ชี้เป้า...บัญชีเงินฝากที่คนดูเยอะที่สุด ประจำปี 2563
ส่งท้ายปลายปีกับเรื่องที่สายออมห้ามพลาด "10 อันดับสุดยอดบัญชีเงินฝากที่คนดูเยอะสุด ประจำปี 2563" จากการเก็บสถิติบนเว็บไซต์
CheckRaka.com ตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม (ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. - 3 ธ.ค. 63) มาดูไปด้วยกันค่ะว่าผลิตภัณฑ์ "บัญชีเงินฝาก" บัญชีไหน? ของธนาคารอะไร? ที่คนเข้าดูเยอะที่สุด
อันดับ 1 "บัญชีเงินออมลูกรัก" ธ.ก.ส. (BAAC) : 23,030 Pageviews
บัญชีเงินออมลูกรัก จาก ธ.ก.ส. เป็นบัญชีสำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดา (ที่ต้องการฝากเงินเพื่อผู้เยาว์ที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด - 15 ปี ณ วันเปิดบัญชี) โดยฝากต่อเนื่องทุกเดือนๆ ละ 1,000 บาท ได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ปกติ มีสิทธิ์ได้รับทุนการศึกษาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี และได้รับเงินขวัญถุงเป็นระยะเวลา 5 ปี ตามยอดที่ธนาคารกำหนด แต่ปัจจุบันบัญชีนี้สิ้นสุดระยะเวลาการรับฝากแล้วนะคะ
อันดับ 2 "บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี 24 เดือน" ธ.ก.ส. (BAAC) : 20,099 Pageviews
เงินฝากประจำปลอดภาษี 24 เดือน จาก ธ.ก.ส. ขยับขึ้นมาจากอันดับที่ 5 เมื่อปี 2562 มาอยู่ที่อันดับ 2 เลยนะคะ และสำหรับบัญชีนี้จะมอบความคุ้มค่าในเรื่องของการออม เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงให้กับอนาคตของคุณ เป็นบัญชีสำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดา ดอกเบี้ยสูง และไม่เสียภาษี ออมทุกเดือนขั้นต่ำ 1,000 บาท และสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท รับอัตราดอกเบี้ย 1.63% ต่อปี
อันดับ 3 "บัญชีเงินฝากออมทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ (K-eSavings)" ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) : 18,502 Pageviews
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ (K-eSavings) ธนาคารกสิกรไทย เป็นบัญชีเงินฝากแบบไม่มีสมุดคู่ฝาก สะดวกสบาย คล่องตัว ฝากถอนได้ทุกวัน สามารถใช้บัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิตกสิกรไทยที่ได้ผูกบัญชีไว้กับบัญชี เคแบงก์ แอ็คเคาท์ สามารถทำรายการทางการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน ชำระค่าสินค้า และบริการผ่านช่องทางอิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ได้ สำหรับยอดเงินฝากไม่เกิน 100,000 บาท รับอัตราดอกเบี้ย 1.50%ต่อปี ส่วนยอดเงินฝากที่เกิน 100,000 บาท รับอัตราดอกเบี้ย 0.50% ต่อปี
อันดับ 4 "บัญชีออมทรัพย์ มีแต่ได้" ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) : 14,041 Pageviews
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ มีแต่ได้ จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นบัญชีเงินฝากประจำสำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดา วงเงินเปิดบัญชีขั้นต่ำ 500 บาท สามารถเลือกเปิดบัญชีได้ทั้งแบบมีสมุดคู่ฝาก หรือไม่มีสมุดคู่ฝากก็ได้ และจะได้รับดอกเบี้ยแบบรายเดือน
- กรณีเปิดบัญชีผ่านสาขา ธนาคารกรุงศรี >> เป็นบัญชีออมทรัพย์แบบมีสมุดคู่ฝาก อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 1.10%* ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 แสนบาท
- กรณีเปิดบัญชีผ่าน Krungsri Mobile App (KMA) >> เป็นบัญชีออมทรัพย์แบบไม่มีสมุดคู่ฝาก อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 1.50%* ต่อปี สำหรับยอดเงินฝากน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 แสนบาท
อันดับ 5 "บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค"ธ.ก.ส. (BAAC) : 13,637 Pageviews
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค จาก ธ.ก.ส. เป็นบัญชีเงินฝากประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถาม สำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไร ดอกเบี้ยเงินฝากจะคำนวณจากยอดคงเหลือเป็นรายวันโดยไม่เสียภาษีเงินได้ อัตราดอกเบี้ย 0.70% ต่อปี โดยลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ส่วนที่เหลือจัดสรรเป็นค่าของรางวัล และผู้ฝากมีโอกาสถูกรางวัลชิงโชค อาทิ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ทองคำ โทรทัศน์ ตู้เย็น วิทยุ เป็นต้น
อันดับ 6 "บัญชีเงินฝากเผื่อเรียก" ธนาคารออมสิน (GSB) : 13,489 Pageviews
