อ่านตารางกรมธรรม์ประกันชีวิต เข้าใจง่ายๆ ใน 5 นาที

icon 23 พ.ค. 66 icon 63,528
อ่านตารางกรมธรรม์ประกันชีวิต เข้าใจง่ายๆ ใน 5 นาที

เวลาจะซื้อประกันสุขภาพหรือประกันชีวิต เคยสงสัยกันมั้ยว่าตารางกรมธรรม์มีความหมายอย่างไร อ่านอย่างไร ไม่เข้าใจคำศัพท์ที่ใช้ในกรมธรรม์ ซึ่งหากเราไม่รู้ความหมายเบื้องต้นเลย อาจจะทำให้เราเข้าใจเงื่อนไขของประกันผิดไป และทำให้เกิดความเข้าใจผิด หลายครั้งเรามักจะเจอเคสที่ว่า ทำประกันแล้วเคลมไม่ได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ผู้เอาประกันไม่เข้าใจเงื่อนไข หรือตัวแทนอาจจะอธิบายไม่ชัดเจน เช่น คำว่า "ความรับผิดส่วนแรก" ประกันสุขภาพมักชอบใช้แปลว่า ลูกค้าต้องจ่ายเงินค่ารักษาเองเป็นจำนวนเงินที่ระบุตกลงกันไว้ เงินส่วนที่เกินจากนี้ บริษัทประกันจะจ่ายให้ ... ซึ่งถ้าเราไม่ศึกษาให้ดี ว่าเงื่อนไขประกันเป็นอย่างไร สุดท้ายอาจจะมีปัญหาได้ตอนที่ต้องเคลมประกันค่ะ

วันนี้จะมาอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ กันก่อนค่ะ ว่าเล่มกรรมธรม์ประกันชีวิต มีส่วนไหนที่เราต้องให้ความสำคัญบ้าง

ส่วนที่ 1  ส่วนสรุปข้อมูล

ส่วนนี้สำคัญ เป็นตัวสรุปทุกอย่าง ว่าเราทำประกันอะไร จะเป็นส่วนที่อยู่ในหน้าแรก เมื่อเปิดเอกสารกรมธรรม์ขึ้นมา ส่วนบนจะมีรายละเอียด เช่น ชื่อ-นามสกุล อายุขณะที่ทำประกันของผู้ทำประกัน ผู้ที่ได้รับความคุ้มครอง เลขที่กรมธรรม์  แบบประกันภัยว่าทำแบบไหน วันที่ทำสัญญา และครบสัญญา ระยะเวลาเริ่มต้นความคุ้มครองและวันที่สิ้นสุด 

จุดที่น่าสังเกตอีกจุดคือ จะมีการระบุว่ากรมธรรม์เล่มนี้ สามารถแจ้งยกเลิกได้ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับกรมธรรม์ หรือวันที่เซ็นรับกรมธรรม์ ไม่ใช่นับจากวันที่กรมธรรม์ถูกพิมพ์ออกมา 

ส่วนล่าง เป็นตารางผลประโยชน์และเบี้ยประกันภัย  ระบุประเภทของการคุ้มครอง เช่น เป็นการคุ้มครองชีวิต มีสัญญาเพิ่มเติมเรื่องใดบ้าง จำนวนเงินเอาประกันภัยหรือผลประโยชน์ เบี้ยประกันภัย จำนวนปีที่ต้องชำระ

 

ส่วนที่ 2 ผลประโยชน์และความคุ้มครอง (แบบสรุปสาระสำคัญโดยย่อ)

จะมีการระบุผลประโยชน์ต่างๆ ให้เข้าใจอย่างง่าย เพื่อที่จะบอกว่า เราจะได้ความคุ้มครองที่เท่าไหร่ เช่น กรณีเสียชีวิต หรือกรณีมีชีวิต จะมีผลประโยชน์หรือเคลมอะไรได้บ้าง เงื่อนไขต่างๆ ที่บริษัทจะไม่รับคุ้มครอง เช่น กรณีไม่เปิดเผยความจริง หรือฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี เป็นต้น

 

ส่วนที่ 3 ตารางมูลค่ากรมธรรม์ประกันภัย

มือใหม่หลายๆคนอาจจะสงสัยที่หน้านี้แหละ เพราะมีตัวเลขตาราง และต้องมีการคำนวน บางคนก็ไม่เข้าใจคำศัพท์ ว่าแปลว่าอะไร หมายถึงอะไร คำนวนอย่างไร 

ข้อสังเกตแรกตรงหัวตาราง คือ การคำนวนจะเป็นตัวเลขต่อทุนประกัน 1,000 บาท

ถ้ากรมธรรม์มีทุนประกัน 100,000 บาท ซึ่งคิดเป็น 100 เท่าของ 1,000

แปลว่าตัวเลขแต่ละตัวในตารางให้คูณด้วย 100 นะคะ

เรามารู้จักคำศัพท์และการคำนวนที่ใช้กันในตารางดีกว่าค่ะ

การเวนคืนกรมธรรม์ คือ การที่ผู้เอาประกันภัยขอยกเลิกกรมธรรม์ โดยผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินตามมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ที่กำหนดอยู่ในตารางมูลค่ากรมธรรม์ โดยทั่วไปจะเริ่มมีมูลค่าเกิดขึ้นตั้งแต่สิ้นปีที่ 2 เป็นต้นไป หากขอเวนคืนแล้ว แปลว่า จะสิ้นสุดความคุ้มครองทุกอย่างทันที 

