"แชร์ลูกโซ่" คือ "ความเสี่ยง" ไม่ใช่การลงทุน ... แต่เป็นภัยร้ายของคนอยากรวย!!

icon 14 พ.ย. 62 icon 7,305
"แชร์ลูกโซ่" คือ "ความเสี่ยง" ไม่ใช่การลงทุน ... แต่เป็นภัยร้ายของคนอยากรวย!!

"แชร์ลูกโซ่" คือ "ความเสี่ยง" ไม่ใช่การลงทุน ... แต่เป็นภัยร้ายของคนอยากรวย!!

ถ้าบอกว่า ... มาลงทุนกับเรา แล้วจะได้ผลตอบแทนสูงถึง 93% (ลงทุน 100 บาท ได้ดอกเบี้ย 93 บาท) แน่นอนว่าใครได้ยินแบบนี้ก็ต้องร้อง WoW กันทุกคน เพราะผลตอบแทนที่ได้สูงมากถึงมากที่สุด แต่เดี๋ยวก่อนค่ะ!! เราต้องเอะใจก่อนว่า คำโฆษณาชวนเชื่อแบบนี้มันจะมีอยู่จริงได้ยังไง? เป็นการลงทุนอะไร? แบบไหน? ถึงทำให้เราได้ผลตอบแทนสูงขนาดนี้ และนี่อาจจะเป็นอีกหนึ่งภัยที่มาในรูปแบบของ "แชร์ลูกโซ่" ที่ทำให้คนส่วนใหญ่หลงเชื่อเพราะอยากรวยเร็วๆ ด้วยการนำเงินไปร่วมลงทุน โดยการลงทุนในลักษณะนี้จะได้ผลตอบแทนตามคำเชิญชวนในครั้งแรก จึงทำให้ผู้ที่ลงทุนเชื่อและเอาเงินมาทุ่มลงไปอีก รวมถึงมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ชักชวนญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูง ให้ร่วมลงทุนด้วย ดังจะเห็นได้จากข่าวที่กำลังโด่งดังในปัจจุบัน อย่างแชร์ "แม่มณี" ที่มีผู้เสียหายถึง 4 พันกว่าราย ยอดเงินของผู้เสียหายพุ่งถึงพันล้านบาท เพราะฉะนั้น เราควรรู้ทันและระวังภัยในลักษณะนี้ให้มากๆ ด้วยการทำความเข้าใจและรู้จักกับ "แชร์ลูกโซ่" ก่อนจะตกเป็นเหยื่อกันค่ะ

"แชร์ลูกโซ่" ถือได้ว่าเกิดมาจากการ "เล่นแชร์" ก็ว่าได้ แต่เป็นการนำเอาวิธีการและขั้นตอนของการเล่นแชร์ในสมัยก่อนนำมาใช้ในทางที่ผิด ด้วยการฉ้อโกงสมาชิกที่ร่วมลงทุนโดยการเสนอผลตอบแทนที่สูงมากเพื่อใช้เป็นแรงจูงใจในการร่วมลงทุน โดยความหมายอย่างเป็นทางการของ "แชร์ลูกโซ่" ก็คือ รูปแบบการทำธุรกิจที่มุ่งหารายได้จากการระดมทุนเป็นหลัก และให้สัญญาว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนในรูปแบบต่างๆ ที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพร้อมได้รับในระยะเวลาอันสั้น มักจะมีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ร่วมลงทุนในระยะแรกๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและกระตุ้นให้เกิดการชักจูงให้เข้าร่วมลงทุน แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่ได้มีการประกอบธุรกิจใดๆ ที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนตามที่กล่าวอ้างกับผู้ร่วมลงทุน แต่จะใช้วิธีการนำเงินลงทุนของสมาชิกใหม่หมุนเวียนมาจ่ายให้สมาชิกเก่า และเมื่อไม่สามารถหาสมาชิกใหม่มาลงทุนเพิ่มได้ ก็จะไม่มีเงินมาจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สัญญาไว้ และในที่สุดก็ต้องปิดกิจการหนีไป ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นเพียงการจัดคิวเงิน หรือโยกย้ายเงิน แต่ไม่ได้มีการนำไปลงทุนตามที่บอกไว้ ดังนั้น ผลประโยชน์ตอบแทนที่นำมาจ่ายให้แก่สมาชิก ก็คือ เงินที่สมาชิกเอามาลงทุนนั่นเอง


