เลือกประกันสุขภาพอย่างไรให้เหมาะกับตัวเอง

icon 2 มี.ค. 66 icon 5,824
เลือกประกันสุขภาพอย่างไรให้เหมาะกับตัวเอง

ทำไมต้องทำประกันสุขภาพ 

เชื่อว่าหลายๆ คนคงมีความคิดว่า จะทำประกันสุขภาพทำไม ในเมื่อเรายังแข็งแรง ปกติดีอยู่ เสียดายเงิน เบี้ยประกันสุขภาพแพง เอาเงินไปทำอย่างอื่นดีกว่า... แต่ถ้ามองทางกลับกัน ถ้าเราไม่มีประกันสุขภาพเลย แล้วเราป่วยหนัก ต้องใช้เงินก้อน เราได้เตรียมเงินก้อนนั้นพร้อมแล้วหรือยัง? แค่ผ่าตัดไส้ติ่ง ยังต้องใช้เงินแสน แล้วถ้าเป็นมากกว่านั้นล่ะ?... คำพูดที่ว่า "รู้งี้ทำประกันไว้ก่อนดีกว่า" เกิดเสมอๆ ในตอนที่เราจำเป็นต้องใช้แต่เราไม่มี ดังนั้น วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า เราจะเลือกประกันสุขภาพแบบไหน ให้เหมาะกับตัวเองมากที่สุดค่ะ

ประกันสุขภาพแบบไหนเหมาะกับใคร

อายุ 0-5 ขวบ วัยแบเบาะถึง Pre school

วัยนี้มีความเสี่ยงเจ็บป่วยได้ง่าย ภูมิคุ้มกันต่ำ มีโรคที่มักเกิดกับเด็กเล็ก เช่น โรค RSV โรคมือเท้าปาก โรคหัด เป็นต้น  คุณพ่อคุณแม่ควรทำประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายที่ครอบคลุมค่าห้องและค่ารักษา เบี้ยช่วงวัยนี้จะค่อนข้างแพง เพราะมีความเสี่ยงสูง ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 40,000 บาทต่อปี

อายุ 6-20 ปี วัยเรียนรู้

ช่วงวัยนี้เป็นวัยพัฒนาการเรียนรู้ มีการทำกิจกรรมต่างๆ วัยซนคึกคะนอง มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ แนะนำให้ทำประกันอุบัติเหตุไว้เพิ่มเติม เพื่อความสบายใจค่ะ เบี้ยประกันอุบัติเหตุเบี้ยไม่แพงมาก มีตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพัน แล้วแต่ความคุ้มครองที่ต้องการค่ะ

อายุ 21-30 ปี วัยเริ่มต้นทำงาน

ขอแบ่งอาชีพกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่ม คือ 1. พนักงานบริษัท 2. Freelance/เจ้าของกิจการ และ 3. ข้าราชการ

ซึ่งทั้ง 3 กลุ่ม จะมีคำแนะนำการเลือกประกันสุขภาพที่แตกต่างกันไป ดังนี้

1. กลุ่มพนักงานบริษัท ส่วนใหญ่จะมีประกันกลุ่มที่บริษัททำไว้ให้
 
คำแนะนำ ควรตรวจสอบความคุ้มครองของประกันกลุ่มที่มีก่อน เช่น ได้ค่าห้อง ค่ารักษา ค่า OPD เท่าไหร่ ลองดูเรทของโรงพยาบาลที่เข้ารักษาประจำว่าจะต้องใช้เงินเท่าไหร่หากต้องเข้าโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลสมิติเวช ค่าห้อง Superior อยู่ที่  9,000 บาทต่อคืน ประกันกลุ่มที่เรามีนั้นครอบคลุมไหม ขาดอีกเท่าไหร่ แล้วลองมองหาประกันสุขภาพในเรทที่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด เพื่อแบ่งเบาภาระที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เป็นต้น และแนะนำทำประกันชดเชยรายได้เพิ่มเติม ซึ่งแบบประกันในปัจจุบันมีการออกแบบเบี้ยให้ถูกลง หากลูกค้ายอมรับในการจ่ายส่วนแรกของการรักษาเอง เช่น ยอมรับผิดออกค่าใช้จ่ายส่วนแรก 20,000 บาท เพื่อได้รับส่วนลดของเบี้ยประกัน ซึ่งกลุ่มพนักงานบริษัท มักนิยมทำแบบนี้ โดยใช้ประกันกลุ่มเป็นการเบิกค่าใช้จ่ายส่วนแรกแทน เป็นต้น
 
