พอพูดถึง Cardio หลายคนก็คงรู้กันดีอยู่แล้วว่ามันคือการออกกำลังกาย ซึ่งก็เป็นการเข้าใจที่ถูกต้องแล้วค่ะ แต่วันนี้ทีมงาน CheckRaka จะเอาความหมายของการเผาผลาญแบบ Cardio มาเปรียบเทียบกับการเผาผลาญเงินให้ได้ดอกผลที่มากขึ้นมาฝากเพื่อนๆ พร้อมกับวิธีการออกกำลังกายแบบ Cardio ที่ถูกต้องและได้ผลจริงด้วยค่ะ
Cardio จริงๆ แล้ว คืออะไร? มีประโยชน์ยังไง? ความหมายที่แท้จริงของ Cardio นั้น แปลว่า หัวใจ แต่ในทางกีฬาหรือการออกกำลังกายแล้วนั้น Cardio เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ที่เน้นการกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต ระบบเผาผลาญ เน้นให้ร่างกายได้มีการขยับเขยื้อนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น 60 - 85% เมื่อเทียบกับอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ซึ่งจะส่งผลทำให้ช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกายอย่างได้ผล สำหรับใครที่ต้องการจะลดน้ำหนักพร้อมกับมีร่างกายที่แข็งแรงแบบยั่งยืน การ Cardio ถือได้ว่าเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะเลยทีเดียว และถ้าถามว่าการ Cardio มีประโยชน์ยังไงบ้าง?...มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ
- ช่วยลดน้ำหนัก เพราะร่างกายเผาผลาญไขมันดีขึ้น
- บริหารกล้ามเนื้อหัวใจให้แข็งแรง
- สร้างภูมิคุ้มกัน และปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุลย์
- ช่วยลดความเสี่ยง และควบคุมการเป็นโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคกระดูกพรุน
- ลดคอเลสเตอรอล
- ช่วยฟื้นฟูสถาพร่างกาย และสุขภาพจิตได้อย่างรวดเร็ว
- ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น
- ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้ดียิ่งขึ้น ป้องกันโรคสมองเสื่อม
- ร่างกายมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
- ชะลอการเสื่อมสภาพของร่างกาย
กิจกรรมที่เรียกว่า Cardio มีอะไรบ้าง? การออกกำลังกายแบบ Cardio แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ตามแรงกระแทกที่เกิดจากการทำกิจกรรมนั้นๆ ดังนี้
1. การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำ (Lower Impact Cardio Exercise) เป็นการออกกำลังกายที่ไม่ส่งผลให้เกิดแรงกดหรือแรงกระแทกกับข้อต่อต่างๆ มากนัก เช่น
- ว่ายน้ำ
- ขี่จักรยาน หรือเครื่องปั่นจักรยาน (Stationary Bike)
- การเดิน
- กายเรือ หรือเครื่องออกกำลังกายกรรเชียงบก (Rowing Machine)
- การใช้เครื่องออกกำลังกายแบบเดินวงรีที่เรียกว่า Elliptical
2. การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูงขึ้น (Higher Impact Cardio Exercise) เป็นการออกกำลังกายที่ทำให้เกิดแรงกระแทกหรือแรงกดที่บริเวณข้อต่อต่างๆ เช่น
- การวิ่ง
- กระโดดเชือก
- กระโดดตบ
- เต้นแอโรบิก
ควรออกกำลังกายแบบ Cardio บ่อยแค่ไหน? การ Cardio เป็นกิจกรรมทางกายที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ และเป็นประจำ เพื่อทำให้รู้สึกดีขึ้น ใช้ร่างกายได้ดีขึ้น นอนหลับดีขึ้น และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังได้ ซึ่งถ้าถามว่าเราควรออกกำลังกายแบบ Cardio มากน้อย หรือบ่อยแค่ไหนนั้น...สามารถแยกตามช่วยอายุได้ดังนี้
1. สำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3 - 5 ปี กิจกรรมทางกายที่ทำสามารถทำได้ตลอดทั้งวัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางร่างกายของเด็กในช่วงวัยนี้
2. เด็ก และวัยรุ่น ที่มีอายุตั้งแต่ 6 - 17 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายที่ความหนักระดับปานกลางถึงสูง อย่างน้อย 60 นาที/วัน และควรทำทุกวัน
3. ผู้ใหญ่ ควรทำกิจกรรมทางกายแบบแอโรบิกที่ความหนักระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 - 300 นาที/สัปดาห์ หรือถ้ากิจกรรมทางกายมีความหนักระดับสูง ควรทำอย่างน้อย 75 - 150 นาที/สัปดาห์ หรือจะผสมกันระหว่างความหนักระดับปานกลางและสูงก็ได้
