5 วิธีวางแผนการเงินสำหรับเด็กจบใหม่

icon 18 ส.ค. 65 icon 5,121
5 วิธีวางแผนการเงินสำหรับเด็กจบใหม่
หากย้อนกลับไปช่วงประมาณ 15-30 ปีก่อน เป็นช่วงที่การวางแผนการเงินไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก ทำให้มักจะได้ยินผู้ใหญ่สอนมาตั้งแต่เด็กๆ จนจบมหาวิทยาลัยว่าให้อดออม และประหยัดเงินไว้ใช้ในอนาคต แต่ในปัจจุบันที่การวางแผนการเงินเป็นที่รู้จักในมุมกว้างแล้ว เรายังควรอดออม และประหยัดเงินแบบเดิม หรือควรทำอย่างไรหลังเรียนจบ
 
การรู้จักอดออม และประหยัดเงินเป็นเรื่องที่ดี แต่จะดีกว่าถ้าเราได้รู้จักคุณค่าของเงิน และนำไปใช้จ่ายหรือต่อยอดการลงทุนอย่างเหมาะสม บทความนี้จะมาเล่าให้ฟังถึง 5 วิธีวางแผนการเงินสำหรับเด็กจบใหม่ จะมีอะไรบ้าง ไปติดตามพร้อมๆ กันเลย
 

วิธีที่ 1 แบ่งเงินเป็นสัดเป็นส่วน
 
วิธีนี้สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการแบ่งเงินด้วย 6 Jars System หรือการแบ่งเงินออกเป็น 6 ส่วน ประกอบไปด้วย
  1. ใช้จ่ายตามจำเป็น : Necessity Account (NEC - 55%) คือ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าน้ำค่าไฟ ค่าของใช้ที่จำเป็น
  2. อิสรภาพทางการเงิน : Financial Freedom Account (FFA - 10%) คือ การนำเงินไปลงทุนต่อยอดให้งอกเงย ผ่านการลงทุนในสินทรัพย์การเงิน เช่น หุ้น กองทุนรวม เป็นต้น
  3. การศึกษาและการพัฒนาตัวเอง : Education Account (EDU - 10%) คือ การเพิ่มความรู้ให้ตัวเอง ผ่านหนังสือ หรือคอร์สเรียนต่างๆ
  4. ใช้จ่ายในระยะยาว : Long-term saving for spending Account (LTS - 10%) คือ การมองไปในอนาคตว่าจะมีค่าใช้จ่ายอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง เช่น ค่าดาวน์บ้าน ดาวน์รถ เรียนต่อต่างประเทศ แต่งงาน
  5. ให้รางวัลตัวเอง : Play Account (PLY - 10%) เพื่อการพักผ่อนและผ่อนคลาย เช่น เล่นเกม ดูหนัง ช้อปปิ้ง ทานบุฟเฟต์
  6. มอบของขวัญให้คนรอบตัวหรือบริจาค Give Account (GIV - 5%) เช่น การซื้อของขวัญให้ครอบครัว คนใกล้ชิด รวมถึงการบริจาค
วิธีที่ 2 ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
 
หลังจากได้แบ่งเงินเป็น 6 ส่วนแล้ว การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย จะช่วยให้เราเห็นว่าเงินของเราเข้าออกไปกับอะไรบ้าง เป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องจดรายรับ-รายจ่ายทุกวันไปตลอด สามารถเริ่มทำเพียงช่วง 3-6 เดือนแรก เพื่อให้รู้ว่าเราใช้เงินเฉลี่ยในแต่ละส่วนไปเท่าไหร่บ้าง หลังจากนั้นเราสามารถคำนวณได้แล้วว่าเราต้องแบ่งเงินเป็นเท่าไหร่บ้างในแต่ละส่วน

