เปิดเหตุผลดีๆ ทำไมเราควรมีประกันชีวิตสัก 1 กรมธรรม์

icon 23 พ.ค. 66 icon 4,092
เปิดเหตุผลดีๆ ทำไมเราควรมีประกันชีวิตสัก 1 กรมธรรม์
จากสถิติคนไทย 100 คนจะมีกรมธรรม์ประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพเพียง 37 ฉบับ ซึ่งยังเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ จีน และฝรั่งเศส ที่ต่อ 100 คน จะมีการทำประกันมากกว่า 300 ฉบับ หรือเฉลี่ยอย่างน้อยคนละ 3 ฉบับ วันนี้จึงอยากสรุปข้อสำคัญในการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพโดยแบ่งตามช่วงอายุกันค่ะ

ช่วงอายุวัยเด็ก 0-20 ปี

ในวัยเด็กอาจจะต้องคำนึงเรื่องความเสี่ยงสุขภาพและอุบัติเหตุกันเป็นอันดับต้น เนื่องจากภูมิคุ้มกันต่ำ มีกิจกรรมในโรงเรียนมากมาย และมีโรคเฉพาะเด็กที่อาจเกิดขึ้นได้ การทำประกันสุขภาพในช่วงวัยนี้ให้ลูกๆ จะช่วยคุณพ่อคุณแม่ อุ่นใจมากขึ้น ในการแบ่งเบาค่ารักษาของเด็กน้อยที่ค่อนข้างแพง เบี้ยประกันสุขภาพในวัยเด็ก 0-5 ขวบ จะค่อยข้างสูง ประมาณ 40,000 บาทขึ้นไป แต่พอเด็กอายุ 6 ขวบไปแล้ว เบี้ยจะถูกลงอยู่ที่ประมาณหลัก 20,000 บาทค่ะ
 

วัยทำงาน 21-30 ปี

ช่วงวัยแห่งการเริ่มต้นทำงาน First Jobber หาเงินได้เอง การทำประกันจะทำให้เกิดวินัยทางการเงินที่ดี แน่นอนว่าการวางแผนสร้างวินัยทางการเงินคือเรื่องที่ดีและควรทำ แต่หลายๆคนก็อาจจะละเลย คิดว่าไม่สำคัญ หรือหลายๆท่านไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร การทำประกันจะเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่จะทำให้เราเกิดวินัยในการออมเงินได้ดีมากขึ้น เพราะ เป็นการทำสัญญาระยะยาวกับบริษัทประกัน ที่ระบุให้เราต้องจ่ายเบี้ยเป็นงวดๆ จนสุดท้ายได้เงินก้อนคืนมา เหมือนบังคับตัวเองให้เก็บเงินในรูปแบบเบี้ยประกันนั่นเอง เช่น ในการทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ นอกจากจะสร้างวินัยให้เราได้เก็บเงินแล้ว ยังมีผลตอบแทนในเรื่องของเงินคืนกลับมาให้ โดยเฉลี่ยเงินคืนประมาณ 2% ซึ่งมากกว่าการฝากเงินในธนาคาร แต่มีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลาเข้ามาเพิ่มเติมในสัญญา เช่น 10 ปี 15 ปี 20 ปี เป็นต้น นอกจากนี้ ประกันชีวิตยังให้ความคุ้มครองชีวิตแถมมาด้วยเพิ่มความอุ่นใจให้ตัวเองและคนที่เรารัก โดยเบี้ยประกันจะแล้วแต่ทุนที่อยากทำและอายุที่เริ่มทำ สมมติทุนประกันเริ่มต้น 100,000 เริ่มทำอายุ 25 ปี โดยสะสมเป็นเวลา 20 ปี เบี้ยจะอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาทค่ะ 
 

วัยสร้างครอบครัว 31-50 ปี

ช่วงสร้างเนื้อสร้างตัว ทำงานหนัก เก็บเงินเพื่อใช้ในอนาคต แต่ชีวิตมีความไม่แน่นอน เหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือเสียชีวิต หรือแม้กระทั่งอายุยืนเกินไปก็กลับกลายเป็นความเสี่ยงเหมือนกัน ถ้าเราไม่วางแผนการเงินให้ดี ดังนั้นประกันชีวิตจะช่วยวางแผนความมั่นคงให้กับตัวเองและครอบครัวและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตค่ะ 

