มองหาหุ้นโตสิบเท่าในสิบปี ..."หุ้นเก็บหนี้ จะโตสิบเท่าในสิบปี ได้หรือไม่ ?"

icon icon 102
มองหาหุ้นโตสิบเท่าในสิบปี ..."หุ้นเก็บหนี้ จะโตสิบเท่าในสิบปี ได้หรือไม่ ?"

มองหาหุ้นโตสิบเท่าในสิบปี ..."หุ้นเก็บหนี้ จะโตสิบเท่าในสิบปี ได้หรือไม่ ?"

หากเราจะมองหาเทรนด์ที่จะเติบโตในช่วงปี 2020-2030 สิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้อย่างชัดเจน ก็คือ การที่ประเทศไทยเติบโตด้วยหนี้ หรือการเป็นหนี้เป็น New Normal ใหม่ของสังคมไทยก็ว่าได้
ที่จริงแล้ว การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องไม่ดี เพราะเรื่องราวของ "สินเชื่อ" ถือเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ดีมีประสิทธิภาพอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราคิดจะเป็นเจ้าของบ้านซักหลัง เราไม่มีเงินสด การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะช่วยให้ฝันเราเป็นจริงได้ ดังนั้นสังคมการเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย
แต่เราก็ต้องเข้าใจว่า ... เมื่อมีหนี้ดี ก็ต้องมีหนี้เสีย พอเกิดหนี้เสียขึ้นมา ในมุมมองของเศรษฐกิจภาพรวม ก็ต้องทำการลดหนี้เสียลงให้ได้ ไม่อย่างนั้นเศรษฐกิจก็จะเดินต่อไม่ได้ และนี่คือมูลรากของการเกิดขึ้นของ "หุ้นเก็บหนี้" ที่เราจะนำมาวิเคราะห์อนาคตอีกสิบปีต่อจากนี้ ไปติดตามกันครับ

สำหรับการเติบโตของหนี้เสียในประเทศไทย ต้องบอกว่าเติบโตขึ้นทุกปี ตามปริมาณสินเชื่อที่เติบโตขึ้นด้วย โดยการเติบโตเป็นดังนี้
  • ปี 2016 ปริมาณหนี้ในระบบ 13.62 ล้านล้านบาท เป็น NPLs 3.86 แสนล้านบาท
  • ปี 2017 ปริมาณหนี้ในระบบ 14.79 ล้านล้านบาท เป็น NPLs 4.29 แสนล้านบาท
  • ปี 2018 ปริมาณหนี้ในระบบ 15.11 ล้านล้านบาท เป็น NPLs 4.39 แสนล้านบาท
  • ปี 2019 ปริมาณหนี้ในระบบ 15.62 ล้านล้านบาท เป็น NPLs 4.68 แสนล้านบาท
จะเห็นได้ว่าการเติบโตของหนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ล้อตามการเติบโตของการปล่อยสินเชื่อ ที่ปัจจุบันในประเทศไทยมีการปล่อยสินเชื่อภาคครัวเรือนสูงถึง 15.62 ล้าน และมีหนี้เสียราว 4.68 ล้าน ถือว่ามี Supply ให้บริษัทเก็บหนี้อย่างมากมายมหาศาล และถ้าเรามองไปข้างหน้าอีก 5-10 ปีต่อจากนี้ "หนี้สิน" ก็ยังคงมีอยู่

ภารกิจของกิจการเก็บหนี้นั้น ก็คือ การที่เขาไปซื้อหนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ที่ถูกตัดขายมาจากสถาบันการเงินในราคาถูก และนำเอาหนี้เสียมาเปลี่ยนให้เป็นหนี้ที่ดี หากไม่มีระบบการเปลี่ยนหนี้เสียไปเป็นหนี้ที่ดี เศรษฐกิจโดยภาพรวมก็จะถูกสะสมด้วยมูลหนี้ที่ไม่ดีไปเรื่อยๆ จนถึงทางตัน
ถ้าเรามาดูว่า "หุ้นเก็บหนี้" จะเติบโตได้อย่างไร ... ที่จริงแล้วก็มีตัวอย่างให้เห็นกันแล้ว หุ้นตัวอย่างที่ยกมาให้พินิจพิเคราะห์ก็คือ JMT : บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) ที่ตัวกิจการเองเน้นการซื้อหนี้เสียที่ไม่มีหลักประกัน นำมาบริหารจัดการ โดยสถิติตั้งแต่ปี 2010 ถึงปี 2019 จะเห็นได้ว่า กิจการประมูลหนี้ หรือซื้อหนี้มาสะสมมากถึง 1.74 แสนล้านบาท!

มาดูในฟากฝั่งของการเก็บหนี้ จะเห็นได้ว่าตัวเลขตั้งแต่ปี 2007 ที่เริ่มต้นเก็บหนี้ที่ราว 31 ล้านบาทเท่านั้น ผ่านมาสิบกว่าปี จนในปี 2019 สามารถเก็บหนี้ต่อปีได้มากถึง 3,204 ล้านบาท! เรียกว่าการเติบโตเป็นแบบ Exponential ก็คงจะกล่าวไม่ผิดนัก
ข้อสรุป และข้อคิดก็คือ ... หุ้นเก็บหนี้สำหรับผมแล้วดูมีอนาคตเป็นอย่างมาก เหตุผลก็คือ กิจการเก็บหนี้เป็นสิ่งจำเป็นในระบบเศรษฐกิจ และยังช่วยให้คนที่เสียเครดิตไปแล้ว กลับมามีเครดิตได้อีกด้วย ในภาพระยะยาว 5-10 ปี "หนี้สิน" ก็มีแต่จะเติบโตขึ้น แม้ในยามเศรษฐกิจตกต่ำ "หนี้เสีย" จะเพิ่มขึ้นมากกว่าในยามปกติเสียด้วยซ้ำ โอกาสแห่งการเติบโตเปิดกว้าง แต่การเป็นนักลงทุนต้องมองให้รอบด้าน มองผลได้ผลเสียประกอบด้วยจึงจะครบถ้วนสมบูรณ์ในกระบวนท่าการลงทุนแบบเน้นคุณค่าในหุ้นเติบโตนั่นเองครับ
#นายแว่นลงทุน
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)