เป้าหมายการเงินแบบนี้ ลงทุนกองทุนรวมแบบไหนดี

icon 9 มี.ค. 65 icon 3,676
เป้าหมายการเงินแบบนี้ ลงทุนกองทุนรวมแบบไหนดี
หลังกลับมาเปิดเมืองรอบนี้ ทีมงานเชื่อว่ามีเพื่อนๆ หลายคนเลยที่กำลังวางแผนเก็บเงินเพื่อซื้อของ เดินทางท่องเที่ยว เรียนต่อ ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด หรือเริ่มวางแผนเก็บเงินไว้ใช้ตอนเกษียณ ไม่ว่าแผนเก็บเงินเพื่อทำอะไรก็ตามก็ต้องมี "เป้าหมาย" 
 
ซึ่งการวางแผนการเงินแต่ละอย่างก็มีเป้าหมาย และระยะเวลาที่ต่างกัน ทำให้รับความเสี่ยงได้ต่างกันอีกด้วย ถ้าเป้าหมายมีความสำคัญ และมีระยะเวลาไม่มากก็ควรหลีกเลี่ยงการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง แต่หากเป้าหมายมีระยะเวลายาวนาน สามารถนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น เพื่อให้มีโอกาสบรรลุเป้าหมายได้มากขึ้น
 
บทความนี้ขอพาเพื่อนๆ ไปดูการเลือกสินทรัพย์การเงินให้เหมาะกับเป้าหมายการเงินกัน ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย
 
ก่อนจะเริ่มลงทุนตามเป้าหมายการเงิน เพื่อนๆ ควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน เป็นเงินที่เก็บเอาไว้ใช้เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น ปัญหาสุขภาพ อุบัติเหตุ หรือตกงาน จะเห็นว่าเงินส่วนนี้อาจถูกนำมาใช้ได้ตลอดเวลา การเก็บเงินสำรองฉุกเฉินจึงควรเป็นไว้ในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ และสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน และกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น
 
เมื่อเพื่อนๆ มีเงินสำรองฉุกเฉินกันแล้ว เรามาเริ่มแบ่งเงินลงทุนเพื่อบรรลุเป้าหมายการเงินต่างๆ กันได้เลย โดยแบ่งเป้าหมายการเงินเป็น 3 แบบ คือ
  1. ต้องการเก็บเงินก้อน
  2. ต้องการรายได้ประจำเพิ่มขึ้น
  3. ต้องการกระจายความเสี่ยง 
ต้องการเก็บเงินก้อน
 
เป้าหมายในการเก็บเงินก้อน ถือเป็นเป้าหมายที่ครอบคลุมเกือบทุกเป้าหมายในชีวิต เช่น ซื้อของ ท่องเที่ยว ซื้อรถ ซื้อบ้าน เรียนต่อ ไปจนถึงเกษียณอายุ จะเห็นว่าบางเป้าหมายอย่างซื้อของหรือท่องเที่ยวก็อาจต้องใช้เงินในอีกไม่กี่ปี แต่บางเป้าหมายก็มีเวลามากขึ้น เช่น ซื้อรถ ซื้อบ้าน เกษียณอายุ ดังนั้นเป้าหมายเพื่อเก็บเงินก้อนแบ่งเป็น 3 แบบ ประกอบด้วย
 
  • เป้าหมายระยะสั้น (< 3 ปี)
    บางคนอาจจะอยากซื้อโทรศัพท์ใหม่ในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยากเก็บเงินดาวน์รถในอีก 1 ปีข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายที่เล็กหรือใหญ่ แต่ด้วยระยะเวลาที่สั้นทำให้ความสำคัญอยู่ที่การเน้นรักษาเงินต้น
    ควรลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น และกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะกลาง เป็นสินทรัพย์ที่เหมาะกับเป้าหมายระยะสั้น เพราะมีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องสูง เมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้เงินก้อนนี้ เงินจะเข้าบัญชีในอีกเพียง 1-2 วันทำการเท่านั้น หลังจากกดคำสั่งขาย และมีผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์
     