4. ผู้สูงอายุ ควรทำกิจกรรมทางกายที่ผสมผสานกันระหว่างการฝึกความสามารถในการทรงตัว กับกิจกรรมแบบแอโรบิก พร้อมกับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อเข้าด้วยกัน
5. หญิงตั้งครรภ์ และหลังคลอด ควรทำกิจกรรมทางกายแบบแอโรบิกที่ความหนักระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์
การออกกำลังกายที่จะทำให้ได้ผลดีและมีประสิทธภาพมากขึ้น จะต้องเป็นการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/วัน ซึ่งจะมีผลในการช่วยควบคุมน้ำหนัก และช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดทำงานได้ดีขึ้นด้วย
บริหารเรื่องเงิน แบบ Cardio ได้ยังไง? การบริหารการเงินแบบ Cardio นั้น เป็นเรื่องของการเปรียบเทียบการออกกำลังกายกับการสร้างรากฐานการเงินให้มั่นคงด้วยวิธีการเผาผลาญในรูปแบบที่เรียกว่า Cardio นั่นเอง ซึ่งการออกกำลังกายในรูปแบบนี้ก็เปรียบได้กับการ "ลงทุน" ถ้ามีเงินอยู่จำนวนหนึ่งแล้วปล่อยให้เงินนอนนิ่งๆ เงินจำนวนนั้นก็ยังมีค่าเท่าเดิม และอาจจะน้อยกว่าเดิมในอนาคตเพราะมีภาวะเงินเฟ้อทำให้ค่าเงินน้อยลงนั่นเอง แต่ถ้าเราลองเอาเงินจำนวนนั้นมาใช้เทคนิคเผาผลาญแบบ Cardio เพื่อให้ได้ประโยชน์และผลตอบแทนของเงินจำนวนนั้นที่มากขึ้นด้วยการเอาไปลงทุน ก็จะทำให้เรามีเงินเพิ่มขึ้นในระยะเวลาที่สั้นลง แน่นอนว่าการออกตัวที่ดี ตั้งต้นได้เร็ว และเดินตามแผนหรือเป้าหมายที่วางไว้ ย่อมทำให้เราถึงเส้นชัยได้แบบสวยงาม โดยการเริ่มต้นการลงทุนของนักลงทุนมือใหม่ก็ทำได้ไม่ยากค่ะ ถ้ามีการเริ่มต้นแล้วก็จะไปต่อแบบสวยงามเหมือนกับการออกกำลังกายได้แน่นอน
ทำไม...ต้องลงทุน? การลงทุน (Investment) คือ การออมในแบบที่ทำเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนกลับมามากขึ้นในอนาคต แต่ทุกการลงทุนนั้นนักลงทุนจะต้องทำความเข้าใจด้วยว่า "การลงทุนมีความเสี่ยง" ซึ่งอาจจะมีผลทำให้ผู้ลงทุนได้รับเป็นกำไรหรือขาดทุนก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งเป้าหมาย การตัดสินใจ การวางแผน และการศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนนั้นๆ ให้ดี เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงการขาดทุนจากการลงทุน และได้รับผลตอบแทนตามที่เราตั้งเป้าหมายไว้
- รู้จักการวางแผน และบริหารความเสี่ยง
- เพิ่มมูลค่าของทรัพย์สินที่มีอยู่
- สร้างความมั่งคั่ง และมั่นคงทางการเงินในอนาคต
- สร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มากขึ้น
- ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
- เข้าใจกลไลทางเศรษฐกิจในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
- มีอิสระภาพทางการเงิน
- ได้เพื่อนกลุ่มใหม่ที่เป็นนักลงทุนเหมือนกัน
- เปิดวิสัยทัศน์การมองภาพใหญ่กว่า และวางแผนได้ในระยะยาวขึ้น
- มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มือใหม่หัดการลงทุน...ควรเริ่มจากอะไร? ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง...ประโยคนี้เป็นประโยคฮิตติดปากสำหรับนักลงทุนทุกคนที่ควรตระหนักและจำไว้ให้ขึ้นใจ เพราะความเสี่ยงนั้นเมื่อมีคนได้กำไร ก็ย่อมต้องมีคนที่ขาดทุน ดังนั้น ถ้าเราไม่อยากขาดทุนจากการลงทุนเราก็ควรเริ่มต้นให้ถูก และเหมาะสมกับเราที่สุด โดยเริ่มจาก
1. "รู้จักตัวเอง" เริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักกับตัวเองก่อน ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าการลงทุนของเราคืออะไร? ต้องการเงินประมาณเท่าไหร่? และจะใช้ระยะเวลานานแค่ไหน? หลังจากนั้นก็มาเช็กลิสว่า
- อายุเท่าไหร่?
- ชอบ สนใจ หรือถนัดสินทรัพย์ประเภทไหน?
- มีประสบการณ์ลงทุนหรือไม่?
- มีเงินลงทุนมากน้อยเพียงใด?
- ต้องการผลตอบแทนรูปแบบใด? เท่าไหร่?
- มีเวลาติดตามข่าวสารด้านการลงทุนหรือไม่?
- หากขาดทุน จะยอมรับได้ในวงเงินไม่เกินเท่าไหร่?
- หากได้กำไร จะขยายวงเงินในการลงทุนหรือไม่?
