"กองทุนรวม" แบบไหน ตอบโจทย์มนุษย์เงินเดือนที่ "กลัวความเสี่ยง" หรือมนุษย์ฟรีแลนซ์ที่ชอบ "ท้าทายความเสี่ยง" ได้ดีที่สุด?

icon 13 พ.ย. 62 icon 7,879
"กองทุนรวม" แบบไหน ตอบโจทย์มนุษย์เงินเดือนที่ "กลัวความเสี่ยง" หรือมนุษย์ฟรีแลนซ์ที่ชอบ "ท้าทายความเสี่ยง" ได้ดีที่สุด?

กองทุนรวมแบบไหน ตอบโจทย์คนที่กลัวความเสี่ยง หรือฟรีแลนซ์ที่ชอบท้าทายความเสี่ยงได้ดีที่สุด?

ปัจจุบันในเมืองไทยมีกองทุนรวมเยอะแยะมากมายเต็มไปหมด ตามข้อมูลของ Morning Star Thailand ตอนนี้มีทั้งหมดประมาณ 1,735 กองทุน (ส่วนของ WealthMagik มีประมาณ 1,706 กองทุน) และกองทุนรวมสมัยนี้ก็ตั้งชื่อเป็นตัวย่ออ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง เขียนกันเป็นภาษาอังกฤษ โฆษณาขายกันทางวิทยุหรือเว็บไซต์เต็มไปหมด และก็บอกระดับความเสี่ยงเป็นตัวเลขแบบวิชาการ อ่านแล้วไม่ค่อยแน่ใจว่าเหมาะกับเราหรือเปล่า วันนี้ เช็คราคา.คอม จะมาอธิบายช่วยจัดกลุ่มความเสี่ยงของพวกเราด้วยภาษาง่ายๆ เพื่อช่วยจับคู่ให้พวกเราเห็นว่าถ้าเรารับความเสี่ยงได้ประมาณนี้ เราควรเลือกกองทุนรวมประเภทไหน เรามาดูกันครับ (หลักๆ จะอิงตามนโยบายการลงทุน 10 แบบมาตรฐานของสำนักงาน ก.ล.ต.)

ภาพรวมของความเสี่ยงกองทุนรวม (จาก Uobam)

ถ้าคุณเป็นคนประเภท Risk Averse หรือ Super Conservative ซึ่งตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต. เป็นคนที่เหมาะกับกองทุนรวมที่มีความปลอดภัยสูงที่สุด เรียกว่าความเสี่ยงระดับ 1 (จาก 8) (ระดับ 1 คือเสี่ยงต่ำมาก) ซึ่งถ้าเราเป็นคนแบบนี้ เราต้องยอมรับก่อนว่าอัตราผลตอบแทนจะต่ำตามความเสี่ยง คือโดยเฉลี่ยจะประมาณ 1-2% ต่อปีเท่านั้น เหมาะสำหรับคนที่ต้องการผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินกับธนาคารเล็กน้อย ไม่ต้องการความเสี่ยงและมีวัตถุประสงค์การลงทุนในระยะสั้น ๆ กองทุนในกลุ่มนี้คือ
กองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนเฉพาะในประเทศไทย และระยะสั้น (Domestic Money Market Fund) มีนโยบายลงทุนเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น โดยลงทุนในเงินฝากธนาคาร ตั๋วเงินคลัง ตราสารทางการเงินในประเทศ หรือทรัพย์สินอื่น ซึ่งมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถาม หรือจะครบกำหนดชำระคืน หรือมีอายุสัญญาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่เข้าลงทุน หรือเข้าทำสัญญานั้น และมี Portfolio Duration ในขณะใดขณะหนึ่ง ไม่เกิน 3 เดือน (คำว่า Portfolio Duration คือตัวเลขของอายุเฉลี่ยของเงินฝาก หรือตราสารทั้งหมดที่เหลืออยู่ (นับจนถึงวันครบกำหนดของเงินฝาก หรือตราสาร) ที่กองทุนรวมนั้นลงทุนอยู่ ณ ขณะนั้นๆ) ยิ่งตัวเลขน้อย เช่น 3 เดือนย่อมเสี่ยงน้อย เพราะระยะเวลาที่จะเกิดความผันผวนของดอกเบี้ยจะน้อยลงนั่นเอง 

