อยากวางแผนการเงิน ต้องรู้จักอัตราส่วนอะไรบ้าง?

icon 23 มี.ค. 65 icon 6,516
อยากวางแผนการเงิน ต้องรู้จักอัตราส่วนอะไรบ้าง?
การวางแผนการเงิน เป็นสิ่งที่ทำให้เราเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพคล่อง การที่เรามีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินไว้ ทำให้เรายังสามารถใช้จ่ายได้แม้ไม่มีรายได้ เรื่องชีวิต และสุขภาพ การที่เรามีทำประกันชีวิต และประกันสุขภาพไว้ เวลาที่เราเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล ก็จะมีบริษัทประกันจ่ายค่ารักษาให้กับเรา หรือแม้กระทั่งในวันที่เกิดเหตุไม่คาดฝันในชีวิตเรา ก็ยังมีเงินก้อนส่งต่อให้กับคนข้างหลัง

แต่...สิ่งที่จะเป็นตัววัดว่าแผนการเงินของเรานั้นมีประสิทธิภาพแล้วหรือยัง จะสามารถวัดได้จากอัตราส่วนการเงินส่วนบุคคล (Personal Financial Ratio) บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับ 6 อัตราส่วน ใน 3 มิติที่คนที่อยากวางแผนการเงินต้องรู้จัก จะมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลย
 
มิติที่ 1 รายได้
 
อัตราส่วนความอยู่รอด (Survival Ratio) 
 
อัตราส่วนความอยู่รอด (Survival Ratio) = รายได้รวม/ค่าใช้จ่าย
 
รายได้รวมในที่นี้หมายถึง รายได้จากการทำงาน และรายได้จากทรัพย์สิน เป็นอัตราส่วนที่บอกว่าเราสามารถดำรงชีวิตให้อยู่รอดในแต่ละเดือนได้หรือไม่ อัตราส่วนนี้ถ้ามีค่ามากกว่า 1 แปลว่าอยู่รอด
 
เช่น ถ้ามีเงินเดือนเป็นรายได้ทางเดียวอยู่ที่ 20,000 บาท และมีรายจ่าย 15,000 บาท จะคำนวณออกมาได้เท่ากับ 20,000/15,000 = 1.33 ซึ่งมีค่ามากกว่า 1 หมายความว่าเรายังใช้จ่ายไม่เกินรายได้ สามารถดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้
 
อัตราส่วนความมั่งคั่ง (Wealth Ratio)
 
อัตราส่วนความมั่งคั่ง (Wealth Ratio) = รายได้จากทรัพย์สิน/ค่าใช้จ่าย
 
อีกหนึ่งอัตราส่วนที่ต้องรู้จักคือ อัตราส่วนความมั่งคั่ง เป็นอัตราส่วนที่บอกว่าเราเป็นคนที่มั่งคั่ง และมีอิสรภาพทางการเงินแล้วหรือยัง เพราะรายได้จากทรัพย์สินคือ Passive Income อัตราส่วนนี้ถ้ามีค่ามากกว่า 1 แปลว่าเราเป็นคนที่มีอิสรภาพทางการเงินแล้ว
 
เช่น เรามีคอนโดปล่อยเช่า 15,000 บาทต่อเดือน มีเงินปันผลจากหุ้น และกองทุนรวม 2,000 บาท รวมเป็น 17,000 บาท แต่เรามีรายจ่าย 15,000 บาท ซึ่งคำนวณออกมาได้เท่ากับ 17,000/15,000 = 1.13 มีค่ามากกว่า 1 หมายความว่าเราเป็นคนที่มีอิสรภาพทางการเงินแล้ว
 
มิติที่ 2 สภาพคล่อง
 
อัตราส่วนสภาพคล่องพื้นฐาน (Basic Liquidity Ratio)
 
อัตราส่วนสภาพคล่องพื้นฐาน (Basic Liquidity Ratio) = สินทรัพย์สภาพคล่องรวม/ค่าใช้จ่ายต่อเดือน
 
สินทรัพย์สภาพคล่อง คือ สินทรัพย์ที่มีความรวดเร็วในการนำมาใช้ใกล้เคียงเงินสด เช่น เงินสด เงินฝากธนาคาร กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นอัตราส่วนที่ดูว่าเราจะสามารถมีเงินใช้จ่ายไปได้อีกกี่เดือน หรือหมายถึงเงินสำรองฉุกเฉินนั่นเอง ที่ควรมีเงินส่วนนี้ประมาณ 3-6 เดือน
 
หากเรามีเงินสด เงินฝาก และเงินในกองทุนรวมตลาดเงินที่ 60,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 15,000 บาท เท่ากับว่าเรามีเงินสำรองฉุกเฉินอยู่ที่ 4 เดือน หากยังรู้สึกไม่อุ่นใจ ก็สามารถเก็บเพิ่มจนครบ 6 เดือนได้

อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)
 
อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) = สินทรัพย์สภาพคล่องรวม/หนี้สินระยะสั้น
 
หนี้สินระยะสั้น คือ หนี้สินที่มีระยะเวลาในการชำระหนี้น้อยกว่า 1 ปี เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้สำหรับผ่อนจ่ายสินค้าต่างๆ เป็นอัตราส่วนที่ดูว่าสินทรัพย์สภาพคล่องที่มี จะสามารถจ่ายหนี้ระยะสั้นได้หรือไม่ หากมีค่ามากกว่า 1 หมายความว่าเรายังมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นอยู่
 
มิติที่ 3 หนี้สิน
 
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt to Asset Ratio)
 
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt to Asset Ratio) = หนี้สิน/สินทรัพย์
 
เป็นอัตราส่วนที่ไม่ควรมากกว่า 0.5 หรือหมายความว่าเราไม่ควรมีหนี้สินมากกว่า 50% ของสินทรัพย์ที่มี

อัตราส่วนแสดงความสามารถในการชำระหนี้ (Debt Service Ratio)
 
อัตราส่วนแสดงความสามารถในการชำระหนี้ (Debt Service Ratio) = จำนวนหนี้ที่ต้องชำระ/รายได้
 
เป็นอัตราส่วนที่ไม่ควรมากกว่า 0.4 หรือหมายความว่าไม่ควรมีจำนวนหนี้ที่ต้องชำระมากกว่า 40% ของรายได้เพราะอาจทำให้มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนโทรศัพท์มือถือ ค่าผ่อนรถ ผ่อนบ้าน รวมแล้วไม่ควรเกิน 40%

เมื่อเพื่อนๆ ได้ดูจักกับอัตราส่วนการเงินส่วนบุคคลแล้ว สามารถนำไปคำนวณได้เลย เพื่อดูว่าเราวางแผนการเงินได้มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ทีมงานหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ สามารถมีอิสรภาพการเงินกันทุกคนwink
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงินแบบมืออาชีพ วางแผนการเงินปี 2565 ทริคการเงิน อัตราส่วนทางการเงิน วิธีวางแผนการเงิน
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)