มัดรวมมาให้แล้ว...ลดหย่อนภาษี 2564 มีอะไรบ้าง?

icon 3 ก.พ. 65 icon 8,506
มัดรวมมาให้แล้ว...ลดหย่อนภาษี 2564 มีอะไรบ้าง?
ใกล้สิ้นปีอีกแล้ว สำหรับเพื่อนๆ มนุษย์เงินเดือน เตรียมพร้อมในเรื่องการลดหย่อนภาษีกันดีหรือยังคะ?  ว่าแต่ปีนี้มีอะไรลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้บ้าง เรารวบรวมมาให้แล้ว…โดยจะขอจัดแยกค่าลดหย่อนต่างๆ ออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
 
1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว และครอบครัว  มีรายละเอียดดังนี้
 
 
  1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท เป็นค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่นภาษีทุกคน
  2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท เป็นค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย โดยจะได้สิทธิ์ลดหย่อนข้อนี้เมื่อคู่สมรสไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้แต่เลือกยื่นแบบคำนวณภาษีรวมกัน
  3. ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินท้องละ 60,000 บาทต่อปี โดยค่าใช้จ่ายที่สามารถนำไปลดหย่อนได้ มีดังนี้
    - ค่าตรวจ และรับฝากครรภ์
    - ค่าบำบัดทางการแพทย์
    - ค่ายา และค่าเวชภัณฑ์
    - ค่าทำคลอด
    - ค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล
    ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายข้างต้นจะจ่ายให้สถานพยาบาลของรัฐ หรือเอกชนก็ได้ และแม้ว่าการตั้งครรภ์นั้นสุดท้ายจะแท้งไป ก็ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้  และในส่วนของสิทธิ์การลดหย่อนภาษี ในกรณีที่สามี-ภรรยายื่นภาษีรวมกัน ผู้ยื่นภาษีหลักจะได้สิทธิ์ลดหย่อนนี้ แต่หากแยกกันยื่นภาษี ภรรยาจะเป็นผู้มีสิทธิ์ได้ค่าลดหย่อนในส่วนนี้ 
  4. ค่าลดหย่อนบุตร เป็นค่าลดหย่อนแบบเหมาสำหรับคนที่มีบุตร โดยสามารถลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาทต่อปี แต่หากมีบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป (กรณีเป็นบุตรโดยอบด้วยกฎหมายที่เกิดในปี 2561 หรือหลังจากนั้น) สามารถนำไปใช้เป็นค่าลดหย่อนเพิ่มเป็นคนละ 60,000 บาทต่อปี 
    - กรณีเป็นบุตรโดยด้วยกฎหมาย สามารถใช้สิทธิ์ได้ไม่จำกัด 
    - กรณีเป็นบุตรบุญธรรม สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท (จำกัดไม่เกิน 3 คน)
    - กรณีมีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และบุตรบุญธรรม การใช้สิทธิหักลดหย่อนจะดูจากบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ยังมีชีวิตอยู่ก่อน โดยนับจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุสูงสุดของบุตร โดยนับรวมทั้งบุตรที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการหักลดหย่อนด้วย เมื่อครบ 3 คนแล้ว จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนบุตรบุญธรรมได้ แต่ถ้ายังไม่ครบ จะสามารถใช้สิทธิ์หักลดหย่อนบุตรบุญธรรมได้อีกคนละ 30,000 บาท
  5. ค่าลดหย่อนบิดามารดา เป็นค่าลดหย่อนแบบเหมาต่อพ่อ หรือแม่ 1 คน โดยได้สิทธิ์ลดหย่อนคนละ 30,000 บาทต่อปี สามารถหักลดหย่อนพ่อแม่ได้สูงสุด 4 คน (พ่อแม่ของตนเอง และพ่อแม่ของคู่สมรส) และในกรณีที่พ่อ หรือแม่เสียชีวิตระหว่างปีก็สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีสำหรับปีภาษีที่เสียชีวิตได้ โดยการใช้สิทธิลดหย่อนบิดามารดา 1 คนเท่ากับ 1 สิทธิ์ถ้ามีการใช้สิทธิ์ซ้ำซ้อนจะไม่มีใครได้สิทธิ์หักลดหย่อนเลย 
  6. ค่าอุปการะคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ สำหรับผู้เสียภาษีที่เลี้ยง และดูแลคู่สมรส ลูก หรือพ่อแม่ที่พิการ หรือทุพพลภาพ สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อคนต่อปี และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี รวมถึงต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ พร้อมหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะด้วย
    และหากเป็นกรณีที่เป็นการดูแลคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ และมีความพิการด้วย จะสามารถหักลดหย่อนคู่สมรสได้ 60,000 บาท และสามารถหักลดหย่อนผู้พิการได้อีก 60,000 บาท รวมเป็น 120,000 บาท
2. ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน ซึ่งนอกจากเราจะได้ประโยชน์จากการออม และการลงทุนแล้ว เรายังได้สิทธิประโยชน์ในเรื่องของการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมอีกด้วยค่ะ มีรายละเอียดดังนี้
 
