มือใหม่อยากลงทุนต้องรู้...กองทุนรวมดีอย่างไร และธนาคารขายกองทุนรวมของที่ไหนบ้าง

icon 4 ต.ค. 64 icon 9,724
มือใหม่อยากลงทุนต้องรู้...กองทุนรวมดีอย่างไร และธนาคารขายกองทุนรวมของที่ไหนบ้าง

มือใหม่อยากลงทุนต้องรู้...กองทุนรวมดีอย่างไร และธนาคารขายกองทุนรวมของที่ไหนบ้าง

อยากมีเงินล้านก่อนอายุ 35 ปี ถ้าเราเริ่มเก็บออมโดยการฝากธนาคาร สมมติเริ่มออมตั้งแต่อายุ 22 ปี (ระยะเวลา 14 ปี) เราต้องออมเดือนละประมาณ 6,000 บาทถึงจะมีเงิน 1,008,000 บาท (แบบไม่รวมดอกเบี้ย) ตอนอายุ 35 ปี แต่ถ้าเราเลือกที่จะลงทุนควบคู่ไปด้วย แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยงมากกว่า แต่ก็มีโอกาสที่จะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นด้วยนะคะ
ซึ่งสำหรับมือใหม่ที่กำลังหัดเริ่มลงทุน ควรเลือกเป็นการลงทุนในรูปแบบ "กองทุนรวม" เพราะนอกจากจะมีความหลากหลาย ใช้เงินตั้งต้นไม่เยอะแล้ว ยังมีมืออาชีพคอยช่วยดูแลให้เราอีกด้วยค่ะ และก่อนที่เราจะก้าวเข้าสู่สนามการลงทุน ยังมีเรื่องอะไรที่มือใหม่ควรต้องรู้อีกบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ
รู้จัก "กองทุนรวม"
 
กองทุนรวม (Mutual Fund) คือ การลงทุนรูปแบบหนึ่งที่มีผู้ลงทุนจำนวนมากนำเงินมาลงทุนร่วมกัน โดยจะมี "ผู้จัดการกองทุน" ที่เป็นมืออาชีพ นำเงินจำนวนนั้นไปบริหาร ด้วยการนำเงินไปซื้อหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินเพื่อหาผลตอบแทนตามนโยบายการลงทุนที่ได้ระบุไว้ 
และเมื่อกองทุนรวมได้รับผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่นำไปลงทุน ก็จะนำมาเฉลี่ยคืนให้กับผู้ลงทุนแต่ละรายตามสัดส่วนที่ลงทุน ซึ่งถ้าเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายจ่ายปันผล ผลตอบแทนก็จะมีการจ่ายเป็นเงินปันผลแก่ผู้ลงทุน แต่ถ้าเป็นกองทุนรวมที่ไม่มีนโยบายจ่ายปันผล ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับก็จะอยู่ในมูลค่าสินทรัพย์ต่อหน่วยที่จะสะสมเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับในรูปส่วนเพิ่มมูลค่าเงินลงทุนนั้นตอนขายคืนค่ะ
ประเภทของ "กองทุนรวม"
 