บริการเงินฝากเผื่อเรียก จากธนาคารออมสิน ช่วยให้คุณเก็บเงินไว้ใช้จ่ายทั่วไป เพื่อความสะดวกคล่องตัวในการใช้เงิน มีเงินเก็บอุ่นใจ และพร้อมใช้ในยามที่คุณต้องการได้ทุกเมื่อ วงเงินเปิดบัญชีขั้นต่ำเพียง 1 บาท คิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน ไม่เสียภาษีดอกเบี้ย และยังสามารถนำสมุดเงินฝาก ค้ำประกันเงินกู้ หรือเบิกเงินเกินบัญชีได้อีกด้วย
อันดับ 7 "บัญชีเงินฝากปลอดภาษี" ธนาคารไทยเครดิต (TCR) : 13,359 Pageviews
บัญชีเงินฝากปลอดภาษี จากธนาคารไทยเครดิต เป็นบัญชีเงินฝากที่กระตุ้นและส่งเสริมวินัยในการออมให้กับลูกค้ารายย่อยให้มีเงินก้อนง่ายๆ เพียงฝากเงินด้วยยอดที่เท่าๆ กันทุกเดือน ตามระยะเวลาการฝากที่เลือก 24 เดือน หรือ 36 เดือน พร้อมรับดอกเบี้ยเต็มๆ เมื่อฝากครบระยะเวลาการฝาก ไม่เสียภาษี สำหรับระยะเวลาการฝาก 24 เดือน จำนวนเงินฝากตั้งแต่ 1,000 - 25,000 บาท และสำหรับระยะเวลาฝาก 36 เดือน จำนวนเงินฝากตั้งแต่ 1,000 - 16,500 บาท โดยทำการฝากรายเดือนๆ ละเท่าๆ กัน ด้วยจำนวนเท่ากันกับการเปิดบัญชี ครั้งแรก และ ยอดเงินฝากรวมเมื่อถึงกำหนดต้องไม่เกิน 600,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลาฝากและธนาคารจ่ายดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาที่เลือกฝาก
อันดับ 8 "บัญชีเงินฝากอีซี่ เซฟวิ่ง" ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) : 12,263 Pageviews
บัญชีเงินฝากอีซี่ เซฟวิ่ง เป็นบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ แบบไม่มีสมุดคู่ฝาก (E Passbook) ที่มีบริการ Mobile Banking ให้คุณ เริ่มต้นง่ายๆ เพียงเปิดบัญชีขั้นต่ำ 500 บาท ถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ไทยพาณิชย์ด้วย SCB EASY APP ได้ง่ายๆ แถมโอนสะดวกผ่าน SCB EASY APP ไม่ต้องพกสมุดให้ยุ่งยาก เพราะเป็นบัญชีแบบ E PASSBOOK ไม่ต้องพกสมุดบัญชี รับดอกเบี้ยสูง 1.50% สำหรับยอดเงินฝาก 1 - 5,000,000 บาท
อันดับ 9 "บัญชีฝากประจำทั่วไป" ธนาคารกรุงไทย (KTB) : 11,715 Pageviews
บัญชีฝากประจำทั่วไป จากธนาคารกรุงไทย ให้คุณรับดอกเบี้ยในอัตราที่แน่นอน เหมาะสำหรับการออมเพื่ออนาคต ทั้งเจ้าของธุรกิจ อาชีพอิสระ และพนักงานที่มีรายได้ประจำ สามารถเลือกออมได้หลายระยะเวลา ได้แก่ เงินฝากประจำ 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน เปิดบัญชีเงินฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท และสำหรับเงินฝากประจำ 24 เดือน และ 36 เดือน เปิดบัญชีเงินฝากขั้นต่ำ 10,000 บาท
อันดับ 10 "บัญชีเงินฝากทวีทรัพย์ 24 เดือน" ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) : 11,153 Pageviews
บัญชีเงินฝากทวีทรัพย์ 24 เดือน จากธนาคารกสิกรไทย เป็นบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี สร้างระเบียบวินัย เพื่อเงินก้อนใหญ่ในอนาคต ระยะเวลาฝาก 24 เดือน ดอกเบี้ยสูง สำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดา เงินฝากขั้นต่ำ 500 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน และสามารถฝากเงินด้วยบริการหักบัญชีอัตโนมัติได้ โดยระบบจะหักเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน เข้าบัญชีทวีทรัพย์ทุกวันที่ 5 ของเดือน
จากการจัดอันดับ สุดยอดบัญชีเงินฝากที่คนดูเยอะสุดทั้ง 10 อันดับ และได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2563 มีทั้งบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี และบัญชีออมทรัพย์ และบัญชีฝากประจำทั่วไป ที่แต่ละธนาคารออกเป็นแคมเปญบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูงในแต่ละช่วงระยะเวลา และถึงแม้ว่าแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะน้อยลง แต่ธนาคารหลายแห่งก็ยังเอาใจสายออมด้วยการออกโปรโมชั่นมาเป็นช่วงๆ ให้ได้เปิดบัญชีเพื่อออมเงินกันอยู่นะคะ สำหรับปีหน้าบัญชีเงินฝากของธนาคารไหนจะได้อยู่ในการจัดอันดับ 10 สุดยอดบัญชีเงินฝากที่คนสนใจเยอะสุดนั้น คอยติดตามกันได้ที่
CheckRaka.com หมายเหตุ - บทความนี้เป็นการจัดลำดับตามจำนวน Pageview ของคนเข้าชมข้อมูลบัญชีเงินฝากบนเว็บไซต์ Checkraka.com สำหรับปี 2562 เป็นเกณฑ์สำคัญ (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 3 ธันวาคม 2563) เท่านั้น
- การจัดอันดับข้างต้น เป็นการอ้างอิงข้อมูลจาก Google Analytics ของเว็บไซต์ Checkraka.com เท่านั้น และไม่เกี่ยวข้องกับการจัดลำดับของหน่วยงานใดๆ ที่เป็นทางการ ดังนั้น จึงไม่ควรมีการนำลำดับเหล่านี้ไปใช้ หรืออ้างอิงเพื่อวัตถุประสงค์ใดที่เป็นทางการ หรือเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของบุคคลใด