ขานรับความโชคดีปีขาล 2565 เริ่มต้นปีใหม่ วางแผนการเงินอย่างไรให้ปัง!

icon 8 ก.พ. 65 icon 6,985
ขานรับความโชคดีปีขาล 2565 เริ่มต้นปีใหม่ วางแผนการเงินอย่างไรให้ปัง!
"การวางแผนการเงิน" ถือเป็นเรื่องสำคัญลำดับแรกๆ เมื่อเริ่มต้นปีใหม่นะคะ เพราะด้วยภาวะเศรษฐกิจ ที่ไม่สู้ดีนัก เราควรวางแผนการเงินแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้รับมือกับสถานกาณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที และหลังจากที่เราได้ทบทวนเรื่องราวตลอดปี 2564 ที่ผ่านมา ว่าเราได้มีทำอะไรที่ผิดพลาด หรือมีการวางแผนการเงิน หรือด้านใดไม่รัดกุมบ้างหรือเปล่า และได้ทำอะไรตามเป้าหมายของปี 2564 ไปบ้างแล้ว อะไรที่ยังไม่สำเร็จ เราก็มาเริ่มตั้งเป้าหมายกันใหม่ เพื่อขานรับความโชคดีปีขาล 2565 ปีนี้ กับ 5 ทริค วางแผนการเงินอย่างไรให้ปัง! ไปด้วยกันนะคะ
 
 
1. เช็กบัญชีการเงินของปีที่ผ่านมา และการจดบันทึกรายรับ - รายจ่าย
 
สำหรับเรื่องการจดบันทึกรายรับ - รายจ่าย เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการวางแผนการเงินเลยค่ะ เพราะเราจะได้ทราบว่าตลอดปีที่ผ่านมาเรามีค่าใช้จ่ายในส่วนไหนมากเป็นพิเศษ หรือมีรายรับพิเศษอะไรบ้าง แต่ละเดือนรายรับที่ได้มา เพียงพอกับรายจ่ายหรือไม่ และมีรายจ่ายส่วนไหนที่ไม่จำเป็น หรือรายจ่ายฟุ่มเฟือย เพื่อที่เราจะได้วางแผนการเงินสำหรับปีใหม่ได้อย่างเหมาะสม และเป็นไปตามเป้าหมายที่เราวางไว้นะคะ
 
โดยการจดบันทึกสามารถทำแบบง่ายๆ โดยขอยกตัวอย่างตารางการบันทึกรายรับ - รายจ่ายแบบง่าย ซึ่งเราอาจลงบันทึกใน File Excel เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณได้เลยนะคะ 
 
ตัวอย่างตารางการบันทึกรายรับ - รายจ่ายแบบง่าย
 
เดือน รายการ รายรับ รายจ่าย หมายเหตุ
รายจ่ายต่างๆ (1) เงินออม (2) เงินบริจาค (3)
มกราคม 2565 เงินเดือน 20,000         
ค่าบัตรเครดิต   2,000     จ่ายแล้วเมื่อวันที่ 5 มกราคม 
ฝากประจำปลอดภาษี     1,000   ฝากเมื่อวันที่ 4 มกราคม 
ทำบุญโลงศพ        100 ทำบุญครั้งที่ 1 (ไม่มีใบอนุโมทนาบัตร)
รวมรายรับ 20,000 2,000 1,000 100  
รวมรายจ่าย   (1) + (2) + (3) = 3,100   
คงเหลือ (รายรับ - รายจ่าย) 16,900  
สรุป...ประจำเดือนมกราคม 2565 มีเงินคงเหลือ 16,900 บาท
* เราจะเอาเงินส่วนนี้ไปลงทุนกองทุนรวม ซื้อหุ้น หรือลงทุนอื่นใด เราสามารถ Note ไว้เพื่อเตือนความจำให้เราได้อีกทางหนึ่งนะคะ
กุมภาพันธ์ 2565            
 
และเมื่อถึงสิ้นปี หากเรามีการบันทึกข้อมูลรายรับ - รายจ่าย ของเราตลอดปีอย่างสม่ำเสมอ เราสามารถมารีเช็กได้เลยค่ะว่าตลอดปีที่ผ่านมาเราได้ใช้จ่ายอะไรไปบ้าง จำเป็น ไม่เป็น และอะไรที่เป็นค่าใช้จ่ายประจำ ค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง ซึ่งเราก็จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวางแผนการเงินสำหรับปีใหม่ได้อย่างง่ายดายเลยค่ะ 
 
2. เช็กภาระหนี้สินที่ยังคงค้าง
 
เมื่อเริ่มต้นปีใหม่ เราควรเช็กยอดภาระหนี้ที่เรายังคงคั่งค้างอยู่จากปีที่ผ่านมา เช่น ยังมีผ่อนสินค้าอะไรอยู่หรือไม่  เหลือที่ต้องจ่ายอีกกี่เดือน หากใครมีภาระผ่อนบ้าน ผ่อนคอนโด ก็ลองรีเช็กกับทางสถาบันการเงิน หรือเช็กใบเสร็จจากยอดที่จ่ายไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ว่าเรายังมีหนี้ค้างอยู่อีกเท่าไหร่ และลองประมาณการดูว่า เราอาจจะต้องใช้ระยะเวลาอีกนานเท่าไหร่ในการจ่ายหนี้ก้อนนี้ หรือกว่าที่เราจะเป็นอิสระจากภาระหนี้สินทั้งหมดที่มี จะได้เอาข้อมูลมาวางแผนหาช่องทาง โปะ จ่ายเพิ่มเพื่อลดหนี้ได้
 
3. เช็กเงินสำรองฉุกเฉินที่ควรมี กรณีขาดรายได้
 
เงินสำรองฉุกเฉิน หมายถึง เงินที่มีสภาพคล่องสูง สามารถเบิกถอนนำมาใช้ได้ง่าย และรวดเร็ว เช่น เงินฝากธนาคาร ที่เราจะสามารถนำมาใช้จ่ายได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุจำเป็นฉุกเฉิน ซึ่งเหตุฉุกเฉินในที่นี้ ไม่ได้หมายความถึงเรื่องการเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุเท่านั้นนะคะ ด้วยสถานการณ์ช่วงโควิด-19 ภาวะเศรษฐกิจต่างๆ ไม่สู้ดีนัก เราอาจหมายความรวมไปถึงกรณีการถูกลดเงินเดือน การถูกเลิกจ้าง หรือเหตุฉุกเฉินอื่นใดที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย ซึ่งอย่างน้อยเราควรมีเงินสำรองฉุกเฉินไว้ประมาณ 3 - 6 เดือนขึ้นไปเลยค่ะ
 
และเราสามารถประเมินได้ว่าเราควรมีเงินสำรองฉุกเฉินเท่าไหร่ได้ง่ายๆ โดยการประเมินค่าใช้จ่ายต่อเดือนของตัวเอง ว่าหากเราขาดรายได้ใน 1 เดือน เรามีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าบัตรเครดิต รวมถึงยอดหนี้ที่เราต้องผ่อนในแต่ละเดือน ได้ยอดเท่าไหร่ก็ลองคูณไป  3 เดือน 6 เดือน ก็จะเป็นยอดเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อยที่เราควรมีนะคะ
 
ตัวอย่างการคำนวณเงินสำรองฉุกเฉิน 
 
เริ่มด้วยการประเมินค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของตนเอง โดยดูจากค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตก่อน เช่น
  • ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (เช่น ค่ากิน ใช้ เดินทาง อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) เดือนละ 15,000 บาท
  • หนี้สินคงค้างที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน (เช่น ยอดผ่อนสินค้า ค่าบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล เป็นต้น) เดือนละ 4,000 บาท
  • ให้พ่อแม่ เดือนละ 5,000 บาท
*ดังนั้น เราควรมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อยเดือนละ 24,000 บาท
 
จากตัวอย่างค่าใช้จ่ายข้างต้น จะเห็นได้ว่า เราต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อยเดือนละ 24,000 บาท ซึ่งก็คือยอดเงินที่เราต้องมีเพื่อที่จะสามารถใช้ชีวิตในแต่ละเดือนได้ และหากเราถูกเลิกจ้าง หรือตกงาน เราก็ควรคำนวณเงินสำรองส่วนนี้ไว้อย่างน้อย 3 - 6 เดือน จนกว่าเราจะหางานใหม่ได้ หรือมีช่องทางหารายได้เพิ่มเข้ามาได้อีกนะคะ
 
4. เช็กความสามารถของตนเอง ว่าสามารถหารายได้เพิ่มจากช่องทางไหนได้บ้าง
 
เริ่มต้นปีใหม่ เราอาจจะเริ่มรีเช็กความสามารถของเราว่า นอกจากความสามารถในการทำงานปัจจุบันที่เราทำอยู่ เรายังมีความสามารถอื่นใด ที่จะช่วยก่อให้เกิดรายได้เพิ่มกับเราได้อีกบ้าง เช่น เราสามารถถ่ายรูปได้ ทำอาหารได้ หรือชอบพูดคุย แนะนำ ชอบขายของ ฯลฯ เราสามารถสร้างอาชีพรองให้กับตนเองเพิ่มสร้างรายได้ทางที่ 2 ไว้รองรับการใช้จ่าย หรือเพื่อเก็บออมให้ได้มากขึ้น และอาจจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินของเราได้เร็วยิ่งขึ้นนะคะ
 
5. เช็กช่องทางให้เงินทำงาน
 
หลังจากที่เราลงแรงทำงานหาเงินมาได้แล้ว การจะแค่เก็บออมไว้เฉยๆ หรือฝากเงินไว้กับธนาคารเพียงอย่างเดียวอาจทำให้เงินที่มีผลิดอกออกผลช้าไปหน่อยค่ะ เราลองหาช่องทางให้เงินทำงานให่เราบ้าง ลองดูว่าเราได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องของการลงทุนเพิ่มเติมบ้างหรือยัง ถึงแม้การลงทุนจะมีความเสี่ยงแต่หากเราศึกษา และทำความเข้าใจให้ดีแล้ว เราอาจจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่มากกว่าการเก็บออมไว้เฉยๆ ก็เป็นได้ค่ะ (ตัวอย่างกองทุนรวมลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจ เลือกให้ดี กองทุนรวมลดหย่อนภาษีปี 2565 ตัวไหนดี ตัวไหนน่าสนใจ)
*อย่าลืมศึกษาข้อมูลการลงทุนให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนนะคะ
ได้ทริควางแผนการเงินกันแล้ว เริ่มวางแผนกันตั้งแต่ต้นปี ใครสามารถจัดการบริหารการเงินได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ก็เตรียมตัวขานรับความปังกันได้เลยค่ะ ขอให้ทุกคนสู้ๆ กับทุกวิกฤติที่ผ่านเข้ามา และประสบความสำเร็จกับทุกเป้าหมายที่วางไว้กันเลยนะคะ :)
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงิน วางแผนการเงินแบบมืออาชีพ วางแผนการเงินปี 2565 ทริคการเงิน
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)