ยกตัวอย่าง

หากทำทุนประกันชีวิตไว้ 1,000,000 บาท และต้องการเวนคืนกรมธรรม์ ณ สิ้นปีที่ 4 ซึ่งมีมูลค่าเวนคืนเงินสด 152 บาทต่อจำนวนเงินเอาประกันภัยทุก ๆ 1,000 บาท ดังนั้น มูลค่าเวนคืนเงินสดที่จะได้รับ คือ 

1,000,000 / 1,000 = 1,000 เท่า

152 * 1,000 = 152,000 บาท 

 สาเหตุที่คนส่วนใหญ่เวนคืน อาจเป็นเพราะ 

  1. ไม่สามารถชำระเบี้ยประกันต่อได้

  2. อยากได้เงินสดออกมาใช้ 

  3. มูลค่าของประกัน อาจจะถึงจุดที่คุ้มทุนกับเบี้ยที่จ่ายไปแล้ว

ถ้าเราไม่สามารถชำระเบี้ยประกันภัยต่อได้ แต่ยังต้องการได้รับความคุ้มครอง เราสามารถเลือกทำได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. เปลี่ยนเป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ จะเป็นสถานะที่กรมธรรมยังมีความคุ้มครองชีวิตต่อไปจนครบกําหนดสัญญา แต่จํานวนเงินเอา ประกันภัยจะลดลง โดยที่ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องชำระเบี้ยประกันภัยอีกต่อไป ซึ่งจะให้ความคุ้มครองเฉพาะ สัญญาหลักเท่านั้น ส่วนสัญญาเพิ่มเติมอื่นๆ ที่มีอยู่จะสิ้นผลบังคับทันที โดยบริษัทจะนำมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ทั้งหมดที่มีอยู่ไปคำนวณเป็นเบี้ยประกันภัยชำระครั้งเดียว  

  • ไม่ต้องส่งเบี้ยประกัน

  • แต่ลดความคุ้มครองลงตามตาราง

  • ระยะสัญญายังคุ้มครองเท่าเดิม

  • เมื่อครบสัญญา รับเงินคืนตามมูลค่าใช้เงินสำเร็จ (ในปีที่ทำ)

เช่น สมมติว่า ตัดสินใจไม่จ่ายเบี้ยต่อ ทำกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จในสิ้นปีที่ 5 
ความคุ้มครอง 1,000,000 จะเหลือ 518,000 บาท ทันที
และประกันยังทำหน้าที่คุ้มครองต่อไป 
หากเสียชีวิตก่อน จะได้รับเงิน 518,000 บาท 
หากอยู่จนครบสัญญา ก็จะได้รับเงิน 518,000 บาทเช่นกัน

  1. กรณีแปลงเป็นประกันภัยขยายเวลา จะมีทุนประกัน 1,000,000 บาทเท่าเดิม แต่จะมีระยะเวลาคุ้มครองอีกกี่ปีกี่วัน ตามตาราง ไม่มีเงินสดคืนทันทีและไม่มีการรับเงินสดคืน ณ วันที่กรมธรรม์สิ้นสุด ยกเว้นแบบประกันสะสมทรัพย์ที่ยังพอมีเงินครบกำหนดคืนมาให้ค่ะ

เช่น สมมติว่า ตัดสินใจไม่จ่ายเบี้ยต่อ ทำกรมธรรม์แบบขยายเวลาในสิ้นปีที่ 5 
ความคุ้มครอง 1,000,000  จะคุ้มครองไปอีก 25 ปี 
หากเสียชีวิตก่อน จะได้รับเงิน 1,000,000 บาท 
หากอยู่จนครบสัญญา จะได้รับเงินคืน 411,000 บาท

  • ไม่ต้องส่งเบี้ยประกัน

  • ไม่ลดความคุ้มครอง

  • ระยะสัญญายังคุ้มครองจะขยายต่อไปตามราตาง

  • เมื่อครบสัญญา รับเงินคืนตามเงินครบกำหนด (ในปีที่ทำ) 

ตารางฉบับเต็ม 

3 ส่วนหลักนี้จะเป็นส่วนสำคัญ ที่จะช่วยไกด์ในการอ่านกรมธรรม์ และเงื่อนไขต่างๆ ให้กับมือใหม่หัดซื้อประกัน หรือคนที่สนใจกำลังจะซื้อประกันได้อ่าน และทำความเข้าใจได้แบบง่ายๆ เพื่อเป็นพื้นฐานให้กับผู้ทำประกันทุกคนค่ะ ในเล่มกรมธรรม์จะมีส่วนรายละเอียดเงื่อนไขอื่นๆอีก มากมาย ซึ่งผู้ทำประกันควรศึกษา และอ่านเข้าใจ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวเอง หรือถ้าสงสัยจุดใดให้ถามบริษัทหรือตัวแทนประกันที่นำเสนอแบบให้เราได้ เพื่อให้ไม่เกิดการเข้าใจผิดพลาดนะคะ 

แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ กรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันชีวิต ตารางกรมธรรม์ประกันชีวิต
Money Guru
เขียนโดย คุณป้อ (ประกันเข้าใจง่าย) Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)