กองทุนรวมมีนโยบายการลงทุนที่มีความหลากหลาย อาจแบ่งเป็น 6 ประเภทหลักๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้
1. กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) เหมาะกับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ต่ำ หรือชอบการลงทุนระยะสั้น เพราะกองทุนในกลุ่มนี้จะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เงินฝากของธนาคาร หรือตราสารหนี้ระยะสั้น ที่มีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นต้น
2. กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) เหมาะกับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ และต้องการผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ โดยกองทุนรวมกลุ่มนี้จะเน้นลงทุนในตราสารหนี้เป็นหลัก ทั้งตราสารหนี้ภาครัฐ และตราสารหนี้เอกชน และอายุตราสารหนี้ที่ลงทุนก็จะมีทั้งที่มีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 1 ปี และอายุเฉลี่ยมากกว่า 1 ปี
3. กองทุนรวมผสม (Mixed Fund) เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลาง ซึ่งกองทุนกลุ่มนี้จะลงทุนทั้ง เงินฝาก ตราสารหนี้ระยะสั้น ตราสารหนี้ระยะยาว และหุ้น 
4. กองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund) เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง เน้นลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ (warrants) รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้น
5. กองทุนรวมอุตสาหกรรม (Sector Fund) เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเน้นไปที่หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เจาะจงมากขึ้น ทำให้มีผลตอบแทนสูงกว่าตลาดโดยรวมมาก ระดับความเสี่ยงก็สูงตามไปด้วย เพราะการลงทุนจะกระจุกตัวเฉพาะหุ้นในอุตสาหกรรมเดียว 
6. กองทุนรวมทรัพย์สินทางเลือก (Alternative Investment Fund) เหมาะสำหรับผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงสูงมาก และต้องการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์อื่นๆ ที่นอกเหนือจากสินทรัพย์พื้นฐาน เพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตโดยรวม ซึ่งกองทุนกลุ่มนี้จะลงทุนในสินทรัพย์ เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ ทองคำ น้ำมัน
รู้ก่อนซื้อกองทุนรวม
 
เมื่อทำความรู้จักกับกองทุนประเภทต่างๆ กันแล้ว ลองมาเช็กกันหน่อยค่ะ ว่าก่อนที่จะเริ่มต้นลงทุนต้องรู้อะไรบ้าง
1. เช็กความต้องการของตนเอง ว่าต้องการลงทุนเพื่ออะไร ต้องการผลตอบแทนเท่าไหร่ ยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน มีเงินลงทุนเท่าใด และระยะเวลาที่ต้องการลงทุน สั้น หรือยาว ซึ่งจะช่วยให้เราเลือกกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมได้
2. เช็กค่าธรรมเนียม ปกติการลงทุนในกองทุนรวมจะมีมืออาชีพคอบบริการเงินลงทุนให้เรา ดังนั้นก็จะมีค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เราต้องเสียภายในกองทุนรวม เช่น ค่าธรรมเนียมในการดำเนินการต่างๆ หรือค่าธรรมเนียมในการซื้อ หรือขายกองทุน ดังนั้นผลตอบแทนที่เราจะได้รับจากการลงทุนในกองทุนรวมนั้นๆ จะน้อยลง เพราะผลตอบแทนที่กองทุนรวมทำได้จะต้องหักค่าธรรมเนียมก่อนเสมอ
3. เช็ก Performance ของกองทุน คอยติดตามการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และต้องเข้าใจในกองทุนที่จะเลือกลงทุน เช่น กองทุนนั้นจะลงทุนในหุ้นแบบไหน มีการจ่ายเงินปันผลหรือไม่ เพื่อที่เราอาจปรับเปลี่ยนการลงทุนไปในกองทุนที่ให้ผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจมากกว่าได้
4. เช็กสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพราะเรื่องการลดหย่อนภาษีเป็นเหตุผลยอดนิยมที่หลายคนเลือกลงทุนในกองทุนรวม เช่น การลงทุนในกองทุน RMF สามารถลดหย่อนภาษีได้ 30%ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท หรือการลงทุนในกองทุน SSF สามารถลดหย่อนภาษีได้ 30%ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท เป็นต้น 
ธนาคารขายกองทุนรวมของที่ไหนบ้าง
 
สำหรับใครที่อยากเริ่มต้นลงทุน โดยเฉพาะมือใหม่ แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง ที่ไหน และเริ่มอย่างไร เดี๋ยวนี้ไม่จำเป็นต้องติดต่อที่บริษัทหลักทรัพย์โดยตรงแล้วก็ได้ค่ะ เพราะธนาคารต่างๆ ก็หันมาให้บริการซื้อกองทุนรวมได้มากกว่าหนึ่ง บลจ.กันแล้ว ส่วนธนาคารไหน ขายกองทุนของ บลจ.อะไรบ้าง เรารวบรวมมาให้แล้ว ตามมาดูกันเลยค่ะ

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สะดวกกว่า เมื่อมาที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คัดสรรกองทุนรวมหลากหลายประเภท พร้อมให้คำแนะนำการลงทุน และบริการที่สะดวกสบาย เพื่อให้การลงทุนที่ง่ายขึ้นไปอีกขั้น กับพันธมิตรกองทุนระดับแนวหน้า แท็กทีมมาเติมเต็มทุกพอร์ตการลงทุน 

ธนาคารไทยพาณิชย์

จากความมุ่งมั่นที่จะให้บริการโดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ธนาคารไทยพาณิชย์คัดสรรกองทุนเด่นจาก บลจ.ชั้นนำอื่นๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถลงทุนได้อย่างไร้ขีดจำกัด ด้วยกองทุนหลากหลายประเภท เช่น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม กองทุนหุ้น ฯลฯ ที่ตอบสนองได้ครบทุกความต้องการด้านการลงทุน

ธนาคารทิสโก้

บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด จะให้บริการเสนอขายกองทุนรวมของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนชั้นนำหลายบริษัท (Open Architecture) เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงกองทุนคุณภาพแก่ลูกค้า โดยบริษัทให้บริการเป็นผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนแบบเปิดเผยชื่อและให้บริการสำหรับลูกค้าประเภทบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยและนิติบุคคลเท่านั้น ทั้งนี้บริษัทจะเสนอขายกองทุนที่คัดเลือกโดยกลุ่มทิสโก้

ธนาคารทหารไทยธนชาต

คัดสรรกองทุนรวมคุณภาพ ครบทุกประเภทสินทรัพย์ ครบทุกภูมิภาคทั่วโลก จาก 11 บลจ.

ธนาคารออมสิน

ธนาคารออมสินเป็นตัวแทนของบลจ. ชั้นนำถึง 11 บลจ. โดยสามารถติดต่อขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขา และผ่านช่องทาง  MyMo MyFund

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

ธนาคารเป็นผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนให้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนต่างๆ ซึ่งมีกองทุนหลากหลายประเภท เช่น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนตราสารทุน และกองทุนประเภทสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ข้อมูลติดต่อบริษัทหลักทรัพย์
 
