อายุเท่าไหร่ถึงเริ่มจะวางแผนเกษียณดี โดยทั่วไปแนะนำเริ่มตอนอายุ 35 ปี เพราะเป็นวัยที่เริ่มมีเป้าหมายที่ชัดเจน หาเงินได้ เริ่มมั่นคง เป็นวัยที่รับความเสี่ยงได้พอสมควร เป็นช่วงที่ดีในการนำเงินมาลงทุนเพิ่มเติม เพื่อต่อยอดไว้เป็นเงินเกษียณได้ในอนาคต ซึ่งมีหลากหลายช่องทางมากๆ ในการวางแผนการเงินของเรา ให้ไปสู่เป้าหมายคือการเกษียณ เช่น ฝากเงินไปเรื่อยๆ การลงทุนในกองทุนรวม หรือสะสมหุ้นสามัญ เป็นต้น สำหรับคนที่ชอบนำเงินไปลงทุนในกองทุนอยู่แล้ว อาจจะลองมองอีกช่องทางหนึ่งได้ ก็คือ การทำประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพค่ะ วันนี้พาไปรู้จักประกันชีวิตแบบควบการลงทุน หรือ Unit linked นั่นเอง
มารู้จัก ประกันควบการลงทุน (Unit-Linked)
Unit Linked มาจากคำว่า Unit Linked Insurance Policy (ULIP) หรือกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน คือ การประกันชีวิตที่ให้ทั้งความคุ้มครองชีวิตและการลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งไม่มีการรับประกันมูลค่าผลตอบแทนการลงทุน พูดง่ายๆ คือการทำประกันชีวิตระยะยาว ที่มีเงินบางส่วนของเราไปลงทุนในกองทุนด้วย เราสามารถ "เลือก" หรือ "สับเปลี่ยน" การลงทุนด้วยตัวเอง ผ่าน "กองทุนรวม" ที่บริษัทคัดสรรมาแล้ว ซึ่งจะมีทั้งกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ กลาง ไปจนถึงความเสี่ยงสูง เพื่อให้เราสามารถบริหารจัดการการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่ต้องการ ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อให้เรามีโอกาสได้รับผลตอบแทนในระยะยาวที่สูงขึ้น ดังนั้นนอกจากความคุ้มครองชีวิตที่สูงกว่าแบบประกันชีวิตทั่วๆ ไปแล้ว เรายังมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมอีกด้วย ทั้งนี้ ไม่มีการการันตีผลตอบแทนกว่าจะได้เท่าไหร่ แต่จากสถิติของการลงทุนระยะยาว ส่วนใหญ่จะมีผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากธนาคาร ดังนั้น เราสามารถมองประกันควบการลงทุนไว้เป็นกองทุนตอนเกษียณได้เช่นกัน แต่ต้องคำนึงเรื่องความเสี่ยงด้วยนะคะ
ยกตัวอย่าง
ผู้ชาย อายุ 35 ปี รับความเสี่ยงในการลงทุนได้สูง ถึงสูงมาก
ต้องการสะสมเงินปีละ 100,000 บาท ใน Unit Linked จนเกษียณอายุ 60 ปี
มูลค่าเงินที่สะสมไว้ทั้งหมด 26 ปี รวมเป็นเงิน 2,600,000 บาท
มาลองดูตารางประมาณการของมูลค่ารับซื้อหน่วยลงทุน (โดย คาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี)
อายุ | เบี้ยประกันชีวิตหลัก | เบี้ยประกันภัยสะสม | มูลค่าหน่วยลงทุนสุทธิ (NAV) | ความคุ้มครองชีวิต | ลดหย่อนภาษี |
35 | 100,000 | 100,000 | 29,424 | 5,000,000 + NAV | 72,246 |
40 | 100,000 | 600,000 | 425,855 | 5,000,000 + NAV | 23,567 |
50 | 100,000 | 1,600,000 | 1,638,700 | 5,000,000 + NAV | 41,871 |
60 | 100,000 | 2,600,000 | 3,263,249 | 5,000,000 + NAV | 90,000 |
65 | 3,602,400 | 5,000,000 + NAV |
จะเห็นได้ว่า เมื่อเราสะสมเงินต่อเนื่องจนเกษียณ มูลค่าที่คาดหวังจากที่มีเงินบางส่วนไปลงทุนในกองทุน จะมีโอกาสเติบโตขึ้นเรื่อยๆ หากกองทุนนั้นมีมูลค่า NAV สูงขึ้นในทุกปี จากจำนวนเบี้ยประกันที่เราจ่ายไป 2.6 ล้าน จะกลายเป็นผลตอบแทนที่จำนวน 3.2 ล้านในเวลา 26 ปีพร้อมกับความคุ้มครองประกันชีวิตตลอด 26 ปีมานี้ แต่ทั้งนี้ ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกันหากมูลค่า NAV ลดลง หรือมีมูลค่าไม่ถึงประมาณการ เนื่องจากการลงทุนในกองทุนนั้นมีความเสี่ยง มีโอกาสติดลบ หรือเป็นบวกได้ ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจ เทรนด์ในขณะนั้น
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ การทำประกันชีวิตควบการลงทุน นอกจากจะได้ผลตอบแทนจากมูลค่ารับซื้อหน่วยลงทุนแล้ว ยังมีความคุ้มครองชีวิตให้ด้วย แตกต่างจากการลงทุนในกองทุนปกติ ที่จะมีแค่มูลค่ารับซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น ไม่มีความคุ้มครองชีวิต นอกจากนี้ Unit linked ยังสามารถนำเบี้ยบางส่วน (ที่เกี่ยวกับการประกันชีวิต) ไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย
ทำไมถึงเลือกใช้ Unit Linked ในการวางแผนเกษียณ
ข้อดี
ข้อเสีย
เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้
ประเภทคุกกี้ อ่านเพิ่มเติม ที่นี่ |
ยินยอม / ไม่ยินยอม |
---|---|
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ (Strictly Necessary) |
|
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์ (Functionality) |
|
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์ (Performance & Analytics) |
|
คุกกี้เพื่อการตลาด (Marketing) |