รวมแพคกองทุน Healthcare กองไหนดี คัดเลือกอย่างไร?

icon 1 มิ.ย. 65 icon 8,888
รวมแพคกองทุน Healthcare กองไหนดี คัดเลือกอย่างไร?
สถานการณ์เศรษฐกิจโลกช่วงนี้ ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว ทั้งขึ้นดอกเบี้ยและลดสภาพคล่องออกจากระบบการเงิน นอกจากนี้กระแสเศรษฐกิจชะลอตัว ต่างสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้น ทำให้นักลงทุนเริ่มมีคำถามว่าท่ามกลางมรสุมที่กำลังถาโถมจะลงทุนอะไรดี? Healthcare เป็นอีกอุตสาหกรรมที่มักเป็นทางออกสำหรับช่วงเวลาที่ไม่ค่อยดี ซึ่งบทความนี้จะพานักลงทุนไปค้นหาความน่าสนใจของอุตสาหกรรมนี้ พร้อมรวมแพคกองทุน Healthcare ที่น่าลงทุน
 

ความน่าสนใจของอุตสาหกรรม Healthcare

  • กระแสสังคมผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพที่มากขึ้น

    ประเทศส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จำนวนประชากรสูงอายุจะมีสัดส่วนมากกว่าในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งมีปัจจัยที่หนุนการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ปัจจัยเหล่านี้ส่งเสริมให้ประชากรหันมาใส่ใจการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ธุรกิจ Healthcare มีแนวโน้มเติบโตในระยะยาวแบบ Megatrend
     
  • รายได้เติบโตค่อยเป็นค่อยไป รับผลกระทบจากเศรษฐกิจน้อย

    Deloitte รายงานว่าระหว่างปี 2013-2017 การใช้จ่ายด้าน Healthcare ทั่วโลกเติบโตถึง 2.9% และคาดว่าระหว่างปี 2018-2022 ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.4% ด้วยความที่เป็นปัจจัยจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ประกอบกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้รายได้ของธุรกิจเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และไม่ได้รับผลกระทบจากวัฏจักรเศรษฐกิจ อันเป็นคุณสมบัติของอุตสาหกรรมแบบ Defensive นักลงทุนจึงนิยมลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซา
     
  • อุตสาหกรรมมีธุรกิจที่หลากหลาย หากพูดถึงอุตสาหกรรม Healthcare ในตลาดหุ้นไทย หลายคนคงนึกถึงโรงพยาบาลหรือบริษัทจัดจำหน่ายเครื่องมือการแพทย์ แต่ในต่างประเทศอุตสาหกรรมนี้มีธุรกิจที่หลากหลายแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

    1. กลุ่ม Pharmaceutical คือกลุ่มบริษัทผลิตและจำหน่ายยาทั้งยาที่จดสิทธิบัตรและยาสามัญที่หมดสิทธิบัตรแล้ว เช่น Johnson & Johnson, Roche
    2. กลุ่ม Biotechnology บริษัทที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิตหรือผลผลิตสิ่งมีชีวิตเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ เช่น Biogen
    3. กลุ่ม Healthcare Equipment & Supplies ผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ทั้งใช้แล้วทิ้ง อุปกรณ์ใช้คงทน และใช้ในห้องปฏิบัติการ เช่น Abbott
    4. กลุ่ม Healthcare Provider คือ โรงพยาบาลเอกชนเหมือนในประเทศไทย มีรายได้จากการบริการทางการแพทย์และค่ายา เช่น Unitedhealth Group, Teladoc Health
    5. กลุ่ม Healthcare Insurance เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญในสหรัฐฯ ซึ่งมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ประชาชนต้องทำประกันสุขภาพเอง

เกณฑ์การคัดเลือกกองทุน Healthcare

  • ลักษณะธุรกิจของบริษัทในกองทุน

    ด้วยความหลากหลายของธุรกิจใน Healthcare โดยเฉพาะในระยะหลังที่เริ่มมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับเรื่องสุขภาพทั้งด้าน Biotechnology และอุปกรณ์การแพทย์ ทำให้เริ่มมีลักษณะของหุ้น Growth ในอุตสาหกรรม Healthcare ที่มีภาพจำว่าเป็นหุ้น Defensive ซึ่งแน่นอนว่าความผันผวน การเคลื่อนไหวของราคาต่อวัฏจักรเศรษฐกิจย่อมแตกต่างกัน

    จึงต้องกลับมาทบทวนจุดประสงค์การลงทุนใน Healthcare ว่าเพื่อให้เป็นสัดส่วน Defensive ในพอร์ตหรือจะมีลักษณะของหุ้น Growth อยู่ด้วย เช่น หากต้องการให้เป็นสัดส่วน Defensive ก็ต้องเลือกกองทุนที่เน้นลงทุนธุรกิจ Pharmaceutical ซึ่งเป็น Traditional Healthcare แต่ถ้าต้องการลักษณะของหุ้น Growth ก็หากองทุนที่มีสัดส่วนของ Biotechnology และ Healthcare Equipment & Supplies
     
  • สไตล์การบริหาร
     
    กองทุน Healthcare ในประเทศไทยทุกกองทุนบริหารแบบเชิงรุก (Active) มุ่งเน้นทำผลตอบแทนดีกว่าดัชนีอ้างอิง แต่ละกองทุนจะมีความแตกต่างในแง่ของลักษณะธุรกิจที่อยู่ในกองทุน ดังนี้ 

    Wellington Global Healthcare Equity Fund กองทุนหลักของ BCARE เน้นลงทุนนวัตกรรมผ่านกลุ่ม Healthcare Equipment & Supplies และ Biotechnology ไม่ลงทุนแบบกระจุกตัว แต่มีความผันผวนมากกว่า JPMorgan Funds – Global Healthcare Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลักของ KFHHCARE-A, KFHEALTH-A และ K-GHEALTH-A ที่เน้นหุ้น Quality และ Defensive

    ขณะที่ Janus Henderson Global Life Sciences กองทุนหลักของ KT-HEALTHCARE-A, T-HEALTHCARE, SCBGHC(D) บริหารแบบยืดหยุ่นมีทั้งส่วน Defensive และหาผลตอบแทนเพิ่มจากกลุ่มนวัตกรรม เช่นเดียวกับ Manulife Global Fund-Healthcare Fund กองทุนหลักของ KWI HCARE-A ก็เน้น Defensive กระจุกตัวในหุ้นใหญ่คุณภาพดี 40-60 บริษัท
     
    สุดท้าย United Global Healthcare กองทุนหลักของ UOBSHC และ UGH มีความ Defensive ไม่มากเพราะเน้นกลุ่ม Healthcare Equipment & Supplies และ Biotechnology มีหุ้นมากกว่า 70-80 บริษัท ความผันผวนก็จะมากเหมือน Wellington Global Healthcare Equity Fund
     
  • ค่าธรรมเนียม การป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน นโยบายปันผล

    จะเห็นว่าหลายกองทุนในประเทศไทยใช้กองทุนหลักกองเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องเลือกกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมต่ำที่สุด และหากใครที่ไม่ต้องการผลกระทบเชิงลบเมื่อเงินบาทแข็งค่าเทียบกับดอลลาร์ก็ควรเลือกกองทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ในทางกลับกันถ้าเงินบาทอ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์ การไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนจะช่วยให้ได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น

    การปันผลเป็นอีกปัจจัยที่ใช้ในการเลือกกองทุนเช่นกัน ถ้าชีวิตประจำวันยังมีกระแสเงินสดให้ใช้ ก็ไม่ควรเลือกกองทุนที่มีนโยบายปันผลเพราะจะเป็นการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายโดยไม่จำเป็น
*ข้อมูล ณ วันที่ 7/5/2022
 
อุตสาหกรรม Healthcare แม้ไม่ได้มีการเติบโตที่โดดเด่นเหมือนหุ้นเทคโนโลยี แต่มักทำผลงานได้ดีเมื่อตลาดเผชิญกับช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว มองในระยะยาวสังคมผู้สูงอายุเป็นปัจจัยที่หนุนให้เติบโตได้ต่อเนื่อง อีกทั้งเริ่มมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์กับการดูแลสุขภาพก็ยิ่งช่วยให้มีการเติบโตที่มากกว่าในอดีตไปอีก ดังนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลให้ Healthcare ควรมีสัดส่วนในพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนทุกท่าน
 
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงิน กองทุนรวม ซื้อกองทุน กองทุน Healthcare
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)