รู้ตัวอีกทีก็เป็นหนี้ไปซะแล้ว! 6 วิธีเคลียร์หนี้บัตรเครดิตให้อยู่หมัด

icon 23 พ.ค. 66 icon 4,925
รู้ตัวอีกทีก็เป็นหนี้ไปซะแล้ว! 6 วิธีเคลียร์หนี้บัตรเครดิตให้อยู่หมัด
ถ้าพูดถึงวิธีการใช้จ่ายที่ทั้งเร็ว และสะดวก แถมยังได้สิทธิประโยชน์ดีๆ อีกมากมาย แน่นอนว่าทุกคนก็ต้องนึกถึงการสมัครบัตรเครดิต แต่รู้หรือไม่ว่าถึงแม้บัตรเครดิตจะมอบความสะดวกสบาย หรือสิทธิพิเศษอันหลากหลายให้เรามากแค่ไหน ถ้าเราใช้แบบขาดสติ ใช้จ่ายเกินตัว จนไม่สามารถจ่ายคืนไหว ปัญหา "หนี้บัตรเครดิต" สะสม ก็จะกลายเป็นปัญหาใหญ่แบบดินพอกหางหมูไปเรื่อยๆ จนอาจถึงขึ้นทำให้เราติดเครดิตบูโร กลายเป็นหนี้เสียเลยก็ได้ 

วันนี้...เราจึงนำ "6 วิธีเคลียร์หนี้บัตรเครดิต" มาฝากค่ะ เผื่อว่าใครกำลังประสบปัญหาเป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่ หากไม่รู้ว่าจะเริ่มแก้ปัญหาอย่างไร ก็ลองนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้กันดูนะคะ
 
 
1. สรุปหนี้
 
อย่างแรกที่ควรทำเมื่อพบว่าบัตรเครดิตใบโปรดที่เราใช้นั้นนำหนี้กลับมาให้เป็นของฝาก คือการสรุปหนี้ทั้งหมดว่าบัตรใบใดบ้างที่ติดหนี้ และแต่ละใบนั้นมีหนี้ติดค้างอยู่เท่าใด เป็นหนี้ดีหรือหนี้เสีย เพื่อเป็นการประเมินเบื้องต้นว่าภาระหนี้ที่เราจะต้องชำระนั้นมากหรือน้อยเพียงใด โดยระหว่างนี้ก็ไม่ควรใช้บัตรเครดิตนะคะ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการก่อหนี้เพิ่มค่ะ
 
2. ปิดบัตรเครดิตที่ไม่ได้ใช้งาน
 
อีกหนึ่งหนทางสู่หายนะนั่นก็คือการหมุนเงินโดยการนำบัตรเครดิตใบอื่นมาใช้วนไปเรื่อยๆ แม้ในตอนแรกยังไม่เห็นผลเสียอะไร แต่ถ้าทำแบบนี้ไปในระยะยาว ก็ไม่ต่างอะไรกับการวนลูปอยู่ในกองหนี้ สุดท้ายแล้วเราก็จะเคลียร์หนี้ไม่หมดสักที จนบานปลาย กลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงอยากให้ทุกคนทำการปิดบัตรเครดิตที่ไม่ได้ใช้งานเสียก่อนค่ะ
 
3. ปรึกษาสถาบันการเงิน
 
เรียกได้ว่าในความโชคร้ายยังมีความโชคดีหลงเหลืออยู่ เพราะสถาบันการเงินบางแห่งเองก็มีมาตรการในการช่วยเหลือลูกหนี้อยู่ด้วย อย่างเช่นการขยายเวลาชำระหนี้ หรือมาตรการแบ่งเบาภาระหนี้อื่นๆ ขึ้นอยู่กับการเจรจาค่ะ ดังนั้นก็อย่าลืมลองไปปรึกษาสถาบันการเงินที่ออกบัตรเครดิตให้เราเพื่อหาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมด้วยนะคะ
 
4. จัดสรรค่าใช้จ่าย
 
ทุกครั้งที่มีรายรับเข้ามา อย่าลืมนะคะว่าเราต้องแบ่งเงินบางส่วนมาใช้หนี้ด้วย ถ้าจะให้ดีก็ควรจัดสรรค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนไปเลยว่าจะนำเงินไปใช้จ่ายกับอะไร เป็นจำนวนเท่าใดบ้าง และจะเหลือเงินเท่าใดในการนำไปชำระหนี้ (แนะนำว่าต้องเป็นวิธีที่เราสามารถทำตามได้จริงในทุกๆ เดือนนะคะ ถ้าเป็นวิธีที่โหดหินเกินไป อาจจะทำให้เราทำตามแผนได้ไม่นานนักค่ะ)
 
5. รีไฟแนนซ์บัตรเครดิต
 
หลายๆ คน อาจจะคุ้นชินกับ "การรีไฟแนนซ์" หรือ "การโอนหนี้" ในแง่ของสินเชื่อบ้าน และสินเชื่อรถเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วหนี้บัตรเครดิตเองก็สามารถทำการรีไฟแนนซ์ได้เช่นกันนะคะ ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่งที่แนะนำ เพราะเป็นการรวมหนี้ให้เหลือก้อนเดียว ทำให้เราชำระหนี้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น แถมยังได้รับดอกเบี้ยที่ต่ำลงจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อีกด้วยค่ะ (จ่ายหนี้บัตรเครดิตไม่ไหวทำไงดี? "รีไฟแนนซ์บัตรเครดิต" ยืนหนึ่งเรื่องทางออกของคนมีหนี้บัตรฯ หลายใบ)
 
6. มีวินัยในการชำระหนี้
 
การมีวินัยในการชำระหนี้ที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้ ไม่ใช่เพียงแค่ต้องชำระหนี้ได้อย่างสม่ำเสมอเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องอาศัยการลด ละ เลิก การใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอีกด้วย ลองจินตนาการว่าเรามีความสามารถในการชำระหนี้ได้อย่างต่อเนื่องทุกเดือน แต่เดือนถัดมาดันตกม้าตายเพราะช้อปเพลินจนหมุนเงินไม่ทันดูสิคะ ไม่อยากนึกเลยว่าจะสาหัสขนาดไหน ดังนั้นจึงอยากให้ทุกคนให้ความสำคัญกับทั้งวินัยในการชำระหนี้ และพฤติกรรมการใช้จ่าย เพื่อผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาวค่ะ

อย่างไรก็ตาม 6 วิธีด้านบนเป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้นเท่านั้น จึงอยากให้ผู้อ่านเลือกวิธีที่สะดวก และตอบโจทย์การใช้ชีวิตของตนเองมากที่สุด แต่สุดท้ายแล้ววิธีที่ดีที่สุดคือ "การปรับพฤติกรรมในการใช้บัตรเครดิต และไม่กลับไปทำแบบเดิมอีก" เพื่อที่จะไม่ก่อปัญหาหนี้กองโตให้เราเดือดร้อนในภายหลัง ดั่งคำพูดที่เขาว่ากันว่า "กันไว้ดีกว่าแก้" นะคะ :-)
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัตรเครดิต สมัครบัตรเครดิต หนี้บัตรเครดิต เคลียร์หนี้บัตรเครดิต แก้หนี้บัตรเครดิต
Money Guru
เขียนโดย สุทธิดา กาหา Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)