เรื่องต้องรู้ก่อนกู้เงิน - 5 หลักประกันสุดฮิต ที่คนมักนำมาใช้ค้ำประกันสินเชื่อ และการเตรียมตัวก่อนเป็นผู้ค้ำประกัน

icon 25 ส.ค. 65 icon 93,378
เรื่องต้องรู้ก่อนกู้เงิน - 5 หลักประกันสุดฮิต ที่คนมักนำมาใช้ค้ำประกันสินเชื่อ และการเตรียมตัวก่อนเป็นผู้ค้ำประกัน
ด้วยยุคที่เศรษฐกิจไม่คอยดี หยิบจับทำอะไรก็ต้องระมัดระวังเรื่องเงินทอง จะลงทุนอะไรก็ต้องอาศัยเงินก้อน หรือหากต้องการเงินก้อนใหญ่ขึ้นมาสักนิด ก็อาจจะต้องหาสินเชื่อที่มีหลักประกัน เพราะนอกจากจะได้รับอนุมัติง่ายกว่า วงเงินสูงกว่า และยังได้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันอีกด้วย ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจขอสินเชื่อเพื่อเงินก้อนใหญ่ขึ้น เราควรทำความเข้าใจเรื่องของการค้ำประกัน และหลักประกันให้ดีก่อนตัดสินใจนะคะ 
 
สินเชื่อตามประเภทหลักประกัน
 
ถ้าพูดถึงเรื่องการแบ่งประเภทสินเชื่อตามหลักประกัน จะสามารถแบ่งสินเชื่อออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน และสินเชื่อที่มีหลักประกัน ซึ่งทั้ง 2 ประเภทก็มีความแตกต่างกัน ดังนี้ค่ะ 
 
สินเชื่อไม่มีหลักประกัน คือ สินเชื่ออเนกประสงค์ทั่วไป เช่น สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด บัตรเครดิต เป็นต้น สินเชื่อเหล่านี้ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อโดยพิจารณาจากหลักฐานรายได้ ความมั่นคงในหน้าที่การงาน ความสามารถในการชำระหนี้ และประวัติในการชำระหนี้ที่ผ่านมาของผู้ขอสินเชื่อ 

ซึ่งวงเงินที่เราได้รับอนุมัติ จะอยู่ที่ประมาณหลักหมื่นบาทถึง ล้านบาท และเพราะสินเชื่อเหล่านี้เป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน จึงถือว่าเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับผู้ให้บริการสินเชื่อ ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยก็จะสูง อยู่ที่ประมาณ 20 - 25% ต่อปี แล้วแต่ข้อกำหนดของธนาคารนั้นๆ ค่ะ

สินเชื่อที่มีหลักประกัน เป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าเนื่องจากผู้ขอสินเชื่อต้องมีหลักประกันให้แก่สถาบันการเงิน หรือบริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อ ซึ่งการค้ำประกัน และหลักประกันจะเป็นปัจจัยที่ธนาคาร หรือผู้ให้บริการสินเชื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อด้วย 
 
  • กรณีใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน หากผู้ขอสินเชื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้ สถาบันการเงิน หรือผู้ให้บริการสินเชื่อจะสามารถได้รับเงินคืนจากการยึดหลักประกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ หรือให้ผู้ที่ค้ำประกันชำระหนี้แทน ส่วนหลักทรัพย์ที่นิยมใช้เป็นหลักประกัน เช่น เงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงิน หุ้นกู้ และอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ 
     
  • กรณีเป็นสินเชื่อที่มีบุคคลค้ำประกัน สถาบันการเงิน หรือผู้ให้บริการสินเชื่อ ก็จะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันประกอบการอนุมัติสินเชื่อด้วย 
 
