ถอดบทเรียนนอกตำรา ของนักบัญชีมืออาชีพ - วางแผนการเงินอย่างไร ให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤติโควิค

icon 4 ต.ค. 64 icon 13,121
ถอดบทเรียนนอกตำรา ของนักบัญชีมืออาชีพ - วางแผนการเงินอย่างไร ให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤติโควิค
 

ถอดบทเรียนนอกตำรา ของนักบัญชีมืออาชีพ - วางแผนการเงินอย่างไร ให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤติโควิค

ผ่านกันมาหลายระลอกสำหรับวิกฤตโควิด มาระลอกนี้ก็ถือว่าจัดหนักพอสมควรเลยนะคะ กิจการ ร้านค้าต่างๆ ก็ทยอยปิดตัวลงไปบ้างแล้ว ใครพอสู้ไหวก็ยังคงกัดฟันสู้กันต่อไป ส่วนคนที่ทำงานประจำก็ต้อง Work Form Home บ้าง บางกิจการก็ขอปรับลดเงินเดือนพนักงานลง หากใครมีการวางแผนการจัดการการเงินของตัวเองมาเป็นอย่างดีตลอด ก็อาจจะได้รับผลกระทบน้อยหน่อย วันนี้...เราจะพามาพูดคุยกับนักบัญชีมืออาชีพ คุณรวิพัฒน์ จินตกสิกรรม "คุณเบิร์ด" นักบัญชีที่เรียกได้ว่า มีวิถีชิวิตกับการจัดการวางแผนการเงินมาโดยตลอด คุณเบิร์ดจะมีแนวทางการรับมือ และจัดการกับปัญหาวิกฤตนี้อย่างไรให้รอด มาติดตามกันค่ะ
รู้จักประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา และประวัติการทำงาน
คุณรวิพัฒน์ จินตกสิกรรม "คุณเบิร์ด" จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ในสาขาบัญชี ปัจจุบันทำงานด้านบัญชี ตำแหน่งรองผู้จัดการบัญชี บริษัทเอกชนชื่อดังแห่งหนึ่ง เป็นนักวางแผนการเงิน และตัวแทนประกันชีวิตระดับ MDRT ของบริษัท AIA วันนี้...เราจะมาคุยกับคุณเบิร์ดในเรื่องแนวคิด และจัดการวางแผนการเงิน ในยุคโควิด-19 ว่านักบัญชีเค้ามีแนวคิด และการจัดการเรื่องนี้อย่างไรบ้าง ทั้งในเรื่องของการทำงาน รวมไปถึงการวางแผนการเงินนะคะ
วิกฤติโควิด - 19 ส่งผลกระทบกับการทำงานอย่างไรบ้าง
ต้องยอมรับครับว่าวิกฤตนี้ก็ถือว่าหนักหนาพอสมควรเลย และส่งกระทบกับการใช้ชีวิตของเราเป็นอย่างมาก ที่เห็นได้ชัดก็คือการที่เราต้อง Work From Home ซี่งทำให้พบความยากลำบากในเรื่องของการติดต่อสื่อสารที่ทำได้ยากขึ้น การอนุมัติเอกสารต่างๆ ที่ปกติเราสามารถอนุมัติบนกระดาษได้ ก็ต้องหาวิธีการทำงานใหม่ที่เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ยังสามารถทำงานได้และไม่กระทบต่อ business และยิ่งในส่วนของตัวแทนประกันที่ส่วนมากเราต้องออกไปพบลูกค้า แต่ตอนนี้ไม่สามารถออกไปได้เพราะด้วยสถานการณ์แล้ว ก็ยิ่งทำให้การทำงานยากขึ้นไปอีกขั้นครับ
มีการวางแผนการเงินเพื่อรับมือภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างไร
ผมโชคดีตรงที่ผมจบทางด้านบัญชีมา และมีประสบการณ์ด้านการวางแผนให้กับทั้งบริษัท และลูกค้า ทำให้ส่วนตัวได้เตรียมการรองรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเช่นนี้ไว้ล่วงหน้า ผมมีการวางแผนสร้าง Passive Income สร้างรายได้จากหลายช่องทาง เลยไม่ค่อยได้รับผลกระทบในส่วนนี้มากนัก โดยผมเริ่มต้นจากรู้ตัวเราก่อนครับ โดยมีการทำบัญชี รายรับ-รายจ่ายของครอบครัว ต้องรู้ว่าเรามีรายจ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ อะไรเป็นรายจ่ายจำเป็น อะไรเป็นรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และรายได้ต้องมีเท่าไหร่ อย่างน้อยการที่เรารู้ตัวเราเอง ทำให้เราประเมินศักยภาพของตัวเองได้ว่าเราควรทำอะไร เพื่อบริหารการเงินในสถานการณ์ต่างๆ ครับ
บทเรียนจากในตำรา และนอกตำรา มีส่วนไหนที่นำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันบ้าง