  • เป้าหมายระยะกลาง (3-7 ปี)
    เป็นเป้าหมายที่สามารถลงทุนสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงได้มากขึ้น อาจมีบางช่วงเวลาที่เงินต้นขาดทุนบ้าง เหมาะกับการลงทุนในกองทุนรวมผสม ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นหุ้น และตราสารหนี้ทั่วโลก กองทุนอสังหาฯ และ REITs รวมไปถึงสินทรัพย์ทางเลือกอีกหลายประเภท
     
  • เป้าหมายระยะยาว (> 7 ปี)
    ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานจนอาจครอบคลุมทั้งวัฏจักรเศรษฐกิจที่ 7-10 ปี ทำให้ลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงสูงได้มากขึ้น เช่น กองทุนรวมหุ้น หรือ หุ้นที่มีพื้นฐานดี โดยอาจตัดสินใจขายทำกำไรบ้างเมื่อมีกำไรมากกว่า 10% หรือเห็นสัญญาณเศรษฐกิจชะลอตัว 
ต้องการรายได้ประจำเพิ่มขึ้น
 
เป้าหมายการเงินที่ต้องการมีกระแสเงินสดเข้ามาเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน อาจเป็นการเสริมจากรายได้ประจำที่มีอยู่แล้วก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ต้องการกระแสเงินสดเดือนละ 15,000 บาท ผลตอบแทนของสินทรัพย์การเงินที่มีความเสี่ยงปานกลางอยู่ที่ 4% ดังนั้นต้องมีเงินลงทุนประมาณ (15,000 x 12) / 0.04 = 4,500,000 บาท ถือว่าเป็นเป้าหมายการเงินที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง
 
สินทรัพย์ที่เหมาะกับเป้าหมายการเงินนี้ คือ กองทุนรวมหุ้นปันผล และหุ้นปันผล
 
กองทุนหุ้นปันผลที่ทำผลตอบแทนโดดเด่นในกลุ่มกองทุนประเภทเดียวกัน และมีประวัติจ่ายปันผลสม่ำเสมอ เช่น M-MIDSMALL-D (กองทุนหุ้นไทยขนาดเล็กและกลาง) K-USXNDQ-A(D) (กองทุนหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ระดับโลก) SCBGPROP (กองทุนอสังหาริมทรัพย์) เป็นต้น
 
หุ้นปันผลที่มีพื้นฐานธุรกิจที่ดี งบการเงินแข็งแกร่ง เช่น TISCO, LH, SCC, RATCH, CPF เป็นต้น 
 
ต้องการกระจายความเสี่ยง
 
บางเป้าหมายการเงิน แม้จะเป็นเป้าหมายที่มีระยะเวลายาวนานแต่มีความสำคัญมาก เช่น แผนเกษียณอายุ ควรกระจายความเสี่ยง แทนที่จะลงทุนในสินทรัพย์เพียง 1-2 ประเภท เพื่อสร้างผลตอบแทนเป็นบวกในระยะยาว
 
สินทรัพย์การเงินทุกประเภทเหมาะกับเป้าหมายการเงินประเภทนี้ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น และกลาง กองทุนรวมผสม กองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมหุ้นหมวดอุตสาหกรรม ทองคำ และกองทุนอสังหาฯ และ REITs

สุดท้ายนี้การลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายการเงินเป็นสิ่งสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น เพื่อนๆ สามารถเอาวิธีการเลือกสินทรัพย์จากบทความนี้ไปปรับใช้ได้เช่นกัน และที่สำคัญอย่าลืมเก็บเงินก่อนใช้แล้วเอามาลงทุนกันด้วยนะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง กองทุนรวม ลงทุนกองทุนรวม กองทุนอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมผสม กองทุนรวมหุ้น REITs กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)