5 หลักประกันสุดฮิต ที่คนมักนำมาใช้ค้ำประกันการขอสินเชื่อ 
 
ในการขอสินเชื่อแบบใช้หลักประกัน หลักประกันนั้นต้องเป็นทรัพย์สินที่ปลอดภาระ หรือไม่มีภาระผูกพันใดๆ (ไม่เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่ออื่นใดอยู่ก่อน) และผู้ขอสินเชื่อต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จะใช้เป็นหลักประกันนั้นๆ โดยเราขอจำแนก 5 หลักประกันสุดฮิตที่คนมักนำมาใช้ในการค้ำประกันการขอสินเชื่อ ดังนี้
 

1. ที่อยู่อาศัย ผู้ขอสินเชื่อต้องมีที่อยู่อาศัยที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ไม่ติดภาระจำนองใดๆ เช่น บ้านพร้อมที่ดิน ทาวเฮ้าส์ ตึกแถว หรือคอนโดมิเนียม เป็นต้น ซึ่งการใช้ทรัพย์สินเหล่านี้มาเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ ผู้ขอสินเชื่อยังสามารถพักอาศัยได้ตามปกติ แต่ต้องจดจำนองที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลักประกัน และกำหนดระยะเวลาการผ่อนนาน (สูงสุด 30 ปี) และวัตถุประสงค์ของการขอสินเชื่อโดยใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ก็เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในทางอื่น 

2. รถยนต์ ผู้ขอสินเชื่อต้องมีรถยนต์ส่วนบุคคลเป็นชื่อของตนเอง และผ่อนชำระหนี้ที่กู้มาเพื่อซื้อรถยนต์หมดเรียบร้อยแล้ว  ทั้งนี้อายุสูงสุดของรถยนต์ที่รับเป็นหลักประกันอยู่ที่ 15-17 ปี โดยรวมระยะเวลาผ่อนแล้วอายุรถไม่เกิน 20 ปี  ส่วนรูปแบบการคิดดอกเบี้ยผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนใหญ่คิดดอกเบี้ยแบบ Flat Rate ค่ะ

การนำรถยนต์มาเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ ผู้กู้ยังสามารถครอบครอง และนำรถไปใช้ได้ตามปกติ เพียงแค่นำเล่มทะเบียนมาขอสินเชื่อที่สถาบันการเงิน หรือผู้ให้บริการสินเชื่อ ก็รับเงินก้อนออกไปใช้ได้ ปกติมักเรียกสินเชื่อรูปแบบนี้ว่า "สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ" และยังสามารถแบ่งเป็นรูปแบบของการโอนเล่มทะเบียน และไม่โอนเล่มทะเบียนซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังนี้ 
 
  • สินเชื่อจำนำทะเบียนรถแบบโอนเล่มทะเบียน ผู้ขอสินเชื่อซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ ต้องโอนทางทะเบียนให้แก่ผู้ให้สินเชื่อเพื่อเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ ซึ่งวงเงินสินเชื่อที่ได้รับจะอยู่ที่ประมาณ 80% –120% ของราคาประเมิน และมีระยะเวลาผ่อนชำระประมาณ 72–84 งวด (วงเงินและระยะเวลาการผ่อน มากกว่าแบบไม่โอนเล่ม)
     
  • สินเชื่อจำนำทะเบียนรถแบบไม่โอนเล่มทะเบียน (โอนลอย) ผู้ขอสินเชื่อซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ ไม่ต้องโอนทางทะเบียนให้แก่ผู้ให้สินเชื่อ แต่จะต้องลงนามล่วงหน้าไว้ในเอกสารการโอน และมีผู้ค้ำประกัน ซึ่งสินเชื่อรูปแบบนี้จะเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีประวัติการชำระหนี้ดี และกำหนดวงเงิน (70%–80% ของราคาประเมิน) และระยะเวลาการผ่อน (ประมาณ 60 งวด) น้อยกว่าแบบโอนเล่ม เพื่อลดความเสี่ยงจากการที่ไม่มีการโอนทะเบียน​​
3. บัญชีเงินฝาก เหมาะกับผู้ที่มีบัญชีเงินฝากที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินในบัญชีนั้นเพื่อการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะเงินในบัญชีที่ใช้เป็นหลักประกันจะไม่สามารถถอนออกมาใช้ได้ (ยกเว้นในส่วนของดอกเบี้ยที่สามารถถอนได้)

