อายุ 18 เด็กไปมั้ยที่จะทำประกัน?

icon 23 พ.ค. 66 icon 6,444
อายุ 18 เด็กไปมั้ยที่จะทำประกัน?
การมี mindset เริ่มวางแผนการเงินตั้งแต่อายุน้อยๆ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากค่ะ จากที่เริ่มเก็บเงินด้วยการหยอดกระปุกหมู เป็นการสร้างวินัยการออมเงินตั้งแต่เด็ก พอเข้าสู่วัยเรียน ส่วนใหญ่จะยังไม่มีรายได้ เงินที่ได้มาก็มาจากคุณพ่อคุณแม่ที่ให้เป็นค่าขนม และอาจจะมีการเก็บหอมรอบริบส่วนที่เหลือฝากไว้ในธนาคาร สำหรับเด็กโตที่เริ่มเข้าสู่รั้วมหาลัย บางคนจะมีการหารายได้พิเศษ เพื่อมีเงินไว้ใช้จ่ายในการศึกษา หรือเป็นค่ากินค่าใช้ ค่าหอพัก และอาจจะมีเหลือเก็บบางส่วน ซึ่งจริงๆแล้วยังมีวิธีการเก็บเงินให้เป็นระบบอื่นๆ นอกจากการฝากธนาคารอีก เช่น การทำประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ เป็นต้น 
 

วันนี้ขอแนะนำประกัน 2 แบบ ที่เหมาะกับช่วงอายุวัย 18-20 กันค่ะ

 

1. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

ประกันชีวิตที่มีลักษณะคล้ายการเก็บเงิน โดยใช้รูปแบบการจ่ายเบี้ยประกันเข้ามาสะสมไว้เรื่อยๆ และจะได้รับเงินคืนตามเงื่อนไข เราจะรู้ชัดเจนว่า จะต้องจ่ายเท่าไหร่ จำนวนกี่ปี คุ้มครองเท่าไหร่ นานแค่ไหน และได้เงินคืนเท่าไหร่ในปีใดบ้าง ในอายุยังน้อยๆ เราสามารถวางแผนการเงิน ได้ในระยะยาวมากขึ้น เช่น น้องบีอายุ 18 วางแผนอยากมีเงินแสน น้องบีสามารถเลือกทำประกันสะสมทรัพย์ในระยะ 10 ปีขึ้นไป และสะสมเงิน โดยจ่ายเป็นรายเดือน หรือรายปี ก็ได้ตามสะดวก  ลองคำนวนให้เห็นภาพ ดังนี้
 

ผู้หญิง อายุ 18 ปี 

อยากเก็บเงินเดือนละ 1,500 บาทไปเรื่อยๆ เลยทำแบบประกันสะสมทรัพย์ 20/20 

จ่ายเบี้ย 20 ปี คุ้มครอง 20 ปี มีการกำหนดการได้เงินคืนทุกปี หรือแล้วแต่บริษัทกำหนด

โดยจ่ายเบี้ย เดือนละ 1,500 บาท หรือปีละ 18,000 บาท

จะได้รับความคุ้มครองชีวิตประมาณ 117,000 บาท  หากเสียชีวิตภายในระยะเวลาของสัญญา แม้ไม่ได้ชำระเบี้ยประกันภัยครบตามจำนวนงวดที่กำหนดไว้ บริษัทประกันฯ จะจ่ายเงินตามจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ ซึ่งเราระบุเป็นใครก็ได้ที่อยู่ในครอบครัว

เมื่อครบสัญญาปีที่ 20 ตอนนั้นอายุ 37 ปี จะได้เงินก้อนใหญ่ออกมา ซึ่งรวมแล้ว ผลประโยชน์เงินคืนที่ได้มาทั้งหมด คือ จำนวนเงิน 400,000 บาทเลยทีเดียว สามารถนำเอาไปใช้ต่อยอดการลงทุน ทำธุรกิจ หรืออื่นๆ ได้เป็นต้น

เพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ทางภาษี ในกรณีที่เราโตขึ้น มีรายได้เข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีแล้ว ตัวประกันชีวิตยังสามารถช่วยแบ่งเบาภาระภาษีได้ โดยในทุกๆ ปีที่มีการจ่ายเบี้ยเข้ามา เราสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทค่ะ 

ข้อจำกัดของการทำประกัน ก่อนบรรลุนิติภาวะ

  • สำหรับน้องๆ อายุยังไม่ถึง 20 ปี หรือยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องมีผู้ปกครองเซ็นรับทราบและเป็นเจ้าของกรมธรรม์นี้ หมายความว่า น้องๆ อาจจะเป็นคนสนใจทำประกันเอง คุยกับตัวแทนเอง แต่สุดท้ายแล้ว ผู้ปกครองจำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรมธรรม์ และมีชื่อเป็นผู้ชำระเบี้ยประกัน

  • เมื่ออายุ 20 ปีแล้ว อยากดูแลกรมธรรม์เอง สามารถทำเรื่องเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรมธรรม์และลายเซ็น หลังจากนั้นจะสามารถจัดการกรมธรรม์นี้ได้เอง เช่น จ่ายเงิน เวนคืน เคลมประกัน เป็นต้น

ข้อสังเกตอื่นๆ 

  • ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์มีลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว ที่ผู้ทำจะต้องจ่ายเงินต่อเนื่องเป็นรายงวด หรือรายปี ซึ่งไม่ควรขาดส่งเบี้ย เพราะจะทำให้เสียประโยชน์ที่ได้ทำมาทั้งหมด หากคิดว่าตัวเองยังไม่พร้อม แนะนำว่ายังไม่ต้องทำ หรืออาจจะทำในจำนวนเงินน้อยๆ ขั้นต่ำของสัญญาประกันที่กำหนดไว้ค่ะ

 

2. ประกันอุบัติเหตุ

ในวัยรุ่นเริ่มเข้ารั้วมหาลัย จะเป็นช่วงที่ได้ทำกิจกรรมต่างๆ มากมาย และเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุได้ ดังนั้นประกันอุบัติเหตุจึงค่อนข้างสำคัญ และแนะนำให้ทำไว้นะคะ เพราะเบี้ยไม่ได้แพงมาก เฉลี่ยหลัก 1,000 บาทต่อปีเท่านั้นเอง

ประกันอุบัติเหตุ หรือที่เรียกว่าประกัน PA คือ ประกันที่ให้ความคุ้มครองในกรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ  บาดเจ็บจากร่างกาย หรือความเสียหายจากการประสบอุบัติเหตุเท่านั้น โดยจะได้รับความคุ้มครองเป็นเงินชดเชย ค่ารักษาพยาบาล หรือในบางแผนอาจจะมีค่าชดเชยรายวันในกรณีที่ต้องนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลอีกด้วย นอกจากอุบัติเหตุทั่วไปแล้ว ในบางแผนก็จะมีการขยายความคุ้มครองเพิ่มเติม อย่างเช่น อุบัติเหตุจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ ค่าใช้จ่ายทันตกรรมที่เกิดจากอุบัติเหตุ การถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้าย ร่างกาย หรือเงินช่วยเหลือพิเศษ


จากทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นว่า แม้เราอายุยังน้อยอยู่ แต่หากมีแนวคิดในการเริ่มต้นออมเงิน และสามารถจัดการเงินที่ตัวเองมีได้ดีพอสมควร การทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ค่อนข้างตอบโจทย์ แต่หากยังไม่พร้อม หรือยังไม่มีรายได้ที่ชัดเจนแน่นอน น้องๆอาจจะเริ่มต้นจากการทำประกันอุบัติเหตุไว้ก่อนได้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการบาดเจ็บ และที่สำคัญเบี้ยไม่แพงค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกัน ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ทำประกัน ประกันสำหรับคนอายุน้อย วัยรุ่น วัยเรียน
Money Guru
เขียนโดย คุณป้อ (ประกันเข้าใจง่าย) Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)