Flat Rate และเราอยากรู้เป็น Effective Rate ให้เราเอา Flat Rate คูณด้วย 1.8 โดยประมาณครับ เราก็จะทราบว่าอัตราดอกเบี้ยจริงๆ ที่เราต้องจ่ายคือเท่าไหร่ ตัวอย่างนี้คืออัตราดอกเบี้ยของธนาคารหนึ่งในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งมีการพูดถึงทั้ง 2 Rate และถ้าลองเอา 1.8 คูณดู ก็จะได้ตัวเลขประมาณที่เห็นนี้ครับ
กู้ตอนไหนดี และขอสินเชื่อรถที่ไหนได้บ้าง 

โดยสรุปแล้ว 
  1. ถ้าใครจะซื้อรถยนต์ใหม่ และมีเครดิตดี หรือปานกลาง หรือใครจะซื้อรถยนต์มือสองที่ความเก่าของรถไม่มาก (เช่น ต่ำกว่า 10 ปี) หรือใครที่สนใจจะซื้อ Big Bike คน 3 กลุ่มนี้น่าจะทำเรื่องขอสินเชื่อเช่าซื้อปีนี้ได้เลย เพราะอัตราดอกเบี้ยที่จะได้สำหรับปี 2565 และปี 2566 ไม่น่าแตกต่างกัน 
  2. ถ้าใครจะซื้อรถยนต์ใหม่แต่มีเครดิตไม่ค่อยดี หรือใครจะซื้อรถยนต์มือสองที่เก่าเกิน 10 ปี หรือใครที่จะซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่แต่มีเครดิตไม่ค่อยดี คน 3 กลุ่มนี้ อาจต้องลุ้นเอาว่าจะเช่าซื้อปี 2565 นี้ในอัตราดอกเบี้ยที่ได้ปีนี้เลย หรืออาจลองลุ้นปีหน้าว่าดอกเบี้ยบางอันอาจโดนปรับลดลงให้ไม่เกินเพดาน แต่อีกมุมหนึ่ง คนกลุ่มนี้ถ้าจะรอลุ้นปี 2566 ก็มีความเสี่ยงสูงว่าผู้ประกอบการอาจปรับลดความเสี่ยงตัวเองลงจากการที่ได้ดอกเบี้ยน้อยลง ด้วยการกำหนดเงื่อนไขอื่นขึ้นมาแทน (เช่น ต้องดาวน์สูงขึ้น หรือระยะเวลาผ่อนสั้นลง) หรืออาจปฏิเสธไม่ให้สินเชื่อลูกหนี้กลุ่มนี้ไปเลยก็ได้ ซึ่งกลายเป็นทำให้คน 3 กลุ่มนี้ อาจเข้าถึงสินเชื่อได้ยากขึ้น 
  3. ถ้าใครจะซื้อรถจักรยานยนต์ และมีเครดิตดี หรือปานกลาง น่าจะรอปี 2566 เพราะอัตราดอกเบี้ยสำหรับคนกลุ่มนี้ อาจมีอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงได้ 
โดยในระหว่างนี้ หากใครอยาก หากใครอยากลองเช็กวงเงินดูว่าถ้าเราจะกู้ เราจะได้วงเงินแค่ไหน ลองเข้าไปประเมินเล่นๆ ที่ Link นี้ได้ครับ https://kautolink.com/KlDdqT
 
แต่ถ้าเรามีรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์อยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องใช้เงินสด เราสามารถเอารถ หรือจักรยานยนต์นี้ไปแลกเป็นเงินสดออกมาได้ครับ ใครสนใจแบบนี้ ลองเข้าไปดูตาม Link : http://bit.ly/3NuNUfA นี้ได้ว่าเราจะเลือกใช้บริการที่ไหนได้บ้างนะครับsmiley 
แท็กที่เกี่ยวข้อง เช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ บทความสินเชื่อ 2565 อัตราดอกเบี้ย Flat Rate อัตราดอกเบี้ย Effective Rate
Money Guru
เขียนโดย ชัช อนุวัตรอุดม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)