ยกตัวอย่าง หากเราเสียชีวิตกระทันหัน ทรัพย์สมบัติทั้งหมดก็จะตกทอดไปสู่ทายาทโดยชอบธรรม แต่ถ้าเราได้มีการทำประกันชีวิตไว้ด้วย ทุนประกันชีวิตทั้งหมดจะถูกส่งมอบต่อให้ผู้รับผลประโยชน์ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์เช่นกัน โดยความคุ้มค่าจะอยู่ที่ความคุ้มครองชีวิตที่ได้มา มากกว่าเบี้ยประกันที่สะสมไว้ค่อนข้างมาก เช่น ผู้ชายอายุ 35 ปีทำทุนประกัน 1 ล้านบาท เบี้ยตกปีละ 26,000 บาท จ่ายทั้งหมด 20 ปี เป็นเงินสะสม 520,000 บาท แต่ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เสียชีวิต จะได้ 1 ล้านบาททันที มากกว่าที่สะสมไว้ถึง 48%

อีกกรณีหนึ่ง เมื่อเราล้มป่วย โดยไม่มีประกันสุขภาพใดๆ คุ้มครองเลย สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราจะต้องนำเอาเงินเก็บที่ออมไว้ ออกมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล ถ้าป่วยเล็กน้อยก็ดูจะพอไหว แต่ถ้าเป็นหนัก โรคร้ายแรง ผ่าตัดใหญ่ เงินหลักแสนอาจจะหายไปได้ หรือเงินเก็บของเราทั้งหมดอาจจะไม่พอค่ารักษาก็เป็นไปได้ หลายๆ ครั้ง เราจะเคยเห็นกรณีในข่าว ที่มีการกู้หนี้ยืมสินเพื่อมารักษาโรคตัวเอง ดังนั้นการทำประกันสุขภาพก็จะช่วยแบ่งเบาภาระ โอนความเสี่ยงออกไปได้ค่ะ ซึ่งเบี้ยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายวงเงิน 1 ล้านบาท อายุ 35 ปี จะเริ่มต้นประมาณ 15,000 บาทค่ะ
 
นอกจากนี้ กรมธรรม์ประกันชีวิตก็สามารถสร้างสภาพคล่องได้ หากเราจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ เรามีสิทธิในการกู้ยืมเงินจากกรมธรรม์ได้ โดยการนํามูลค่าเงินสดในกรมธรรม์ประกันชีวิตในขณะนั้นออกมาใช้ก่อน และคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่บริษัทฯ กําหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 4-8% ต่อปี ถ้าเทียบกับธนาคารแล้วถือว่าดอกเบี้ยต่ำมาก โดยที่ผลประโยชน์ต่างๆ ของกรมธรรม์ยังมีผลตามเดิม ยังคุ้มครองชีวิตเหมือนเดิม เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับเจ้าของกรมธรรม์ได้ดีมากอีกทางหนึ่ง

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องเสียภาษี การทำประกันชีวิตสามารถใช้เป็นตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีได้ค่ะ โดยแบบประกันชีวิตทั่วไปสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท (ซึ่งรวมกับเบี้ยประกันสุขภาพสูงสุด 25,000 บาทแล้ว) และแบบประกันชีวิตแบบบำนาญสูงสุดอีก 200,000 บาทค่ะ
 

วัยก่อนเกษียณ 51 ปีขึ้นไป

เมื่อถึงเวลา เราควรต้องคำนึงเรื่องเงินที่เก็บไว้ใช้หลังเกษียณ ซึ่งประกันชีวิตสามารถเป็นเครื่องมือในการใช้วางแผนเกษียณให้เราได้ ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ แบบบำนาญ หรือ แบบควบการลงทุนหรือ Unit-linked ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ความต้องการ หรือวิธีคิดวิธีการวางแผนของแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกัน
 

สรุปเหตุผลหลักๆ ที่เราควรมีประกันชีวิตสักเล่ม ตามตารางนี้ค่ะ

จะเห็นว่าการทำประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ มีข้อดีหลายอย่างเลยนะคะ แต่มีข้อสังเกตบางข้อที่ต้องเข้าใจเพิ่มเติม เช่น ประกันสะสมทรัพย์ดูเหมือนจะได้ผลตอบแทนที่ดี แต่ก็อาจจะไม่เท่ากับที่เราลงทุนในกองทุน หรือตราสาร แต่ก็จะได้รับความเสี่ยงที่ต่ำกว่า หรือประกันสุขภาพไม่ใช่จะทำตอนไหนก็ได้ แต่ควรทำตอนที่ยังมีสุขภาพที่ดีอยู่ ถึงจะไม่มีเงื่อนไขจากบริษัทประกัน รับคุ้มครองเต็ม 100% ค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกัน ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ การซื้อประกันชีวิต
Money Guru
เขียนโดย คุณป้อ (ประกันเข้าใจง่าย) Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)