To do List ใช้บัตรเครดิตอย่างไรให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

icon 11 ม.ค. 65 icon 5,498
To do List  ใช้บัตรเครดิตอย่างไรให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ
ตามที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ สมาคมธนาคารไทย ได้มีการชี้แจงกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติ ผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของลูกค้าจำนวนมาก เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2564 ว่าไม่ได้เกิดจากการรั่วไหลของข้อมูลจากระบบธนาคาร โดยสาเหตุสำคัญเกิดจากการที่มิจฉาชีพสุ่มข้อมูลบัตร และนำไปสวมรอยทำธุรกรรมผ่านร้านค้าออนไลน์ต่างประเทศ ที่ไม่มีการใช้ One Time Password (OTP) โดยตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม มีบัตรที่มีการใช้งานผิดปกติจากเหตุข้างต้นจำนวน 10,700 ใบ ซึ่งเป็นรายการใช้จากบัตรเดบิตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการใช้งานส่วนใหญ่มีจำนวนเงินต่อรายการต่ำ เช่น 1 USD และมีการใช้เป็นจำนวนหลาย ๆ ครั้ง 
 
ทำให้เราในฐานะผู้ใช้บริการบัตรเครดิต/บัตรเดบิตต้องหันกลับมาใส่ใจ และดูแลการใช้จ่ายของตนเองกันมากขึ้นค่ะ เพราะ ในยุคสังคมไร้เงินสดเช่นทุกวันนี้ การใช้บัตรเครดิต/บัตรเดบิต หรือการบริการการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) ถือเป็นตัวเลือกที่สะดวกมากๆ สำหรับคนที่อยากจะหลีกเลี่ยงการใช้เงินสด และลดการสัมผัสค่ะ แต่…เราก็ต้องระมัดระวังในเรื่องของมิจฉาชีพ ที่คอยอาศัยช่องโหว่ทางการเงิน จากการทำธุรกรรมเหล่านี้ด้วย และวันนี้เรามีทริคง่ายๆ ในการใช้บัตรเครดิตให้ปลอดภัย มาฝากกันนะคะ 
 
10 ข้อต้องรู้... ใช้บัตรเครดิตอย่างไรให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ
1. เซ็นชื่อหลังบัตรทันที เมื่อได้รับบัตรเครดิตใบใหม่ เพื่อป้องกันผู้อื่นแอบนำบัตรของเราไปใช้
2. อย่าปล่อยให้บัตรเครดิตคลาดสายตา โดยเฉพาะเวลาเติมน้ำมันที่ปั๊ม หรือการรูดซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า ให้คอยสังเกต หรือเดินตามไปดูเวลาพนักงานนำบัตรไปรูดทุกครั้ง
3. เช็กยอดเงินก่อนเซ็นชื่อทุกครั้ง เวลาใช้จ่ายซื้อสินค้าควรตรวจสอบจำนวนเงินในเซลล์สลิปว่าตรงกับราคาสินค้าที่เราซื้อหรือไม่ ก่อนเซ็นชื่อทุกครั้ง 
4. ปกปิดรหัส CVV เลข 3 หลัก ด้านหลังบัตร เพราะรหัส CVV เป็นรหัสการยืนยันตัวตนที่ใช้ในการทำธุรกรรม หรือชำระเงินออนไลน์
5. ทำธุรกรรมออนไลน์กับเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือเท่านั้น สำหรับการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต ควรเลือกเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ที่ต้องมีการใช้รหัสผ่าน OTP ในขั้นตอนของการชำระเงิน เป็นต้น 
6. แนะนำให้เลือกบัตรเครดิตที่มีวงเงินน้อยที่สุด สำหรับไว้ใช้ทำธุรกรรมออนไลน์ เพราะหากเราพลาดตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพจริงๆ ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะอยู่ในวงเงินไม่สูงมากนัก
7. ตรวจสอบความถูกต้องของรายการธุรกรรมกับใบแจ้งหนี้ทุกเดือน เก็บสลิปบัตรเครดิตของทุกรายการที่ใช้จ่าย เพื่อไว้เปรียบเทียบกับใบแจ้งยอดบัญชีที่ธนาคารส่งมาให้ตอนสิ้นเดือน ว่าตรงกันหรือไม่
8. ตั้งค่าการแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต โดยตั้งค่าการแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชั่นบัตรเครดิต หรืออีเมล เพื่อที่เราจะได้รับการแจ้งเตือนทุกครั้งเมื่อมีการตัดเงินจากบัตรเครดิตของเรา 
9. อายัดบัตรเครดิต และโทรแจ้ง Call Center ของธนาคารทันที เมื่อพบรายการแจ้งเตือน หรือรายการเรียกเก็บเงินผิดปกติ 
10. สมัครบริการ Verified by Visa , MasterCard SecureCode™ และ JCB J/Secure ซึ่งเป็นบริการในการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยใช้รหัสผ่าน (Password) และ
  • ข้อความยืนยันส่วนตัว (Personal Assurance Message: PAM) ของ Verified by Visa สำหรับบัตรวีซ่า 
  • ข้อความยืนยันส่วนตัว (Personal Greeting) ของ MasterCard SecureCode™ สำหรับบัตรมาสเตอร์การ์ด 
  • Verified by JCB สำหรับบัตรเจซีบี
โดยลูกค้าจะมั่นใจว่ากำลังทำรายการใช้จ่ายผ่านร้านค้า e-Commerce ที่ลงทะเบียน ไว้กับ VISA / Mastercard® / JCB อย่างถูกต้อง เพื่อให้การทำธุรกรรมบนอินเอร์เน็ตไม่มีสะดุด และผู้ใช้สามารถมั่นใจกับการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล สร้างความอุ่นใจให้มากยิ่งขึ้น (ขอบคุณข้อมูลจาก www.aeon.co.th) 
 
ทำอย่างไรเมื่อตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

หากเราตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เราทำบัตรเครดิตหาย หรือ ถูกขโมย หรือแม้แต่การถูกนำเลขบัตรเครดิตไปใช้ เราจะสามารถจัดการปัญหาเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ 
 
 
1. แจ้งอายัดบัตรเครดิตทันทีเมื่อรู้ตัวว่าบัตรหาย หรือมีรายการทำธุรกรรมผิดปกติ โดยสามารถแจ้งผ่านคอลเซ็นเตอร์ (Call Center) ของธนาคารหรือสถาบันการเงินเจ้าของบัตร ซึ่งเจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์จะส่งแบบฟอร์มเอกสารร้องเรียน และปฏิเสธการจ่ายให้กรอกข้อมูล ให้เรารีบดำเนินการทันที หรือในกรณีที่เราเปิดใช้บริการแอปพลิเคชันบัตรเครดิตของธนาคาร บางธนาคารเราสามารถทำรายการระงับการใช้งานบัตรชั่วคราวเองได้ เราสามารถทำรายการผ่านแอปพลิเคชัน แล้วค่อยโทรแจ้งคอลเซ็นเตอร์ เพื่อจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกขโมยใช้งานเป็นลำดับถัดไปได้นะคะ
 
2. แจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าบัตรเครดิตหาย หายเมื่อไหร่ หายที่ไหน
 
3. ตรวจสอบรายการเรียกเก็บเงินในใบแจ้งหนี้ ว่ามีรายการธุรกรรมที่เราไม่ได้เป็นผู้ใช้หรือไม่ ถ้าไม่มีการเรียกเก็บเงินก็ถือว่าจบเรื่องค่ะ แต่...ถ้ามีการเรียกเก็บเงินรายการแปลกๆ เราสามารถดำเนินการดังต่อไปนี้
3.1) ทำหนังสือปฏิเสธรายการเรียกเก็บเงินที่เราไม่ได้ใช้ และแนบสำเนาใบลงบันทึกประจำวัน ส่งไปยังธนาคารหรือสถาบันการเงินเจ้าของบัตร ณ สำนักงานใหญ่ โดยส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ถึง ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือ ตำแหน่งอื่นๆ ที่เทียบเท่า
3.2) เก็บเอกสารทั้งหมดไว้เป็นหลักฐาน
3.3) ชำระหนี้บัตรเครดิตตามรายการที่ได้ใช้จ่ายจริง ยกเว้นหนี้ที่เกิดจากบัตรสูญหายหรือถูกขโมย เช่น เรามีรายการใช้บัตรเครดิต 5,000 บาท แต่ถูกขโมยใช้ 10,000 บาท เราก็ชำระเพียงส่วนที่เราใช้จริง 5,000 บาท
3.4) ทุกครั้งที่ธนาคารแจ้งให้ชำระหนี้รายการที่ไม่ได้ใช้งานจริง ให้ทำหนังสือแจ้งปฏิเสธรายการที่ไม่ได้ใช้ทุกครั้ง (ตัวอย่างบทความ "บัตรเครดิตโดนเรียกเก็บเงินไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นธรรม เราจะ "ปฏิเสธรายการใช้บัตรเครดิต" ยังไงได้บ้าง?")
3.5) ถ้าถูกฟ้องคดี ต้องสู้คดี ให้เตรียมตัวในการสู้คดีด้วย อย่าละเลยหรือปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจมีคำพิพากษาให้เราต้องชำระเงินได้ หากเราไม่สู้คดี

เอกสารที่ต้องเก็บเป็นหลักฐาน
1. สำเนาหนังสือปฏิเสธรายการใช้บัตรเครดิต หรือ หนังสือทักท้วงการใช้บัตรเครดิต
2. สำเนาภาพถ่ายบัตรเครดิตใบที่เกิดปัญหา (ถ้ามี)
3. ใบแจ้งหนี้บัตรเครดิต (ถ้ามี)
4. ใบไปรษณีย์ตอบรับ
5. เอกสารที่ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน

อย่างไรก็ตาม เราควรระมัดระวังตัวเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากการทำธุรกรรมเหล่านี้ โดยตรวจสอบการทำธุรกรรมของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และระมัดระวังในเรื่องของการผูกบัตรเครดิต หรือเดบิตในการทำธุรกรรมออนไลน์ โดยเฉพาะกับเว็บไซต์ หรือแพลตฟอร์มที่มีความเสี่ยง เช่น เกมออนไลน์ รวมถึงแพลตฟอร์มที่ไม่มีการยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้งาน หรือไม่มี OTP นะคะ  
 
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากธนาคารแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (consumerthai.org)
 
แท็กที่เกี่ยวข้อง บัตรเครดิต สมัครบัตรเครดิต สมัครออนไลน์ กลโกงบัตรเครดิต ภัยออนไลน์
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)