จริงหรือไม่-ใช่หรือมั่ว : การเป็นหนี้มีแต่ข้อเสีย!!

icon 3 เม.ย. 63 icon 1,423
จริงหรือไม่-ใช่หรือมั่ว : การเป็นหนี้มีแต่ข้อเสีย!!

จริงหรือไม่-ใช่หรือมั่ว : การเป็นหนี้มีแต่ข้อเสีย!!

เรื่องการเงินก็เป็นเหมือนกับทุกๆ เรื่อง ที่มีทั้งคนที่เข้าใจถูก และมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าใจผิดอยู่ ในครั้งนี้จะยกเอาในเรื่องความเข้าใจผิดที่หลายคนเข้าใจเกี่ยวกับ "หนี้" มาฝากทุกคนให้พอเข้าใจเรื่องหนี้กันมากขึ้นค่ะ ซึ่งถ้าได้ยินคำว่า "หนี้" แล้ว หลายคนคงต้องอยากหนีไปให้ไกล ไม่อยากข้องเกี่ยว หรือไม่อยากมีหนี้กันแน่นอน แต่...รู้มั้ยคะ คำว่า "หนี้" ที่หลายคนรู้จักอยู่นี้ ไม่ได้หมายถึงความหมายในเชิงลบอย่างเดียว แต่ "หนี้" ยังมีความหมายในเชิงบวกอีกด้วย ซึ่งเรียกว่า "หนี้ดี" นั่นเอง

"หนี้ดี" ต้องเป็นอย่างไร?

"หนี้ดี" หมายถึง หนี้สร้างรายได้ ทำให้เกิดมูลค่า และให้ประโยชน์กับลูกหนี้ เช่น หนี้เพื่อการลงทุนทำกิจการ หนี้ผ่อนบ้าน ที่อยู่อาศัย หนี้เพื่อการศึกษา เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกเรียกว่าเป็นหนี้เพื่อการลงทุน และสามารถเพิ่มมูลค่าได้ต่อไปในอนาคต
1. หนี้เพื่อการศึกษา ใช้ต่อยอดความสำเร็จ ยิ่งเรามีความรู้ความสามารถมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีหน้าที่การงาน มีอาชีพที่ดีและสร้างรายได้มากขึ้น รวมทั้งสามารถต่อยอดสร้างรายได้จากความสามารถที่เรามีในด้านอื่นๆ ถือเป็นใบเบิกทางสำหรับอนาคต
2. หนี้เพื่อสร้างอาชีพ เป็นทางเลือกในการลงทุนทำธุรกิจส่วนตัว หรือขยายธุรกิจที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มโอกาสและสร้างรายได้ให้กับธุรกิจที่มีอยู่มากขึ้น
3. หนี้เพื่อความมั่นคง ด้วยการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จในความมั่นคงแล้ว ยังใช้เป็นตัวช่วยในเชิงการลงทุนได้อีกด้วย เพราะสินทรัพย์พวกนี้ (บ้าน - คอนโด) มีแต่จะเพิ่มมูลค่ามากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง

"หนี้เสีย" เป็นแบบไหน?

"หนี้เสีย" หมายถึง หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายเกินตัว จนไม่สามารถจัดการหรือควบคุมได้ จนทำให้หนี้สินวนเวียนไม่รู้จักจบสิ้น คล้ายกับดินพอกหางหมู หรือที่เรียกว่า "NPL (Non-performing Loan)"
1. หนี้จากการซื้อสินทรัพย์โดยไม่จำเป็น กู้ซื้อรถที่มีราคาไม่สอดคล้องกับรายได้ และไม่สามารถนำรถนั้นไปใช้งานหรือหารายได้เพิ่มได้
2. หนี้จากการใช้บัตรเครดิต, บัตรกดเงินสด และสินเชื่อบุคคลอื่นๆ ใช้ก่อนจ่ายทีหลัง แถมยังเลือกจ่ายเฉพาะยอดขั้นต่ำ เพื่อตอบสนองกิเลสส่วนตัว ทำให้เป็นหนี้แบบทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นหนี้ระยะยาว

เคล็ด (ไม่) ลับ...จัดการกับ "หนี้เสีย" ให้อยู่หมัด 

"หนี้เสีย" ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากความเผอเรอ การใช้จ่ายเกินตัว และไม่มีวินัยในการจัดการเงินของตัวเอง ดังนั้น ก่อนเป็นหนี้เราจะต้องคิดให้รอบคอบ พิจารณาถึงองค์รวมในการสร้างรายจ่ายในแต่ละรายการทั้งหมดประกอบด้วย ซึ่งจะทำให้เราเห็นภาพรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เราต้องรับผิดชอบ เพราะทั้งหมดนี้จะช่วยให้เราประเมินได้ว่า เราควรใช้หรือซื้อของชิ้นนั้นๆ หรือไม่ แต่ถ้าเป็นหนี้ไปแล้ว...ทางทีมงาน CheckRaka ก็ไม่พลาดที่จะเอาคำแนะนำดีๆ มาฝากคนที่เป็นหนี้ไปเรียบร้อยแล้วกันค่ะ
1. รวบรวมหนี้ - ต้องรู้ก่อนว่าเรามีหนี้อะไรบ้าง ยอดหนี้ทั้งหมดเท่าไหร่ ด้วยการทำลิสต์รายการหนี้สินทั้งหมด
2. จัดระเบียบหนี้ - พิจารณาว่าหนี้ไหนเป็น "หนี้ดี" และหนี้ไหนเป็น "หนี้เสีย" พอเห็นภาพชัดเจนแล้วจะทำให้เรารู้ว่าควรจัดการกับหนี้กลุ่มไหนก่อน โดยหนี้ที่ต้องจัดการเป็นอันดับแรก คือ "หนี้เสีย" นั่นเอง
3. จัดลำดับการชำระหนี้ - ซึ่งเราจะต้องให้ความสำคัญกับ "หนี้เสีย" ที่มีดอกเบี้ยแพงๆ ก่อน
4. ไม่เพิ่มหนี้ - ด้วยการงดรายจ่ายฟุ่มเฟือยทั้งหมด แล้วนำเงินที่เคยใช้ในส่วนนี้นำไปจ่ายชำระ "หนี้เสีย" ซึ่งจะทำให้หนี้หมดเร็วขึ้น
5. อย่า!! ผิดนัดชำระหนี้ - ต้องชำระหนี้ให้ครบถ้วนทุกยอดหนี้
"หนี้" ไม่ใช่เรื่องแย่ หรือดูร้ายแรงทั้งหมด แต่ "หนี้" ก็ยังมีมุมของความดีอยู่เหมือนกัน แค่เราทำความรู้จัก และเข้าใจการเป็นหนี้ให้ถูกวิธี ความดีของหนี้ก็จะทำให้เราเป็นเศรษฐีได้ ดังนั้น "หนี้" ที่หลายคนเข้าใจว่า "การเป็นหนี้มีแต่ข้อเสีย" ก็ไม่จริง!! ค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ความจริงของการเป็นหนี้ ข้อดีของหนี้ ข้อเสียของหนี้ หนี้สร้างรายได้
Money Guru
เขียนโดย สินีนาฏ มากทองหลาง Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)