ความเสี่ยงระดับ 1

ความเสี่ยงระดับ 1

กองทุนประเภทนี้เรียกได้ว่าเป็นพวกกองทุน Conservative ซึ่งตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต. เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงไม่เยอะ เรียกว่าความเสี่ยงระดับ 2-4  (จาก 8) (เสี่ยงปานกลางค่อนไปทางเสี่ยงต่ำ) อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนรวมความเสี่ยงระดับนี้ จะมีได้ตั้งแต่ 3-4% ต่อปี กองทุนรวมประเภทนี้เหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงได้น้อย เน้นปกป้องเงินลงทุน โดยมุ่งหวังรายได้สม่ำเสมอจากการลงทุน ซึ่งถ้าเราเป็นคนแบบนี้ กองทุนรวมที่เหมาะกับคุณจะเป็นกลุ่มนี้ โดยมีตัวอย่างกองทุนของจริงข้างล่างนี้
กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาลไทย ในระยะยาว (Long-Term Government Bond Fund) มีนโยบายเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังไทยค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งมีกำหนดเวลาชำระคืนที่หลากหลายนานกว่า 1 ปี ดังนั้น จึงมีเรื่อง Maturity Risk เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
กองทุนรวมที่ลงทุนในตลาดเงินต่างประเทศบางส่วน (Partially Overseas Investing Money Market Fund) มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศบางส่วน โดยลงทุนในเงินฝากตราสารหนี้ หรือหลักทรัพย์ ในต่างประเทศซึ่งมีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถาม หรือจะครบกำหนดชำระคืนหรือมีอายุสัญญาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สินหรือเข้าทำสัญญานั้น ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงเรื่อง Currency Risk
กองทุนรวมตราสารหนี้ที่ไม่จำกัดประเภท (Fixed Income Fund) มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป คือ ไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นตราสารหนี้แบบไหน ระยะเวลาเท่าใด ดังนั้น จึงมีทั้งความเสี่ยงเรื่อง Maturity Risk และ Credit Risk ของผู้ออกตราสารนั้นๆ
กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะสั้น (Short-term Fixed Income fund) มีนโยบายการลงทุนในเงินฝาก หรือตราสารหนี้ โดยทั้งกองทุนมี Portfolio Duration ในขณะใดขณะหนึ่งของกองทุนรวมนั้นไม่เกิน 1 ปี (คำว่า Portfolio Duration คือตัวเลขของอายุเฉลี่ยของเงินฝาก หรือตราสารทั้งหมดที่เหลืออยู่ (นับจนถึงวันครบกำหนดของเงินฝาก หรือตราสาร) ที่กองทุนรวมนั้นลงทุนอยู่ ณ ขณะนั้นๆ) ยิ่งตัวเลขน้อย เช่น 3 เดือน ย่อมเสี่ยงน้อย เพราะระยะเวลาที่จะเกิดความผันผวนของดอกเบี้ยจะน้อยลงนั่นเอง เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะสั้น และต้องการความเสี่ยงต่ำ
กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะยาว (Long-term Fixed Income Fund) มีนโยบายการลงทุนในเงินฝาก หรือตราสารหนี้ โดยกองทุนมีวัตถุประสงค์ที่จะดำรง Portfolio Duration ในขณะใดขณะหนึ่งของกองทุนรวมนั้นมากกว่า 1 ปีขึ้นไป (คำว่า Portfolio Duragion คือตัวเลขของอายุเฉลี่ยของเงินฝาก หรือตราสารทั้งหมดที่เหลืออยู่ (นับจนถึงวันครบกำหนดของเงินฝาก หรือตราสาร) ที่กองทุนรวมนั้นลงทุนอยู่ ณ ขณะนั้นๆ) ยิ่งตัวเลขน้อย เช่น 3 เดือน ย่อมเสี่ยงน้อย เพราะระยะเวลาที่จะเกิดความผันผวนของดอกเบี้ยจะน้อยลงนั่นเอง เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงต่ำ และสามารถลงทุนระยะยาวได้
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) มีนโยบายลงทุนในกองทุนที่ให้เช่าทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ หรือให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม คลังสินค้า โรงไฟฟ้า โทรคมนาคม เป็นต้น กองทุนประเภทนี้จะมีความหลากหลายมาก และอาจมีได้ทั้งความเสี่ยงตั้งแต่ 2-8 โดยหากคนสนใจกองทุนรวมประเภทนี้ จะต้องศึกษารายละเอียดของกองทุนแต่ละตัว ก่อนตัดสินใจว่าเราจะรับความเสี่ยงได้เพียงใด ตัวอย่าง เช่น