และสำหรับสินเชื่อที่ใช้บัญชีเงินฝากค้ำประกัน จะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการใช้หลักประกันประเภทอื่น โดยทั่วไปจะเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่นำมาเป็นหลักประกันบวกด้วย 1% - 3% ส่วนวงเงิน และระยะเวลาการผ่อนจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของสินเชื่อ และเงื่อนไขที่สถาบันการเงินกำหนด

4. บำเหน็จตกทอด สำหรับข้าราชการบำนาญ ลูกจ้างประจำผู้รับบำนาญ ซึ่งต้องเป็นผู้ที่เกษียณอายุงานแล้ว และไม่มีเงินเดือนประจำ สามารถขอสินเชื่อได้โดยใช้หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดที่ออกโดยกรมบัญชีกลางมาเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อ ภายใต้เงื่อนไขคุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ คือมีอายุเกิน 60 ปีได้ และสามารถผ่อนชำระสินเชื่อได้นานสูงสุดถึง 30 ปี

5. บุคคลค้ำประกัน การใช้บุคคลค้ำประกันสินเชื่อจะเป็นสินเชื่อประเภทการจำนำ หรือจำนอง เช่น สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ เป็นต้น แต่การใช้บุคคลค้ำประกันเพื่อขอสินเชื่อ สถาบันการเงิน หรือบริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อก็จะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันประกอบการอนุมัติด้วย 
 
เตรียมตัวอย่างไรหากต้องเป็นผู้ค้ำประกัน 
 
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อต้องเป็นผู้ค้ำประกัน คือผู้ค้ำประกันไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบที่จะเกิดตามมาได้หากลูกหนี้ผิดสัญญา ดังนั้นสิ่งที่ผู้ค้ำประกันควรทำเมื่อจำเป็นต้องเป็นผู้ค้ำประกันให้กับผู้อื่น มีดังนี้  
 
  • ศึกษาเงื่อนไขในการค้ำประกันให้ละเอียด 
  • ทำความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตความรับผิดชอบในฐานะผู้ค้ำประกัน 
  • ตรวจสอบความถูกต้องของวงเงิน และประเภทของสินเชื่อที่ค้ำประกันที่ระบุในสัญญา ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีกำหนดว่าต้องระบุวงเงินของเงินต้นที่ค้ำประกันในสัญญาให้ชัดเจน และห้ามทำข้อตกลงว่าให้ผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันแบบไม่จำกัดจำนวน 
  • หากมีข้อสงสัยใดๆ ควรรีบถามก่อนลงชื่อในสัญญา

การขอสินเชื่อแบบมีหลักประกัน อาจเป็นตัวช่วยให้ผู้ขอสินเชื่อมีสภาพคล่องได้ง่าย รวดเร็ว และอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน ก็จริงค่ะ แต่...ต้องระวังคำโฆษณาชวนเชื่อ เช่น อนุมัติง่าย วงเงินสูง ผ่อนนาน ผ่อนน้อย รวมถึงรายการส่งเสริมการขายต่างๆ  ที่อาจจะทำให้เราตัดสินใจขอสินเชื่อโดยไม่ได้ไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน เพราะหากเราขอสินเชื่อแล้วไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด หรือผิดนัดชำระหนี้ ก็อาจทำให้สูญเสียทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันได้นะคะ
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง หลักประกัน สินเชื่อมีหลักประกัน สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน การค้ำประกันสินเชื่อ การขอสินเชื่อ การเตรียมตัวก่อนกู้เงิน
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่





เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)