ออมเงินให้ได้เงินล้าน ต้องทำยังไงบ้าง?

icon 24 มี.ค. 65 icon 3,611
ออมเงินให้ได้เงินล้าน ต้องทำยังไงบ้าง?
"เงินล้าน" เป็นตัวเลขในดวงใจของใครหลายๆ คน แต่การจะไปให้ถึงเงินล้าน อาจจะดูยาก และท้าทายสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องดูแลค่าใช้จ่ายตัวเองแบบ 100% ลำพังแค่ค่าใช้จ่าย ก็แทบไม่เหลือเงินออมแล้ว ค่าครองชีพสูง ค่าน้ำมันก็สูงขึ้นเรื่อยๆ เงินล้านคงเป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก
 
แต่...อย่าเพิ่งหมดความหวังกันไป บทความนี้จะมาแนะนำขั้นตอนการออม และการลงทุนให้เพื่อนๆ สามารถทำตามความฝันที่จะมีเงินล้านได้สำเร็จ จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
 
4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการสร้างเงินล้าน
 
ขั้นตอนที่ 1 ตั้งเป้าหมายให้ชัด
 
เราอยากมีเงินล้านไปเพื่ออะไร บางคนอาจจะอยากมีเพื่อนำไปลงทุนสร้างธุรกิจในอนาคต บางคนอาจจะอยากเก็บเป็นเงินขวัญถุงให้ลูกเมื่อเรียนจบปริญญาตรี หรือบางคนอาจจะอยากมีเพื่อเป็นสัญลักษณ์ทางใจว่าเราประสบความสำเร็จในชีวิตในระดับนึง เมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดแล้ว มาดูขั้นตอนข้อถัดไปกันต่อเลย
 
ขั้นตอนที่ 2 สำรวจรายรับ-รายจ่าย
 
เพื่อนๆ หลายคนอาจจะเคยได้สัมผัสประสบการณ์ในการตั้งเป้าหมาย ทั้งตั้งเป้าหมายปีใหม่ ทั้งเป้าหมายในการดูแลสุขภาพ แต่พอจะลงมือทำ กลับทำได้ยาก จริงๆ แล้วการตั้งเป้าหมายเป็นสิ่งที่ดี แต่จะดีกว่าถ้าเราได้เริ่มลงมือทำด้วย
 
ขั้นตอนแรกในการเริ่มลงมือทำสำหรับเป้าหมายทางการเงิน คือ การสำรวจรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้เรารู้ว่าในแต่ละเดือนรายรับเรามาจากทางไหนบ้าง รายจ่ายเราจ่ายไปกับอะไรบ้าง ซึ่งรายจ่ายแบ่งได้เป็นรายจ่ายคงที่ เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนคอนโด ผ่อนรถ ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าอินเทอร์เน็ต และรายจ่ายผันแปร เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าท่องเที่ยว ค่าช้อปปิ้ง
 
เมื่อได้สำรวจรายรับ-รายจ่ายแล้ว จะเห็นว่าเรามีเงินคงเหลือที่จะนำไปออมเงินในแต่ละเดือนเท่าไหร่ ในกรณีที่เรามีรายได้เพียงทางเดียว การจะเพิ่มเงินออมได้คือการลดรายจ่าย ซึ่งรายจ่ายที่ลดได้ง่ายที่สุดคือรายจ่ายผันแปร ลองปรับลดรายจ่ายดูว่ามีส่วนไหนที่เราพอจะประหยัดลงได้บ้าง จะช่วยให้เรามีเงินออมเพิ่มขึ้น
 
ขั้นตอนที่ 3 วางแผนการลงทุน
 
เมื่อเราสามารถวางแผนเพื่อเก็บเงินออมได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการวางแผนการลงทุน ซึ่งสินทรัพย์การเงินมีหลากหลายระดับความเสี่ยง มาดูกันว่าแต่ละสินทรัพย์จะพาเราไปถึงเงินล้านได้ในกี่ปี
 
 
สมมติว่าเราออมเงินได้เดือนละ 2,500 บาทต่อเดือน จะเห็นว่าถ้าเกิดฝากเงินในออมทรัพย์ดอกเบี้ยพิเศษ ที่ให้ดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี เราจะใช้เวลาถึง 27.2 ปี ในการมีเงินล้าน หากเพิ่มความเสี่ยงมาลงทุนในกองทุนรวมผสม ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 4% ต่อปี เราจะใช้เวลา 21.6 ปีในการมีเงินล้าน แต่หากเราเพิ่มความเสี่ยงมาลงทุนในกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 8% ต่อปี เราจะใช้เวลา 16.9 ปีในการมีเงินล้าน ประหยัดระยะเวลาจากเงินฝากออมทรัพย์ไปได้ถึง 10 ปี
 
สำหรับใครที่เห็นว่ากว่าจะมีเงินล้านต้องใช้เวลาถึง 16.9 ปี แล้วรู้สึกท้อแท้ อย่าเพิ่งถอดใจไปเพราะอย่าลืมว่ารายได้เราไม่ได้คงที่เท่าที่ไปตลอด ในปีแรกๆ เราอาจจะเก็บเงินลงทุนได้เดือนละ 2,500 บาท แต่เวลาผ่านไป หากเรามีรายได้เพิ่มขึ้น หรือ มีรายได้เสริม ก็สามารถนำเงินลงทุนเพิ่มได้ ทำให้ระยะเวลาในการไปถึงเงินล้านสั้นลงเรื่อยๆ
 
ขั้นตอนที่ 4 สร้างวินัยในการลงทุน
 
เพื่อให้เราสามารถลงทุนไปได้ตลอดรอดฝั่ง เราควรลงทุนแบบ DCA หรือการตัดเงินอัตโนมัติทุกๆ เดือน ในจำนวนที่เท่ากัน เพื่อเป็นการสร้างวินัย จะได้ไม่เผลอนำเงินส่วนนี้ไปใช้จ่ายส่วนอื่น

สุดท้ายนี้ทีมงานอยากบอกเพื่อนๆ ทุกคนว่าการออมเงิน และการลงทุนเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าเก็บมากเกินไปจนมีปัญหาสภาพคล่อง ไม่งั้นเป้าหมายของเราจะล้มเอาได้ง่ายๆ ทีมงานขอให้ทุกคนสร้างเงินล้านได้สำเร็จตามใจหวัง
แท็กที่เกี่ยวข้อง ทริคการออมเงิน สร้างเงินล้าน ทริคการออมสำหรับมนุษย์เงินเดือน
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)