(ก) ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จะมีความเสี่ยงสูงกว่าทรัพย์สินที่สร้างเสร็จ และมีรายได้แล้ว
(ข) หากเป็นกองทุนรวมให้เช่าทรัพย์สิน ผู้เช่าระยะยาว และจดทะเบียนเช่า (เช่น เกิน 3 ปี) จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าผู้เช่าระยะสั้น (ต่ำกว่า 3 ปี)
(ค) กองทุน leasehold จะมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุน freehold ในเรื่องมูลค่าทรัพย์สินที่ลดลงตามอายุสิทธิการเช่าที่เหลืออยู่
(ง) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จะมีลักษณะทรัพย์สิน และเงื่อนไขในสัญญาจัดหาประโยชน์ที่ซับซ้อนกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(จ) กองทุนรวมที่รับรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ ย่อมมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนรวมที่รับรายได้เป็นเงินบาท เนื่องจาก Exchange Risk

ความเสี่ยงระดับ 3

ความเสี่ยงระดับ 4

กองทุนประเภทนี้เรียกได้ว่าเป็นพวกกองทุนผสม (Balance Fund) ซึ่งตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต. เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางค่อนไปทางสูง เรียกว่าความเสี่ยงระดับ 5 (จาก 8) (เสี่ยงปานกลางค่อนไปทางเสี่ยงสูง) เหมาะสำหรับคนที่สามารถยอมรับมูลค่าการลงทุนที่ลดลงเป็นครั้งคราวได้ ประเภทของกองทุน และตัวอย่างที่ขายในตลาด มีดังนี้
กองทุนรวมผสม หรือกองทุนตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน  (Balance Fund) มีนโยบายลงทุนผสม ระหว่างตราสารหนี้และตราสารทุน โดยลงทุนในตราสารหนี้ และลงทุนได้ทุกประเภท ผู้จัดการกองทุนสามารถแสวงหาโอกาสลงทุนที่ดีกว่าได้ทั้งในตลาดตราสารทุน และตลาดตราสารหนี้ แต่เป็นการจัดสรรเงินลงทุนประเภทสมดุล เพราะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับ Ceiling และ Floor ในการลงทุนในตราสารทุน เช่น ห้ามลงทุนบางอย่างเกินกี่ % ของทั้งพอร์ตการลงทุน เป็นต้น
กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น (Flexible Portfolio Fund) มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด หรือให้ความเห็นชอบให้กองทุนประเภทดังกล่าวลงทุนได้ การจัดสรรเงินลงทุน และจะลงทุนตรงไหน จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจลงทุนของผู้จัดการกองทุนรวม ตามความเหมาะสม และสภาวการณ์ในแต่ละขณะ สามารถลงทุนในตราสารทุน และตราสารหนี้ทุกประเภท เช่นเดียวกับกองทุนรวมผสม แต่ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับ Ceiling และ Floor ในการลงทุนในตราสารทุนว่าต้องเป็นกี่ % หรือไม่เกินกี่ % แต่อย่างใด 
กองทุนรวมที่ลงทุนในหน่วยลงทุนอื่น (Fund of Funds) กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุน และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่น โดยรวมแล้ว กองทุนรวมประเภทนี้จะมีการกระจายการลงทุนไปในหลายกองทุนรวมภายใต้การจัดการของหลายผู้จัดการกองทุน และหลายบริษัทจัดการ จึงเป็นการกระจายความเสี่ยงที่กว้างขวาง แต่ก็มีข้อเสียว่าค่าธรรมเนียมในการจัดการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะมีความซ้ำซ้อน
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) มีนโยบายลงทุนในกองทุนที่ให้เช่า ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ หรือให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม คลังสินค้า โรงไฟฟ้า โทรคมนาคม เป็นต้น กองทุนประเภทนี้จะมีความหลากหลายมาก และอาจมีได้ทั้งความเสี่ยงตั้งแต่ 2-8 โดยหากคนสนใจกองทุนรวมประเภทนี้ จะต้องศึกษารายละเอียดของกองทุนแต่ละตัว ก่อนตัดสินใจว่าเราจะรับความเสี่ยงได้เพียงใด ตัวอย่าง เช่น