ถ้าพูดถึง "บทเรียน" ผมไม่ได้หมายถึงการเรียนในห้องเรียน อย่างเดียวนะครับ อาจจะหมายรวมถึงการที่เราหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านหนังสือด้วย ซึ่งสิ่งที่ผมได้นำมาปรับใช้ส่วนมากจะเป็น mind set มากกว่าครับ คือ ในเมื่อเหรียญมีสองด้าน สถานการณ์ต่างๆ ก็มี 2 ด้านเช่นกัน ดังนั้นผมจะเลือกมองในด้านที่เป็นพลังเพื่อขับเคลื่อนตัวเราไปข้างหน้า มันจะมีประโยชน์อะไรครับหากเราเอาแต่จมอยู่กับกับสิ่งที่เป็นด้านลบ ซึ่งก็จะมีแต่ทำให้เราถอยหลังไปเรื่อยๆ
อีกอย่างที่ผมนำมาปรับใช้คือ การประเมินสถานการณ์ต่างๆ ย่อมมีทั้ง best case และ worse case ดังนั้น เราจะเตรียมแผนรองรับหากเกิดเหตุการณ์เลวร้ายที่สุดได้อย่างไร ด้วยการคิดแบบนี้ทำให้การใช้ชีวิตมีความยืดหยุ่นมากขึ้นครับ
มีอะไรที่อยากทำเพิ่ม และคิดว่าจะเป็นประโยชน์ ในเรื่องการวางแผนการเงินบ้าง
ตอนนี้สิ่งที่อยากทำเพิ่ม ก็จะเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ การมีส่วนช่วยวางแผนการเงินให้กับคนอื่นครับ คือปัจจุบันมีคนไทยที่รู้จักการวางแผนการเงินแบบถูกวิธี และรู้จริงผมว่ามีน้อยครับ ส่วนมากจะคิดว่าการวางแผนการเงิน คือการเก็บเงิน ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็ไม่ถูกซะทีเดียวนะครับ เพราะคนส่วนมากยังมองภาพเงินเฟ้อไม่ออกครับว่าอีก 20 ปี หรือ 30 ปีข้างหน้า เงินที่เค้าเก็บในวันนี้จะเพียงพอดูแลเค้าได้ไปตลอดชีวิตหรือไม่ และคนส่วนมากก็จะคิดเรื่องนี้ตอนใกล้ๆ เกษียณครับ ซึ่งผมบอกได้เลยว่า การวางแผนการเงินต้องใช้เวลา ดังนั้น จุดนี้จึงเป็นจุดที่ผมอยากเข้าไปช่วยดูแลมากที่สุดครับ
ส่งกำลังใจให้ผู้ประสบปัญหา ทั้งเรื่องการเงิน และผลกระทบจากวิกฤติโควิด - 19
ครับ ก็อยากจะให้กำลังใจทุกคนนะครับว่า ทุกปัญหาที่เข้ามา มันย่อมต้องผ่านพ้นไป ไม่มีปัญหาใดอยู่กับเราไปตลอดกาลครับ โควิดก็เช่นกัน วันนึงโรคนี้ก็ต้องจากไป หรือทุเลาลง อาจจะกลายเป็นเหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ธรรมดาโรคหนึ่งที่เราทุกคนก็แค่ฉีดวัคซีนเพื่อลดผลกระทบ ฉีดแล้วเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ไหม คำตอบก็คือเป็นได้ แต่ไม่รุนแรง ดังนั้น ผมอยากเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้ทุกคนสู้ และฝ่าฟันอุปสรรคนี้ไปด้วยกันครับ 
บทสรุป"บทเรียนทั้งใน และนอกตำราเรียน" สามารถนำมาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตได้อย่างไร และข้อเสนอแนะสำหรับคนที่ไม่ได้เรียนด้านบัญชี ที่จะสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง
ไม่ว่าจะเป็นบัญชี หรือการเรียนในสาขาวิขาใดก็ตาม นั่นเป็นการเรียนรู้ที่สร้างอาชีพให้เราครับ แต่ใช่ว่านักบัญชี หรือคนที่เรียนจบมาแล้วทุกคนจะประสบความสำเร็จ มีอยู่ 3 สิ่งครับที่คนแต่ละคนมีไม่เหมือนกันคือ ความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ ความตั้งใจที่จะฟันฝ่า และที่สำคัญที่สุดและขาดไม่ได้คือ การมี mind set ที่ดีครับ
การเรียนในตำราอาจจะทำให้เรามีความรู้ บางแขนงวิชา เช่น บัญชี อาจจะหล่อหลอมให้เราเป็นคนละเอียด รู้เรื่องตัวเลข รู้เรื่องภาษี รู้จักการวางแผน แต่การมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้และความตั้งใจจริงอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เราพัฒนาตัวเองขึ้นไปอีกขั้น และหากเรายิ่งมี mind set ที่ดีพอด้วยแล้วละก็ จากขั้นที่พัฒนาขึ้นมา ก็จะทำให้เราก้าวไปสู่จุดที่ประสบความสำเร็จได้ครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง วางแผนการเงิน วิกฤตโควิด-19 การจัดการการเงิน วางแผนการเงินแบบมืออาชีพ work form home
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)