"แชร์ลูกโซ่" พวกนี้ส่วนใหญ่แล้วจะแฝงมาในทุกรูปแบบ เพื่อหลอกลวงให้คนอื่นหลงเชื่อ ทำอะไรได้ ... ทำ หลอกอะไรได้ ... หลอก ปัจจุบันเราได้รวบรวมรูปแบบที่มิจฉาชีพพวกนี้เอามาหลอกก็จะมีอยู่ด้วยกัน 7 รูปแบบ คือ
1. ใช้สินค้าทางการเกษตรมาเป็นตัวล่อให้ร่วมลงทุน
2. เอาผลิตภัณฑ์ยา หรืออาหารเสริมอวดอ้างสรรพคุณรักษาได้สารพัดโรค
3. ขายฝันระดมทุนตั้งบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์แบบหลอกๆ
4. ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งดึงดูดล่อหลอกใจให้ร่วมลงทุน
5. ใช้ความทันสมัยในโลกโซเชียลมีเดียล่อเหยื่อนักศึกษาให้หลงกล
6. ใช้การทำบุญบังหน้า เป็นการใช้จุดอ่อนของคนส่วนใหญ่ที่ทำให้เห็นว่า ถ้าลงทุนแล้วจะได้ทั้งบุญและได้เงินกลับมา
7. แอบอ้างใช้ชื่อ และยศตำแหน่งของผู้มีอิทธิพล มาเพื่อสร้างบารมีตัวเอง

ปกติแล้ว ท้าวแชร์ลูกโซ่จะมีหลากหลายวิธีเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับสมาชิกสนใจและร่วมลงทุน ด้วยการเสนอผลตอบแทนสูงๆ และเมื่อสมาชิกร่วมลงทุนในครั้งแรกก็จะมีการจ่ายผลตอบแทนตามที่สัญญาไว้ และเมื่อสมาชิกเกิดการไว้วางใจว่าได้รับผลตอบแทนชัวร์แล้วก็จะนำเงินมาร่วมลงทุนเพิ่มขึ้น หรือบางรายก็จะชักชวนเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง ให้ร่วมลงทุนด้วย และจากความจูงใจในผลตอบแทนนี้จึงทำให้มีผู้ตกเป็นเหยื่อเพิ่มมากขึ้น เงินที่นำมาหมุนเวียนในระบบแชร์ลูกโซ่ก็มากขึ้นตามไปด้วยเป็นทวีคูณ โดยท้าวแชร์ลูกโซ่ส่วนใหญ่จะมีวิธีนำเสนอ หรือวิธีหลอกลวง ตามที่ได้เคยเกิดขึ้นจากคดีแชร์ลูกโซ่ต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้

"แชร์ลูกโซ่" เป็นความผิด ใครทำผิดต้องระวังให้ดี เพราะความผิดทางกฎหมายนี้ถือว่ามีโทษหนักเลย ซึ่งเป็นความผิดทั้ง พรก. และ พรบ. ที่ถือเป็นการฉ้อโกงประชาชน โดยมีโทษทั้งหมดดังนี้


ภัยจากมิจฉาชีพในลักษณะของแชร์ลูกโซ่นี้ได้สร้างความเสียหายให้กับคนที่หลงเชื่อและสูญเงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ทุกครั้งที่เราได้รับข่าวสารหรือการชักชวนลงทุนโน่น นี่ นั่น ก็ต้องฉุกคิดกันก่อนนะคะว่า ในคำแอบอ้างของผลตอบแทนที่ได้นั้นมันสมเหตุสมผลหรือไม่ คิดให้ดีก่อนหลงเชื่อ
  • ศึกษาที่มาที่ไปของรูปแบบการลงทุนให้ดี ธุรกิจนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ มีใบอนุญาตทำธุรกิจยืนยันจริงไหม
  • เราต้องไม่โลภ ไม่เห็นแก่ผลตอบแทนสูงๆ ที่มีคนมาหลอกล่อ
  • อย่าไว้ใจใครง่ายๆ ถึงแม้จะเป็นคนใกล้ตัวก็ตาม ถ้าเห็นว่าไม่ชอบมาพากลก็ปฏิเสธไปเลย
  • เมื่อมีกิจกรรมหรือจัดอบรมที่เราดูแล้วไม่แน่ใจก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะมิจฉาชีพพวกนี้จะใช้จิตวิทยาหว่านล้อมให้ร่วมลงทุนโดยที่เราไม่รู้ตัว หรือถ้ามารู้ตัวทีหลังก็สายไปแล้ว
หากพบข้อสงสัยหรือต้องการตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการหลอกลวงของมิจฉาชีพพวกนี้ให้แจ้งไปได้ที่...

"แชร์ลูกโซ่" ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเก่าที่ใครๆ ก็รู้ว่ามีคนโดนหลอกซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ไม่ว่าจะเป็นยุคไหน สมัยใด ก็ยังมีข่าวให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นจากแชร์ลูกโซ่นั้นอยู่ดี นั่นแสดงได้ว่าผลตอบแทนในจำนวนมหาศาล หรือความโลภนั้น ทำให้คนส่วนใหญ่ตกหลุมพลางและพลาดพลั้งทำให้ถูกหลอกลวงเป็นจำนวนไม่น้อย ดังนั้น ถ้าเราเห็นว่าเมื่อไหร่ที่เรื่องราวของแชร์ลูกโซ่กำลังมาใกล้ตัว ก็ขอให้มีสติ และรีบหนีห่างให้ไกลที่สุดเลยค่ะ
แท็กที่เกี่ยวข้อง ผลตอบแทน รู้ทัน ลงทุน ระวัง ความเสี่ยง แชร์ลูกโซ่ อันตราย หมดตัว ภัยการเงิน ตกเป็นเหยื่อ
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)