อุ่นใจวัยเกษียณกับ "เงินบำเหน็จ-บำนาญชราภาพ" เงินสมทบที่ได้จากกองทุนประกันสังคม

icon 12 ก.ค. 66 icon 5,416
อุ่นใจวัยเกษียณกับ "เงินบำเหน็จ-บำนาญชราภาพ" เงินสมทบที่ได้จากกองทุนประกันสังคม
มนุษย์เงินเดือนที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือนๆ นอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ในกรณีรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีว่างงาน และสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพิ่มเติมแล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณ ก็ยังได้อุ่นใจกับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ ก็คือ เงินบำเหน็จ หรือเงินบำนาญชราภาพ 
 
ซึ่งนอกจากการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณสำหรับตนเองในรูปแบบอื่นแล้ว เงินที่จะได้รับจากกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ก็ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เราจะได้นำมาจับจ่ายใช้สอย ยามที่เราไม่มีเงินได้จากเงินเดือนแล้ว แต่จะมีวิธีการคำนวณเงินเกษียณอย่างไร รวมถึงมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขอะไรบ้าง มาไขข้อข้องใจไปพร้อมกันเลย… 
 
เงินสมทบกรณีชราภาพ กับกองทุนประกันสังคม 
 
กองทุนประกันสังคม คือ กองทุนที่ผู้ประกันตนที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ที่มีรายได้ มีหน้าที่ที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ามาทุกเดือน เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตในเรื่องต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าคลอดบุตร ค่าเลี้ยงดูบุตร เงินชดเชยกรณีว่างงาน เงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญ เป็นต้น 
 
ปกติผู้ประกันตนจะจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมอยู่ที่ 5% ของเงินเดือนทุกเดือน ซึ่งเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เช่น ถึงแม้ว่าเราจะมีรายได้ 20,000 บาทต่อเดือน แต่เงินที่หักเพื่อจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมจะคิดสูงสุดที่ 5% ของฐานเงินเดือน 15,000 บาท ดังนั้นผู้ประกันตนจะจ่ายเงิยสมทบเพียง (15,000 x 5%) = 750 บาท
 
และในส่วนของ "เงินชราภาพ" จะมาจากเงินสมทบที่จ่ายให้กองทุนประกันสังคม 3% ของฐานเงินเดือน (ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินกรณีชราภาพ คือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 เท่านั้น) 
  • "เงินบำเหน็จชราภาพ" เป็นเงินที่จ่ายเป็นก้อนเพียงครั้งเดียว 
  • "เงินบำนาญชราภาพ" เป็นเงินที่จ่ายให้เป็นรายเดือนตลอดชีวิต 
โดยเงินบำเหน็จ และเงินบำนาญชราภาพ จะมีเงื่อนไขการเบิกจ่าย และเงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมที่แตกต่างกันตามระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ ดังนี้
เงินบำเหน็จชราภาพ : สำหรับผู้ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมจะเกิดสิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
  • จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย
 สิทธิประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับสำหรับกรณีบำเหน็จชราภาพ 
  • จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ เท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 
  • จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ มีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตน และนายจ้างจ่ายเงินสมทบ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด​​​​
 
เงินบำนาญชราภาพ : ผู้ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมจะเกิดสิทธิกรณีบำนาญชราภาพ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้ 
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
  • อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
สิทธิประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับกรณีบำนาญชราภาพ
  • กรณีจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน (หรือไม่น้อยกว่า 15 ปี) มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนใน อัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • กรณีจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน  มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนใน อัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และในส่วนของระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน ให้บวกเพิ่มอัตราการจ่ายบำนาณอีกร้อยละ 1.5 ต่อปี ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน 
  • กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับตั้งแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับครั้งสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย
ตัวอย่างการคำนวณประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ
 
ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์  และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละเท่าใด และหากเสียชีวิตภายใน 5 ปี จะได้รับเงินหรือไม่อย่างไร    
 
1. ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญเดือนละเท่าใด?              
 
ตอบ อัตราเงินบำนาญ 15 ปีแรก รับอัตราเงินบำนาญ 20% ส่วนที่เกินจะมีอัตราเงินบำนาญปรับเพิ่มอีกปีละ 1.5% 
  • 15 ปีแรก รับอัตราบำนาญ 20%                
  • 5 ปีหลัง รับอัตราเงินบำนาญปรับเพิ่ม ปีละ 1.5% (1.5% × 5 = 7.5%) 
  • รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี (= 20% + 7.5% = 27.5%)
  • ดังนั้น ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน (27.5% x 15,000 = 4,125 บาท/เดือนจนตลอดชีวิต)   
2. กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี จะได้รับเงินหรือไม่ อย่างไร?
 
ตอบ ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน (4,125 × 10 = 41,250 บาท) 
 
ปิดท้ายกันด้วยตารางเช็กยอดเงินสมทบเงินบำนาญ ด้วยตัวอย่างการคำนวณจากเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุดที่ 15,000 บาท ดังนี้ค่ะ 

การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม นอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์มากมายระหว่างการทำงานแล้ว ยังถือเป็นรูปแบบการออมเพื่อการเกษียณอายุในภาคบังคับ สำหรับมนุษย์เงินเดือน ที่จะช่วยให้มีหลักประกันในเรื่องของความมั่นคง ว่าเมื่อเราเกษียณอายุการทำงานแล้ว ก็จะยังมีรายได้หลังเกษียณ แต่...หากเราต้องการเกษียณอย่างมั่งคั่ง การรอเงินเกษียณอายุจากกองทุนประกันสังคมเพียงอย่างเดียวก็อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์มากนัก ดังนั้น หากคิดจะเกษียณอย่างมั่งคั่งด้วย ก็ควรเริ่มต้นวางแผนเกษียณแต่เนิ่นๆ เช่น การซื้อกองทุนต่างๆ ประกันแบบบำนาญ ฯลฯ แต่ทั้งนี้ ก็ควรศึกษา และทำความเข้าใจในรูปแบบการลงทุนต่างๆ ให้ดีก่อนตัดสินใจด้วยนะคะ smiley
 
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.sso.go.th
แท็กที่เกี่ยวข้อง กองทุนประกันสังคม บทความการเงิน เงินบำเหน็จชราภาพ เงินบำนาญชราภาพ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม เงินสมทบกรณีชราภาพ บทความเพื่อวัยเกษียณ
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)