 
2. กลุ่ม Freelance/ เจ้าของกิจกรรม  อาจจะมีการทำประกันสังคมไว้ แต่ไม่มีประกันกลุ่ม

คำแนะนำ  ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ที่ครอบคลุมทั้งการรักษาภายในและภายนอก IPD/OPD จะตอบโจทย์ที่สุดค่ะ หลักการเดียวกัน คือ ตรวจสอบเรทของโรงพยาบาลที่เข้ารักษาประจำ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการซื้อประกันสุขภาพให้ครอบคลุม พร้อมกับการทำประกันชดเชยรายได้

3. กลุ่มข้าราชการ มีสวัสดิการแห่งรัฐในการเบิกจ่ายค่ารักษา

ซึ่งแน่นอนว่า ข้าราชการไม่จำเป็นต้องซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมก็ได้ เพราะมีสวัสดิการรัฐออกค่ารักษาให้ แต่จริงๆ แล้ว ข้าราชการก็สามารถซื้อประกันสุขภาพของตัวเองเพิ่มเติมได้ เพื่อให้ครอบคลุมการรักษาที่มากขึ้น แนะนำเน้นทำประกันชดเชยรายได้ เมื่อเราป่วย สามารถเบิกเงินชดเชยจากประกันได้เพิ่มเติมค่ะ

เบี้ยประกันสุขภาพช่วงวัยนี้ ประมาณ 17,000-25,000 บาท ต่อปี (อ้างอิงจากประกันเหมาจ่ายวงเงิน 5 ล้านบาท)

อายุ 31-50 ปี วัยสร้างครอบครัวและความมั่นคง

ช่วงวัยนี้คือวัยที่ทำงานหนักที่สุด เพื่อเก็บเงิน สร้างเนื้อสร้างตัว หรือไว้ใช้ในยามเกษียณ เรียกได้ว่า ทำงานหลังขดหลังแข็งกันเลย วัยนี้จึงมีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ รวมถึงโรคร้ายแรงก็มักจะเกิดกับช่วงวัยนี้ที่สุด ประกันที่ควรต้องทำคือ ประกันโรคร้ายแรง และประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย หากเกิดสิ่งไม่คาดคิด และจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ จะได้ไม่ต้องนำเงินที่สะสมเพื่อสร้างครอบครัวมาใช้รักษาค่ะ
 
เบี้ยประกันสุขภาพช่วงวัยนี้ ประมาณ 20,000-35,000 บาท ต่อปี (อ้างอิงจากประกันเหมาจ่ายวงเงิน 5 ล้านบาท)

อายุ 50-60 ปี ช่วงทำงาน 10 ปีสุดท้าย ก่อนเกษียณ

เป็นช่วงวัยเก๋า ถ้าวางแผนการเงินดีๆ บางคนก็เริ่มเกษียณตัวเองได้แล้ว แต่หลายๆ คนก็ยังมีไฟทำงานได้อยู่ เป็นช่วงปรับตัวตั้งรับกับการเกษียณที่จะมาถึง ช่วงวัยนี้จะเริ่มมีโรคคนแก่ เช่น ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน ตาต้อ ความดัน หัวใจ และอื่นๆ ดังนั้น ประกันสุขภาพจำเป็นอย่างมาก ควรทำตั้งแต่เรายังสุขภาพดีอยู่ คนไหนที่ทำไว้แล้วตั้งแต่แรก แนะนำให้ทำต่อไปเรื่อยๆ นะคะ เพื่อให้มีความคุ้มครองต่อเนื่อง

เบี้ยประกันวัยนี้จะค่อนข้างสูงขึ้นมาตามอายุและความเสี่ยง ประมาณ 35,000-45,000 ต่อปี (อ้างอิงจากประกันเหมาจ่ายวงเงิน 5 ล้านบาท)