ปิดท้ายกันด้วยรายชื่อ 26 บริษัทที่ได้รับใบอนุญาต การจัดการกองทุนรวม (ประเภทบริษัทหลักทรัพย์) เผื่อใครสนใจจะลงทุนโดยตรงก็สามารถติดต่อได้ตามที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ด้านล่างนี้เลยค่ะ
 ชื่อบริษัท  ที่อยู่สำนักงานใหญ่
บมจ. บลจ. กรุงไทย เลขที่ 1 อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้น 32 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ 0-2686-6100 โทรสาร 0-2670-0430
บลจ. กรุงศรี  เลขที่ 898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 1-2 โซนเอ ชั้น 12 ชั้น 18 โซนบี ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2657-5757 โทรสาร 0-2657-5777 
บลจ. กสิกรไทย  เลขที่ 400/22 อาคารธนาคารกสิกรไทย ชั้น 6 และ 12 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0-2673-3888 โทรสาร 0-2673-3988 
บลจ. เกียรตินาคินภัทร  เลขที่ 252/25 อาคารเมืองไทย-ภัทร คอมเพล็กซ์ ทาวเวอร์เอ ชั้น 19 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ 0-2305-9800 โทรสาร 0-2305-9803
บลจ. ทหารไทย  เลขที่ 944 อาคาร มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ ชั้น 9 ถนนพระราม 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2838-1800 โทรสาร 0-2636-1820
บลจ. ทาลิส  เลขที่ 89 อาคารเอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ ชั้น 10 ห้อง 1001-1002 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0-2015-0222 โทรสาร 0-2015-0223
บลจ. ทิสโก้ เลขที่ 48/16-17 อาคารทิสโก้ทาวเวอร์ ชั้น 9 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทรศัพท์ 0-2633-7777 โทรสาร 0-2633-7300
บลจ. ไทยพาณิชย์  เลขที่ 18 อาคาร 1 ไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า ชั้น 7-8 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 0-2949-1500 โทรสาร 0-2949-1501
บลจ. ธนชาต  เลขที่ 944 อาคาร มิตรทาวน์ ออฟฟิศ ทาวเวอร์ ชั้น 9 ห้อง 902-908 ถนนพระราม 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2126-8300 โทรสาร 0-2217-5281
บลจ. บัวหลวง  เลขที่ 175 อาคารสาธรซิตี้ทาวเวอร์ ชั้น 7, ชั้น 21, ชั้น 26 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ 0-2674-6488 โทรสาร 0-2679-5996
บลจ. บางกอกแคปปิตอล  เลขที่ 191 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 24 ห้องเลขที่ เอ-บี ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทรศัพท์ 0-2618-1599 โทรสาร 0-2618-1597
บลจ. พรินซิเพิล เลขที่ 44 อาคารธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ชั้น 16 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2686-9500 โทรสาร 0-2657-3167
บลจ. เพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว  เลขที่ 93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0-2009-9000 โทรสาร 0-2009-9991
บลจ. ฟิลลิป เลขที่ 849 อาคารวรวัฒน์ ชั้น 22 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทรศัพท์ 0-2635-3033 โทรสาร 0-2635-3040
บลจ. เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์  เลขที่ 942/170-171 ชาญอิสสระทาวเวอร์ 1 ชั้น 25 ถนนพระราม 4 แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทรศัพท์ 0-2660-6677 โทรสาร 0-2660-6678
บลจ. แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) 1788 ชั้น 18 อาคารสิงห์ คอมเพล็กซ์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ 0-2844-0123 โทรสาร 0-2056-9747
บลจ. ยูโอบี (ประเทศไทย)  เลขที่ 173/27-30, 32-33 อาคารเอเซียเซ็นเตอร์ ชั้น 23A, 25 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ 0-2786-2000 โทรสาร 0-2786-2380-99
บลจ. เรนเนสซานซ์  เลขที่ 87/2 ออล ซีซั่นส์ เพลส อาคาร ซี อาร์ ซี ทาวเวอร์ ห้อง 3207 ชั้นที่ 32 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 02-550-6220 โทรสาร 02-550-6229
บลจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์  เลขที่ 11 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 14 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ 0-2286-3484 โทรสาร 0-2286-3585
บลจ. วรรณ  เลขที่ 989 อาคารสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ ชั้น 9, 24 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2659-8888 โทรสาร 0-2659-8860-1
บลจ. วี  87/2 อาคารซีอาร์ซีทาวเวอร์ ออลซีซั่นส์เพลส ชั้น 52 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 02-6481555 โทรสาร 02-6481060
บลจ. อเบอร์ดีน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย)  เลขที่ 179 อาคารบางกอกซิตี้ทาวเวอร์ ชั้น 28 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ 0-2352-3333 โทรสาร 0-2352-3389
บลจ. อินโนเทค เลขที่ 287 อาคารลิเบอร์ตี้ สแควร์ ชั้น 19 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทรศัพท์ 0-2624-6333 โทรสาร 0-2624-6330
บมจ. บลจ. เอ็มเอฟซี  เลขที่ 199 อาคารคอลัมน์ทาวเวอร์ ชั้น จี,ชั้น 21-23 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์ 0-2649-2000 โทรสาร 0-2649-2100
บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) 181/19 อาคารเอไอเอ ทาวเวอร์2 ชั้น 11 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทรศัพท์ 0-2353-8714 โทรสาร 0-2236-1207
บลจ. แอสเซท พลัส เลขที่ 175 อาคารสาธรซิตี้ทาวเวอร์ ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ 0-2672-1000 โทรสาร 0-2286-4470
ขอบคุณข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ทุกๆ การลงทุนมีความเสี่ยง เราควรต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน และถึงแม้ว่าการลงทุนในกองทุนรวมจะมีมืออาชีพคอยดูแล แต่หากตัวผู้ลงทุนเองมีความรู้ในระดับหนึ่งแล้ว การตัดสินใจลงทุนต่างๆ ย่อมก่อให้เกิดผลดียิ่งขึ้นไปอีกค่ะ หวังว่าทุกคนจะ WIN WIN ในทุกการตัดสินใจนะคะ^^
แท็กที่เกี่ยวข้อง กองทุนรวม มือใหม่หัดลงทุน
Money Guru
เขียนโดย ชนานาถ จินตกสิกรรม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)