วิธีที่ 3 เริ่มเก็บจากเงินสำรองฉุกเฉิน
 
สำหรับใครที่รู้สึกว่า 2 วิธีแรกใช้พลังเยอะในการเก็บเงิน สามารถเริ่มได้ด้วยการเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับนิสิต นักศึกษาที่จบใหม่ เพราะเรากำลังเจอกับค่าใช้จ่ายหลายๆ อย่างที่คาดไม่ถึงได้ เช่น การเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือแม้กระทั่งการออกจากงานกะทันหัน ซึ่งการมีเงินสำรองฉุกเฉินจะทำให้เราอุ่นใจ ถึงแม้จะเจอเหตุการณ์อะไรเข้ามา แต่เราก็ยังสามารถดำเนินชีวิตได้ปกติ เพราะเก็บเงินส่วนนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว

วิธีที่ 4 หักห้ามใจในการเป็นหนี้ (ถ้าไม่จำเป็น)
 
เมื่อเริ่มหารายได้ด้วยตัวเองได้ 100% อาจจะมีบางความคิดที่เราอยากมีบ้าน คอนโด หรือรถยนต์เป็นของตัวเอง ถ้าที่ทำงานไกลจากที่พักมากๆ และเดินทางลำบากอีกด้วย ทำให้อยากมีรถยนต์ขึ้นมา ก็ต้องมาคำนวณต่อว่าการย้ายไปที่พักใกล้ๆ กับการซื้อรถยนต์ ที่นอกเหนือจากค่าผ่อนรถแล้ว ยังมีค่าบำรุงรักษา ค่าน้ำมัน และค่าประกันรถ แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน แต่ถ้าเป็นสิ่งที่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรเป็นหนี้เกิน 40% ของรายได้ เพราะจะทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในการใช้จ่าย

วิธีที่ 5 ศึกษาเรื่องการลงทุน
 
ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไม่เหมือนช่วง 30 ปีก่อนอีกแล้ว ที่เพียงฝากเงินในธนาคารก็ได้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า 10% ต่อปี แต่ในตอนนี้เหลือเพียง 0.25% ต่อปีเท่านั้น และกำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้ออีกด้วย การฝากเงินไว้ในธนาคารอย่างเดียว ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว
 
เมื่อเราได้แบ่งเงินเป็นสัดเป็นส่วน ได้เก็บเงินสำรองฉุกเฉินแล้ว ในอนาคตเราจะมีเงินออมมากขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เงินออมของเรางอกเงยขึ้นมาได้ก็คือการลงทุน ซึ่งสินทรัพย์การเงินที่เหมาะสมกับมือใหม่มากที่สุด คือ กองทุนรวม เนื่องจากมีสินทรัพย์หลายประเภทให้เลือกลงทุน ตั้งแต่เสี่ยงต่ำไปถึงเสี่ยงสูง ใช้เงินลงทุนน้อย มีเงิน 1 บาทก็ลงทุนได้ และเราไม่ต้องดูตลาดเองด้วย เพราะมีผู้จัดการกองทุน คอยนำเงินของเราไปลงทุนให้ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำและศึกษาให้ดี คือ การกำหนดเป้าหมายว่าเราอยากเก็บเงินไปเพื่ออะไร เพื่อที่จะเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมนั่นเอง

และนี่ก็เป็น 5 วิธีวางแผนการเงินสำหรับเด็กจบใหม่ที่ทีมงานนำมาฝาก ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำให้ครบทั้ง 5 วิธี สามารถเริ่มต้นอยากวิธีที่เหมาะสมกับเรา แล้วค่อยๆ ขยับไปลองวิธีอื่นๆ ได้ ทีมงานหวังว่าบทความนี้จะทำให้น้องๆ นิสิต นักศึกษาที่เพิ่งเรียนจบ สามารถวางแผนการเงินให้วัยเริ่มต้นทำงานได้อย่างมั่นคง และมีอิสรภาพการเงินในอนาคต
แท็กที่เกี่ยวข้อง การจัดการการเงิน วิธีวางแผนการเงิน วางแผนลงทุน วิธีวางแผนการเงินสำหรับเด็กจบใหม่ บทความการเงิน อิสรภาพการเงิน
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)