(ก) ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จะมีความเสี่ยงสูงกว่าทรัพย์สินที่สร้างเสร็จ และมีรายได้แล้ว
(ข) หากเป็นกองทุนรวมให้เช่าทรัพย์สิน ผู้เช่าระยะยาว และจดทะเบียนเช่า (เช่น เกิน 3 ปี) จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าผู้เช่าระยะสั้น (ต่ำกว่า 3 ปี)
(ค) กองทุน leasehold จะมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุน freehold ในเรื่องมูลค่าทรัพย์สินที่ลดลงตามอายุสิทธิการเช่าที่เหลืออยู่
(ง) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จะมีลักษณะทรัพย์สิน และเงื่อนไขในสัญญาจัดหาประโยชน์ที่ซับซ้อนกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(จ) กองทุนรวมที่รับรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ ย่อมมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนรวมที่รับรายได้เป็นเงินบาท เนื่องจาก Exchange Risk

ความเสี่ยงระดับ 5

กองทุนประเภทนี้เรียกได้ว่าเป็นกองทุนที่เหมือนเราลงทุนในหุ้นโดยตรง ราคากองทุนรวมประเภทนี้จะขึ้น-ลงไปตามดัชนีซื้อขายหุ้นที่ไปลงทุน ซึ่งตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต. เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูง เรียกว่าความเสี่ยงระดับ 6-7 (จาก 8) (เสี่ยงสูง) เหมาะสำหรับคนที่ยอมรับความเสี่ยงสูงได้ รับความผันผวนของตลาดได้ และสามารถยอมรับการขาดทุนได้ โดยมุ่งหวังการเติบโตของเงินลงทุน และผลตอบแทนในระยะยาว ตัวอย่าง และกองทุนพวกนี้จะเป็นตามกลุ่มนี้
กองทุนรวมลงทุนในหุ้น (ตราสารทุน) (Equity Fund) มีนโยบายการลงทุนในหุ้น หรือตราสารทุนเป็นหลัก โดยทั่วไปแล้วกองทุนรวมตราสารแห่งทุน มีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนรวม ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารประเภทอื่น จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูง และควรลงทุนเพื่อหวังผลที่ดีกว่าในระยะยาว
กองทุนรวมในหุ้น (ตราสารทุน) ของอุตสาหกรรม หรือกลุ่มธุรกิจใดกลุ่มหนึ่ง (Sector Fund) มีนโยบายการลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงในหุ้น หรือตราสารทุนของบริษัทเพียงบางหมวดอุตสาหกรรม หรือบางธุรกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (เช่น กลุ่มค้าปลีก กลุ่มธุรกิจส่งออก หรือกลุ่มธนาคาร เป็นต้น) ดังนั้น จึงเป็นการลงทุนที่กระจุกตัว จึงมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนรวมตราสารแห่งทุนโดยทั่วไป และในบางกรณี แม้ดัชนีหุ้นไทยโดยรวมอาจขึ้นสูง แต่อุตสาหกรรมนั้นๆ กลับมีปัญหา ก็จะทำให้กองทุนรวมของอุตสาหกรรมนั้นๆ ขาดทุน หรือมูลค่าลดลงได้
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) มีนโยบายลงทุนในกองทุนที่ให้เช่า ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ หรือให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม คลังสินค้า โรงไฟฟ้า โทรคมนาคม เป็นต้น กองทุนประเภทนี้จะมีความหลากหลายมาก และอาจมีได้ทั้งความเสี่ยงตั้งแต่ 2-8 โดยหากคนสนใจกองทุนรวมประเภทนี้ จะต้องศึกษารายละเอียดของกองทุนแต่ละตัว ก่อนตัดสินใจว่าเราจะรับความเสี่ยงได้เพียงใด ตัวอย่าง เช่น