 
  1. ประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี (750 บาทต่อเดือน) แต่สำหรับปี 2564 มีการปรับลดอัตราเงินสะสมประกันสังคม เราก็สามารถหักลดหย่อนได้ตามยอดที่จ่ายจริงเลยค่ะ 
  2. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป รวมถึงเงินฝากแบบมีประกันชีวิต สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี  (และในกรณีที่คู่สมรสไม่มีเงินได้เราสามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท)
  3. เบี้ยประกันสุขภาพสำหรับตนเอง สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท  และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป และเงินฝากแบบมีประกันแล้ว จะต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  4. เบี้ยประกันสุขภาพของบิดา มารดา สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี สำหรับคนที่จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
  5. เงินสะสมกองทุนสำหรองเลี้ยงชีพ กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินเดือน หรือไม่เกิน 500,000 บาท 
  6. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท โดยในการซื้อกองทุน RMF เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะต้องทำตามเงื่อนไข ดังนี้
    - ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อย ปีเว้นปี 
    - ในปีที่จะต้องซื้อกองทุน RMF จะซื้อกองเดียว หรือหลายกองก็ได้ และจะซื้อกองเดิมกับปีก่อน หรือต่างกองก็ได้
    - ต้องถือหน่วยลงทุนไว้อย่างน้อย 5 ปี และไม่ขายจนกว่าตัวเองจะอายุครบ 55 ปี เสียชีวิต หรือทุพพลภาพก่อน
    *หากทำผิดเงื่อนไขจะต้องคืนสิทธิ์ยกเว้นภาษีที่เคยใช่ลดหย่อน RMF ตั้งแต่ตอนซื้อครั้งแรกพร้อมเงินเพิ่ม และเสียภาษีกำไรที่ได้รับจากการขาย RMF นั้นด้วย
  7. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท โดยเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และ RMF จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  8. เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 13,200 บาท และเมื่อรวมกับ กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน RMF และเบี้ยประกันแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  9. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท โดยเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน RMF เบี้ยประกันแบบบำนาญ กอช.แล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
3. ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์
 
 
ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และหากเป็นการกู้ร่วมกัน ให้เฉลี่ยดอกเบี้ยคนละเท่าๆ กัน
 
4. ค่าลดหย่อนในส่วนของค่าธรรมเนียม
 
 
ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนเพิ่มได้อีก 1 เท่าของที่จ่ายจริง สำหรับค่าธรรมเนียมการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิตระหว่างวันที่ 1 พ.ย. 2559 - 31 ธ.ค. 2564 การรับชำระเงินจากค่าเช่า ค่าวิชาชีพอิสระ ค่ารับเหมาทั้งค่าแรง และค่าของ หรือเงินได้จากการประกอบธุรกิจอื่นๆ ที่มีรายได้รวมกันแล้วไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี
 
5. ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค
 
 
  1. เงินบริจาคให้พรรคการเมือง ใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป
  2. เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษี โดยสามารถบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ได้
  3. เงินบริจาคทั่วไป หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษี และเงินบริจาคในกลุ่มแรก โดยปกติจะเป็นเงินบริจาคให้กับวัด สภากาชาดไทย สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรืออาค์การของรัฐบาล สถานศึกษาเอกชน สถานสาธารณกุศล และกองทุนสวีสดิการภายใน ส่วนราชการ และกองทุน ทั้งนี้ สามารถบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ได้
     *สามารถตรวจสอบรายชื่อองค์กรการกุศลที่มีสิทธิขอหักลดหย่อนเงินบริจาคได้ที่  www.rd.go.th

เมื่อทราบรายละเอียดของสิทธิลดหย่อนภาษีที่เราจะสามารถใช้ได้แล้ว ลองวางแผนจัดการภาษีกันให้ดีๆ นะคะ เพราะนอกจากจะได้ใช้จ่ายเงินให้ตรงตามเป้าหมายของเราแล้ว ยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มก็จะช่วยลดจำนวนเงินภาษีที่เราต้องจ่ายต่อปีได้อีกด้วยค่ะ :)
 
ขอบคุณข้อมูลจาก www.itax.in.th และกรมสรรพากร
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนภาษี สิทธิลดหย่อนภาษี ลดหย่อนภาษี 2564
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)