อายุ 60 ขึ้นไป หลังเกษียณ

ชีวิตช่วงนี้ควรมีความสุขที่สุด เพราะเกษียณอยู่บ้าน ไม่ต้องทำงานหนัก สามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณกับครอบครัวลูกหลาน แต่ก็มีความเสี่ยงด้านสุขภาพที่จะเกิดขึ้นเพราะอายุมากขึ้นนั่นเอง ดังนั้น ควรมองหาประกันสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก IPD/OPD และเสริมด้วยประกันอุบัติเหตุไว้เพิ่มเติมค่ะ 

ไม่ว่าช่วงอายุไหนๆ ประกันสุขภาพเหมาจ่าย เป็นสิ่งที่แนะนำให้ทำไว้นะคะ อีกเรื่องที่ทุกคนอาจจะมองข้ามไป ก็คือ ประกันจะทำได้โดยไม่มีเงื่อนไขก็ต่อเมื่อ ผู้เอาประกันมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่มีประวัติสุขภาพ หากผู้เอาประกันมีปัญหาด้านสุขภาพ ทางบริษัทประกันจะมีการพิจารณาเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี เช่น เพิ่มเบี้ย หรือยกเว้นโรคที่เป็น หรือไม่รับทำประกันเลย เป็นต้น ถ้ายังสุขภาพดี แนะนำให้รีบทำประกันไว้ค่ะ

ข้อควรรู้ก่อนทำประกันสุขภาพ

  1. ประกันสุขภาพ หรืออุบัติเหตุ เป็นเบี้ยสูญเปล่า คือ เราจ่ายเพื่อได้รับความคุ้มครองปีต่อปี ถ้าปีไหนไม่เคลม ก็คือไม่มีการคืนเงินให้ค่ะ เหมือนการทำประกันรถยนต์นั้นเอง
  2. เบี้ยสุขภาพจะปรับขึ้นตามช่วงอายุ ส่วนใหญ่จะปรับขึ้นทุกๆ 5 ปี เช่น เบี้ยจะเท่ากัน ตอนที่เราอายุ 31-35 และปรับขึ้นอีกทีตอนอายุ 36-40 ไปเรื่อยๆ ดังนั้น ต้องวางแผนให้ดีว่า เมื่อเราอายุมากขึ้น เบี้ยจะถูกปรับเป็นเท่าไหร่ เราต้องเตรียมความพร้อมในการจ่ายเบี้ยไว้ล่วงหน้าด้วยนะคะ
  3. ประกันสุขภาพควรทำตอนที่เรายังสุขภาพดี แข็งแรง ไม่มีประวัติสุขภาพค่ะ

สุดท้าย ขอสรุปข้อดีของการทำประกันสุขภาพอีกครั้ง

  1.  โอนถ่ายความเสี่ยงด้านการเงินออกไปให้บริษัทประกันรับผิดชอบแทน โดยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา ไม่ต้องรบกวนเงินเก็บที่อุตส่าห์สะสม และวางแผนไว้เพื่ออนาคต หรือเพิ่มภาระการเงินให้ครอบครัว
  2. เพิ่มโอกาสในการรักษาโรคมากขึ้น ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่พัฒนาตลอดเวลา เทคโนโลยีต่างๆ ตามมาซึ่งราคา ค่าใช้จ่ายในการรักษาจึงสูงขึ้นตาม ถ้าเราทำประกันสุขภาพความคุ้มครองสูงไว้ เราจะมีโอกาสได้รับการรักษาที่ดีขึ้น
  3. เบี้ยประกันสุขภาพ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ไม่เกิน 25,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตจะหักลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้น
ประกันมีแล้วไม่ได้ใช้ ดีกว่าจะใช้แล้วไม่มีนะคะ ?
ขอให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรงค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงิน ประกันสุขภาพ เบี้ยประกันสุขภาพ ซื้อประกันสุขภาพ ตัวช่วยลดหย่อนภาษี
Money Guru
เขียนโดย คุณป้อ (ประกันเข้าใจง่าย) Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)