และสิ่งที่สำคัญที่สุดของการรู้จักตัวเองนี้ เราจะต้องสำรวจตัวเองว่า "ยอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน?" เพราะระดับความเสี่ยงของเรานี้เองจะเป็นทางเลือกให้เราว่าเราควรเลือกลงทุนแบบไหน และสัดส่วนการลงทุนแบบใดที่เหมาะกับเรามากที่สุด
2. หาความรู้ และข้อมูลอยู่เป็นประจำ เพราะทุกการลงทุนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐาน เช่น รู้ว่าลักษณะของสินทรัพย์ที่ลงทุนเป็นอย่างไร ปัจจัยอะไรที่ทำให้มีผลต่อราคา ความเป็นมาเป็นไปของราคาในตลาดเป็นอย่างไร รวมถึงต้องติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวในสถานการณ์ปัจจุบัน และมองหาช่องทางความรู้ในการลงทุนด้วยการเข้าร่วมงานสัมมนาต่างๆ อ่านบทความหรือหนังสือเกี่ยวกับการลงทุน พร้อมกับอัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนแบบรายวันจากสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ
3. ลงมือปฏิบัติ เมื่อทำความเข้าใจความต้องการ และเป้าหมาย รวมถึงหลักการพื้นฐานการลงทุนแล้วก็ไม่ต้องลังเล เริ่มลงทุนด้วยการลงมือปฏิบัติเลยค่ะ โดยอาจจะเริ่มจากการลงทุนด้วยจำนวนเงินที่ไม่สูงนัก เพื่อลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
4. รู้จัก และเลือกใช้ตัวช่วย ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ใช้ทุ่นแรง ย่นระยะเวลา ในรูปแบบของแอปพลิเคชันที่เกี่ยวกับการลงทุนมาช่วยในเรื่องของข้อมูล ราคา การวิเคราะห์ มากมาย อยู่ที่การทำความรู้จัก เลือกใช้ และควรพยายามหาเครื่องมือที่เหมาะกับการใช้งานของเราที่สุดด้วยนะคะ
5. การมีวินัย สำหรับนักลงทุนไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือนักลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว การมีวินัยนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะทั้งการลงทุนระยะยาวที่ต้องออมเป็นประจำทุกเดือน หรือการลงทุนที่ต้องทำการ Cut Loss เมื่อหุ้นในครอบครองมีการเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ และแม้แต่นักลงทุนที่ต้องทำการขายหุ้นออก เมื่อพบว่าพื้นฐานของหุ้นเปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นจะต้องมีวินัยในการลงทุน เพราะถือเป็นการปฏิบัติที่ควรทำของนักลงทุนทุกคน
6. ประเมินผลงาน นักลงทุนเมื่อได้ทำการลงทุนแล้วจะต้องมีการประเมินผลงานอย่างสม่ำเสมอ เช่น การวิเคราะห์ผลงานการลงทุนที่ทำมาทั้งในระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ว่าเราได้อะไร? ผลเป็นอย่างไร และมีข้อผิดพลาดตรงไหนหรือไม่? เพื่อส่งผลทำให้การลงทุนของเรามีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ พร้อมกับได้รับผลตอบแทนตามที่ได้วางเป้าหมายไว้นั่นเอง
ทางเลือกการลงทุน...มีกี่แบบ? ถ้าพูดถึงเรื่องการออมแล้ว เชื่อว่าหลายคนคงต้องนึกถึง "เงินฝากธนาคาร" แต่ปัจจุบันการฝากเงินไว้กับธนาคารนั้น ผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยที่ได้รับนั้นน้อยนิดเหลือเกิน การที่เราจะมีเงินออมไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็อาจจะต้องใช้เวลายาวนานมาก ดังนั้น การลงทุน จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นในระยะเวลาที่สั้นลงด้วย ซึ่งทางเลือกของการลงทุนในปัจจุบันก็มีอยู่มากมายเช่นกัน วันนี้ทางทีมงาน CheckRaka จะขอเอาตัวเลือกการลงทุนที่แบ่งเป็น 6 ประเภทใหญ่ๆ มาให้เพื่อนๆ ได้รู้จักตามนี้ค่ะ
สรุป...การเผาผลาญแบบ Cardio ทั้งในเรื่องของการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และการลงทุนเพื่อให้เงินออมงอกเงยมากขึ้นนั้น ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญกับชีวิตเราทั้งสิ้น เพราะถ้าหากเรามีร่างกายที่แข็งแรง หุ่นเฟิร์มสวย แต่ไม่รู้จักการลงทุนเลย จะส่งผลทำให้ในอนาคตเราไม่มีความมั่นคงในเรื่องการเงินซึ่งก็จะทำให้เรามีปัญหากับการใช้ชีวิตในอนาคต และในทางกลับกันถ้าเรามีฐานะที่มั่นคงจากการลงทุนแล้ว แต่ไม่สนใจที่จะดูแลร่างกายหรือออกกำลังกายเลย เงินทองที่ได้มานั้นก็จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าเราจะต้องเอามาใช้จ่ายกับการรักษาโรค หรือมันจะหมดค่าทันทีถ้าต้องอายุสั้นจากโลกนี้ไปก่อนเวลาอันควร ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ใช้เงินที่หามา..