ทำไมมนุษย์เงินเดือนควรออมเงินด้วย Provident Fund

icon 28 มิ.ย. 65 icon 4,049
ทำไมมนุษย์เงินเดือนควรออมเงินด้วย Provident Fund
"ออมก่อนใช้" คือหนึ่งในคำแนะนำทางการเงินที่ถูกพูดถึงอย่างมากหลายปีที่ผ่านมา บนความตั้งใจดีของผู้แนะนำที่ต้องการให้ผู้ที่สนใจลงทุน หรือ ออมเงินนั้นสามารถออมเงินได้อย่างเป็นระบบ เป็นไปตามความตั้งใจเพื่อให้ถึงเป้าหมายการออมเงินนั้นๆ ในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป้าหมายทางการเงินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของใครหลายๆ คน คือการออมเพื่อใช้จ่ายยามเกษียณ
 
แต่ด้วยปัญหาค่าครองชีพในปัจจุบันที่สูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน ค่าเช่าห้อง ค่าอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย ได้สร้างแรงกดดันให้ผู้ที่ตั้งใจออมเงินจำนวนมากต้องพ่ายแพ้ต่อค่าใช้จ่ายเหล่านั้น และกลายเป็นใช้ก่อนค่อยออม หรือ ถ้าเงินเหลือค่อยออม ซึ่งอาจทำให้การไปถึงเป้าหมายเกษียณเป็นไปได้ยากขึ้น แต่ก็ยังมีเรื่องดีๆ สำหรับมนุษย์เงินเดือน เมื่อบริษัทจำนวนมากมักมีสวัสดิการ ที่เรียกว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ บทความนี้จะมาเล่าให้ฟังว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร ดีอย่างไร ทำไมมนุษย์เงินเดือนถึงควรออมเงินด้วยวิธีนี้
 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) คืออะไร?

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ สวัสดิการชนิดหนึ่งที่บริษัทหรือนายจ้างมีให้กับลูกจ้าง ในรูปแบบของกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นอย่างสมัครใจ บนวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการออมให้กับลูกจ้างใช้ยามเกษียณอายุ ออกจากงาน ทุพพลภาพ หรือเป็นหลักประกันให้กับครอบครัวในกรณีที่เสียชีวิต โดยลูกจ้างหรือมนุษย์เงินเดือนนั้น สามารถเลือกที่จะออมได้ตามใจต้องการ ตั้งแต่ 2-15% ของรายได้
 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีอย่างไร?

 

ประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ด้านหลักๆ 

  • เพิ่มวินัยการออม เพราะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการนำส่งเงินจำนวนที่ตั้งใจจะออม เข้าสู่กองทุนโดยทันที ก่อนที่จะเข้าสู่กระเป๋าลูกจ้าง ทำให้ลักษณะของการออมมีความสม่ำเสมอสูง เพิ่มโอกาสการไปถึงเป้าหมายระยะยาวมากยิ่งขึ้น
     
  • เพิ่มเงินออม  เนื่องจากลักษณะของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลูกจ้างระบุความสมัครใจในการออมเอาไว้ เป็นแบบสัดส่วนต่อเงินเดือน เช่น 2% หรือ 5% ซึ่งหมายถึง หากเงินเดือนของเรานั้นเติบโตมากขึ้น จำนวนเงินที่ออมก็จะเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย ซึ่งการออมในลักษณะนี้ จัดว่าเป็นการ “ออมก่อนใช้” อย่างแท้จริง เพราะนายจ้างหรือบริษัทนั้น มีหน้าที่ในการหักเงินเดือนตามที่เราได้ระบุไว้ นำส่งเข้ากองทุนในทันที

    นอกจากนั้นแล้วอีกผลประโยชน์ที่มนุษย์เงินเดือนทั้งหลายจะได้รับทันทีจากการเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็คือ เงินสมทบจากนายจ้างในอัตราเดียวกันคือ 2-15% ของรายได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายการสมทบของแต่ละบริษัท ว่าจะให้ในระดับที่คงที่ หรือ เพิ่มเติมตามอายุงาน ซึ่งหมายถึงเท่ากับว่าเราได้รับเงินออมมากขึ้นในแต่ละเดือน

    หากเลือกออมเงินที่ระดับ 2% ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดที่จะออมได้ เมื่อนับรวมกับเงินสมทบจากนายจ้างอีก 2% ที่ระดับต่ำสุดเช่นเดียวกัน หมายถึงมูลค่าการออมเพิ่มมากขึ้น 1 เท่าตัวในแต่ละเดือนเลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่าทำให้มีโอกาสไปถึงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น 


    ยกตัวอย่างว่าเรามีเงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 บาท ณ เดือนมกราคม 2022 และได้รับการปรับขึ้นเงินเดือน 5% ทุกๆ ปีตลอดระยะเวลา 40 ปีของการทำงาน และเลือกสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพขั้นต่ำสุดที่ 2% ถ้าเราไม่ได้ออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เราออมเงินได้ประมาณ 434,879.19 บาทเท่านั้น 

    แต่ถ้าเราออมเงินด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินจำนวนนั้นจะเพิ่มเป็น 2 เท่า ถึง 869,758.38 บาทด้วยกัน ยังไม่รวมผลตอบแทนที่อาจสร้างได้ระหว่างทาง หรือถ้าเราเลือกสะสมมากที่สุดที่ 15% ของรายได้ ย่อมส่งผลให้เงินเติบโตมากกว่าภาพข้างต้นอย่างมีอย่างแน่นอน
     
  • ลดหย่อนภาษี  เพราะว่าการออมป็นเรื่องสำคัญ ภาครัฐพยายามสนับสนุนให้ประชาชนมีเงินออมเพื่อใช้จ่ายยามเกษียณ หรือเป็นหลักประกันของชีวิตมากขึ้น รัฐบาลจึงได้ประกาศให้เงินที่ออมในรูปแบบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 15% ของรายได้เลยทีเดียว ทำให้นอกจากจะเพิ่มรายได้แล้ว กองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังสามารถลดรายจ่ายจากภาษีไปได้พร้อมๆ กันในครั้งเดียว

    แต่มีข้อจำกัด คือ ต้องนำไปนับรวมกับเงินลงทุนเพื่อการเกษียณประเภทอื่น  เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี  ซึ่ง RMF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีก็ต่อเมื่อนำเงินออกจากกองทุนเมื่ออายุครบ 55 ปี และเป็นสมาชิกมาครบ 5 ปีแล้ว ถึงจะมีความยืดหยุ่นน้อย แต่ข้อดีของข้อจำกัดนี้คือสามารถช่วยให้เรามีวินัยในการออมได้จนถึงวันที่เกษียณอายุ

ควรออมเท่าไหร่ดี?

ยิ่งออมมาก ยิ่งเป็นผลดีกับผู้ออมทุกคนอยู่แล้ว เพราะการสะสมเงินผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถที่จะนำไปลดหย่อนภาษีได้ ยิ่งเมื่อนับรวมกับการสมทบของฝั่งนายจ้าง ที่มักสมทบในอัตราที่เท่าๆ กัน ถ้าเรายิ่งออมมาก ก็จะยิ่งได้รับเงินสมทบจากนายจ้างเพิ่มขึ้น ได้ทั้งเพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายไปพร้อมๆ กัน
 
แต่ในความเป็นจริงแล้ว เพื่อนๆ แต่ละคน มีรายได้และภาระที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรคำนึงถึงกระแสเงินสดและสภาพคล่องที่ใช้จ่ายในแต่ละเดือนด้วย เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่สามารถเบิกถอน  หรือ ขายออกมาใช้จ่ายระหว่างทางได้ ดังนั้นเพื่อนๆ อาจต้องพิจารณาให้เกิดสมดุลระหว่างรายรับรายจ่ายแต่ละเดือน กับการไปถึงเป้าหมายระยะยาว เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเกิดการกู้ยืมใช้ระหว่างทางการออมเงิน ซึ่งอาจมีความเสี่ยงที่จะต้องเสียดอกเบี้ยจากการกู้ยืมมากกว่าผลตอบแทนที่สร้างได้จากการออมก็เป็นได้ 
 
ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องออม 15% ที่เป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด ตัวเลขที่เหมาะสมควรเป็นขั้นต่ำที่บริษัทสมทบให้ หากบริษัทสมทบให้ 3% เราสามารถเริ่มต้นออมที่ 3% หรือหากบริษัทสมทบให้ 5% เราก็สามารถออมได้ที่ 5% หากเราสามารถออมเงินได้มากกว่านั้น อาจไปเลือกลงทุนเพิ่มเติมในกองทุนรวมแทน เพราะมีอิสระในการลงทุนมากกว่า เลือกนโยบายที่ต้องการได้เอง สามารถซื้อขายได้ทุกวันทำการ แต่โดยทั่วไปแล้วบริษัทต่างๆ มักเปิดช่องทางให้ปรับอัตราการสะสมได้ปีละ 1-2 ครั้ง ทำให้เราสามารถที่จะปรับเพิ่มหรือลดอัตราการออมเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์การเงินของเราได้
 
โดยสรุปแล้ว กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือหนึ่งในสวัสดิการของบริษัทที่มอบให้กับพนักงาน ซึ่งสามารถช่วยตอบโจทย์การลงทุนระยะยาว และการออมเงินได้อย่างดีเยี่ยม ในฐานะสวัสดิการที่บังคับให้เกิดการ “ออมก่อนใช้” อย่างแท้จริง พร้อมกับความสามารถในการให้ผลตอบแทนและลดรายจ่ายไปพร้อมกันๆ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเรามีความสามารถที่จะออมแล้ว การออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่น่าออมเพื่อการไปให้ถึงเป้าหมายเกษียณอายุของมนุษย์เงินเดือนทุกคน
แท็กที่เกี่ยวข้อง มนุษย์เงินเดือน วางแผนการเงิน ออมเงิน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตัวช่วยลดหย่อนภาษี วางแผนเกษียณ วางแผนภาษี PVD
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)