SSF vs RMF ลงทุนอะไรดี แบบไหนเหมาะกับเรา

icon 21 ต.ค. 65 icon 11,384
SSF vs RMF ลงทุนอะไรดี แบบไหนเหมาะกับเรา
สิ่งที่ผู้มีรายได้และมนุษย์เงินเดือนทุกคนต้องเจอ คือ การยื่นภาษี ดังนั้นสิ่งที่ตามมา คือ การลดหย่อนภาษีเพื่อลดการจ่ายภาษีในแต่ละปี หนึ่งในการลดหย่อนภาษียอดฮิตของมนุษย์เงินเดือน คือ การซื้อกองทุนรวม SSF RMF เพราะนอกจากจะลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังเป็นเงินออมในระยะยาวด้วย
 
บทความนี้จะมาเล่าให้ฟังว่า SSF และ RMF แตกต่างกันอย่างไร ควรเลือกลงทุนอะไรดีให้เหมาะสมกับเรา
 
ความแตกต่างของ SSF และ RMF
จากตารางด้านบนจะเห็นความแตกต่าง 3 ข้อ หลักๆ คือ
  1. เป้าหมายการลงทุน - คำจำกัดความของ SSF คือ กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว ส่วน RMF คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ดังนั้นเป้าหมายในการลงทุนแตกต่างกันอย่างชัดเจน เพราะ RMF จะมีระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานกว่ามาก และ RMF ยังไม่มีนโยบายการจ่ายปันผลอีกด้วย เป็นการส่งเสริมการออมระยะยาวที่ดีมากกว่า SSF
  2. ความยืดหยุ่น - SSF ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปี ทำให้มีความยืดหยุ่นในการซื้อมากกว่า RMF ที่เมื่อซื้อแล้วต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรือเว้นได้ไม่เกิน 1 ปีเท่านั้น
  3. ระยะเวลาการถือครอง - SSF กำหนดระยะเวลาการซื้อครองเพียง 10 ปี ต่างจาก RMF ที่เมื่อซื้อแล้ว จะขายได้ก็ต่อเมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์เลย
SSF vs RMF ลงทุนอะไรดี
 
เพื่อนๆ สามารถสำรวจว่าเราเหมาะกับ SSF หรือ RMF ได้จาก 5 คำถามด้านล่างนี้

คำถามที่ 1 คุณให้ความสำคัญเรื่องแผนเกษียณอายุมากแค่ไหน
 
หากเพื่อนๆ กำลังอยู่ในวัยทำงาน และให้ความสำคัญเรื่องแผนเกษียณอายุ จะสามารถลงทุนใน SSF หรือ RMF ก็ได้ เพราะเพื่อนๆ อาจมีพอร์ตเกษียณที่ลงทุนในกองทุนรวมปกติ ที่มีตัวเลือกมากกว่า SSF และ RMF อยู่แล้ว
 
หากเพื่อนๆ ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับแผนเกษียณอายุ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะกว่าจะเกษียณอายุยังมีเวลาอีกหลาย 10 ปี แต่หากเป็นกรณีนี้ การลงทุนใน RMF จะเหมาะสมกว่า เพราะเป็นการออมเงินเพื่อเกษียณโดยเฉพาะ เมื่อซื้อแล้วต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ช่วยให้เรามีเงินก้อนจำนวนหนึ่งเพื่อการเกษียณอายุ
 
แต่ RMF เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งเท่านั้น อาจไม่เพียงพอต่อเงินเพื่อการเกษียณทั้งหมด ดังนั้นหากเพื่อนๆ ทำงานในบริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund ก็ควรเลือกออมในสัดส่วนที่สูงด้วยเช่นกัน

คำถามที่ 2 คุณมีข้อจำกัดในการลงทุนหรือไม่
 
หากเพื่อนๆ มีรายได้ในแต่ละปีที่มั่นคง และมีภาระค่าใช้จ่ายคงที่ หรือไม่เปลี่ยนแปลงมากนักตลอดอายุการทำงาน สามารถลงได้ทั้ง SSF และ RMF เพราะมีข้อจำกัดในการลงทุนไม่มาก แต่ในทางกลับกันหากเพื่อนๆ มีรายได้และภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่คงที่ในแต่ละปี จะเหมาะสมกับ SSF มากกว่า เพราะไม่มีข้อจำกัดว่าต้องซื้อทุกปี ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นด้านการเงินได้มากกว่า

คำถามที่ 3 คุณมีวินัยในการลงทุนมากแค่ไหน
 
เนื่องจากข้อจำกัดของ RMF ที่เมื่อซื้อแล้วจะต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี จึงเป็นการลงทุนที่ต้องใช้วินัยมากกว่า SSF เพราะหากขาดวินัยไปในบางปี จะทำให้เสียสิทธิประโยชน์ด้านภาษีไป ดังนั้นหากเพื่อนๆ ยังไม่มั่นใจ การลงทุนใน SSF อาจเหมาะสมมากกว่า แล้วลงทุนเพิ่มในกองทุนรวมปกติแทน

คำถามที่ 4 คุณต้องการเงินปันผลหรือไม่
 
SSF มีนโยบายการจ่ายปันผล แต่ RMF ไม่มี ดังนั้นหากเพื่อนๆ ต้องการรับเงินปันผลระหว่างทางด้วย SSF จะเหมาะสมมากกว่า นอกจากจะได้เงินกลับคืนมาบ้างแล้ว ยังสามารถนำเงินนี้ไปต่อยอดการลงทุนได้อีก แต่ต้องแลกมากับภาษีเงินปันผลที่ต้องจ่าย

คำถามที่ 5 ตอนนี้คุณอายุเท่าไหร่
 
คำถามสุดท้าย เป็นอีกคำถามสำคัญมากเช่นกันในการเลือกว่าเราควรลงทุนใน SSF หรือ RMF
  • หากอยู่ในวัยทำงาน อายุไม่เกิน 45 ปี การลงทุนใน SSF จะมีความยืดหยุ่นมากกว่า เพราะรอเพียง 10 ปี ก็จะสามารถขายกองทุนออกมาได้แล้ว
  • หากอายุ 45 ปี สามารถลงทุนใน SSF หรือ RMF ก็ได้ เพราะระยะเวลาในการถือครองมี 10 ปีเท่ากัน
  • หากอายุ 50 ปีขึ้นไป การลงทุนใน RMF เหมาะสมมากกว่า เพราะถือครองเพียง 5 ปี ไม่ต้องรอ 10 ปีเหมือน SSF
จะเห็นได้ว่าทั้ง SSF และ RMF ต่างมีข้อดี และข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย และข้อจำกัดของเราด้วยเช่นกัน ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ ตัดสินใจได้ว่าควรลงทุนใน SSF หรือ RMF ดีกว่ากัน แต่ไม่ว่าจะลงทุนในสินทรัพย์ไหน ล้วนเป็นข้อดี เพราะเป็นการต่อยอดการลงทุนที่ช่วยให้เราไปถึงอิสรภาพทางการเงินได้ดีมากขึ้น แต่อย่าลืมที่จะศึกษานโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับcool
 
และหากเพื่อนๆ สนใจซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี สามารถเข้าไปดูโปรโมชันได้ที่นี่ "มัดรวมมาให้แล้ว....โปรโมชั่นกองทุนลดหย่อนภาษี SSF/ RMF ครบ จบที่นี่!"
แท็กที่เกี่ยวข้อง ลดหย่อนภาษี กองทุน rmf กองทุนลดหย่อนภาษี กองทุน SSF ลดหย่อนภาษีปี 2565 บทความกองทุน 2565
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)