(ก) ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จะมีความเสี่ยงสูงกว่าทรัพย์สินที่สร้างเสร็จ และมีรายได้แล้ว
(ข) หากเป็นกองทุนรวมให้เช่าทรัพย์สิน ผู้เช่าระยะยาว และจดทะเบียนเช่า (เช่น เกิน 3 ปี) จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าผู้เช่าระยะสั้น (ต่ำกว่า 3 ปี)
(ค) กองทุน leasehold จะมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุน freehold ในเรื่องมูลค่าทรัพย์สินที่ลดลงตามอายุสิทธิการเช่าที่เหลืออยู่
(ง) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จะมีลักษณะทรัพย์สิน และเงื่อนไขในสัญญาจัดหาประโยชน์ที่ซับซ้อนกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(จ) กองทุนรวมที่รับรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ ย่อมมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนรวมที่รับรายได้เป็นเงินบาท เนื่องจาก Exchange Risk

ความเสี่ยงระดับ 6

ความเสี่ยงระดับ 7

กองทุนประเภทนี้เรียกได้ว่าเป็นพวกกองทุน Aggressive ซึ่งตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต. เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงระดับ 8  (จาก 8) (เสี่ยงสูงมาก) เหมาะสำหรับคนที่สามารถยอมรับกับการขาดทุน หรือสูญเสียได้อย่างน้อยประมาณ 20-30% และต้องการผลตอบแทนในระดับที่สูง
กองทุนที่มีการลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก (Alternative Fund) มีนโยบายลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นทางเลือกใหม่ในการลงทุน หรือมีโครงสร้างซับซ้อน เข้าใจยาก เช่น Commodity, Gold Fund, Derivatives ที่ไม่ใช่เพื่อการบริหารความเสี่ยง (Hedging) ซึ่งรวมถึงตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่ไม่คุ้มครองเงินต้นด้วย เป็นต้น 
กองทุนรวมใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant fund) มีนโยบายการลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน การลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น มีความเสี่ยงสูง กองทุนประเภทนี้จึงมีความเสี่ยงสูงมาก 
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) 

มีนโยบายลงทุนในกองทุนที่ให้เช่า ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ หรือให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม คลังสินค้า โรงไฟฟ้า โทรคมนาคม เป็นต้น กองทุนประเภทนี้จะมีความหลากหลายมาก และอาจมีได้ทั้งความเสี่ยงตั้งแต่ 2-8 โดยหากคนสนใจกองทุนรวมประเภทนี้ จะต้องศึกษารายละเอียดของกองทุนแต่ละตัว ก่อนตัดสินใจว่าเราจะรับความเสี่ยงได้เพียงใด ตัวอย่าง เช่น

(ก) ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จะมีความเสี่ยงสูงกว่าทรัพย์สินที่สร้างเสร็จ และมีรายได้แล้ว
(ข) หากเป็นกองทุนรวมให้เช่าทรัพย์สิน ผู้เช่าระยะยาว และจดทะเบียนเช่า (เช่น เกิน 3 ปี) จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าผู้เช่าระยะสั้น (ต่ำกว่า 3 ปี)
(ค) กองทุน leasehold จะมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุน freehold ในเรื่องมูลค่าทรัพย์สินที่ลดลงตามอายุสิทธิการเช่าที่เหลืออยู่
(ง) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จะมีลักษณะทรัพย์สิน และเงื่อนไขในสัญญาจัดหาประโยชน์ที่ซับซ้อนกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
(จ) กองทุนรวมที่รับรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ ย่อมมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนรวมที่รับรายได้เป็นเงินบาท เนื่องจาก Exchange Risk

ความเสี่ยงระดับ 8

ความเสี่ยงระดับ 8
ตอนนี้เหลือเวลาอีกไม่กี่เดือนสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่อยากซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีก่อนสิ้นปี และในขณะเดียวกันใครที่กล้าได้กล้าเสีย ชอบผลตอบแทนสูงๆ ตอนนี้ตลาดหุ้นผันผวนสูงมาก ใครที่อยากลองเปลี่ยนการลงทุน (เอง) จากตลาดหุ้นมากองทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูง (ผ่านผู้จัดการกองทุน) ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย ลองดูกันนะครับ และขอให้ทุกคนโชคดีได้ผลตอบแทนสมกับความเสี่ยงที่เราลงทุนลงแรงไปนะครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง มนุษย์เงินเดือน ผลตอบแทน กองทุนเปิด ลงทุน นักลงทุน ฟรีแลนซ์ ความเสี่ยง กองุทนรวม
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)