หมัดต่อหมัด! "บัญชีเงินฝากออมทรัพย์" เจ้าไหน น่าฝากเงินด้วยที่สุดในตลาดตอนนี้?
"จะฝากเงินที่ไหนดี?" คำถามที่ผุดขึ้นมาในหัวเมื่อเราคิดจะเริ่มเก็บออมเงิน และวิธีง่ายๆ ที่คนมักจะนึกถึงเป็นอันดับแรกคือ การฝากเงินไว้กับธนาคารค่ะ เพราะเชื่อว่าไม่มีความเสี่ยง ปลอดภัย และเงินต้นอยู่ครบ ซึ่งการฝากเงินกับธนาคารก็มีบัญชีหลายประเภทให้เลือกฝาก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ฝากว่าต้องการ ดอกเบี้ยสูง หรือต้องการความคล่องตัวมากน้อยแค่ไหน ถ้าวัดกันที่เรื่องดอกเบี้ย "บัญชีเงินฝากประจำ" ก็น่าจะชนะเลิศอยู่แล้ว แต่ถ้าพูดถึงความคล่องตัว เบิก-ถอนเมื่อไหร่ก็ได้ ก็คงจะเป็น "บัญชีออมทรัพย์" ที่ตอบโจทย์ได้ดีที่สุด ซึ่งเดี๋ยวนี้แต่ละธนาคารก็แข่งกันออกบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงมาหลากหลายรูปแบบ บางธนาคารก็เคลมกันมาว่าสูงเทียบเท่าบัญชีเงินฝากประจำเลยทีเดียว วันนี้เราเลยจะมาเปรียบเทียบกันแบบหมัดต่อหมัดว่า "บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง" ของธนาคารไหน น่าฝากเงินด้วยมากที่สุดในตลาดตอนนี้
"บัญชีออมทรัพย์" จุดเด่นที่สุดก็คือ มีความคล่องตัวสูง สามารถเบิก-ถอนเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ถ้าคิดจะฝากเพื่อเก็บออมแล้ว Goal ในใจผู้ฝากก็คือ อยากได้ดอกเบี้ยสูงๆ ด้วย เราลองเลือกบัญชีที่น่าสนใจของหลายๆ ธนาคารในตลาดมาเปรียบเทียบ แต่ละ Feature กันดูค่ะ ว่าถ้ามีเงินออมเพียงหลักหมื่นจะมีบัญชีไหนเข้าตา และน่าสนใจบ้าง
| เงินฝาก ออมทรัพย์ Ultra Savings
| เงินฝากออมทรัพย์ จัดเต็ม | เงินฝาก ทีเอ็มบี โน ฟิกซ์
| เงินฝาก ออมทรัพย์ มีแต่ได้
|
| | | |
อัตราดอกเบี้ย (% ต่อปี) | 1.60% | 1.50%** | 1.30% *โปรโมชั่น อัตราดอกเบี้ย 1.60% ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด | 1.30% |
ยอดเงินฝาก (บาท) | ตั้งแต่ 20,000 บาท แต่ไม่ถึง 50,000,000 บาท | ส่วนที่เกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000,000 บาท | ตั้งแต่ 1 บาท แต่ไม่เกิน 20,000,000 บาท | ตั้งแต่ 1 บาท แต่ไม่เกิน 50,000,000 บาท |
จำนวนเงินเปิดบัญชี ขั้นต่ำ (บาท) | 500 | 500 | ไม่กำหนด | 500 |
การจ่ายดอกเบี้ย | ทุกเดือน | ปีละ 2 ครั้ง | ปีละ 2 ครั้ง | ทุกเดือน |
เงื่อนไข ในการถอนเงิน | ถอนได้ 2 ครั้งต่อเดือน โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม (การถอนครั้งต่อไปในเดือนนั้นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 50 บาท) | ถอนได้ 2 ครั้งต่อเดือน ในการเบิกถอนตั้งแต่ครั้งที่ 3 เป็นต้นไป ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมครั้งละ 50 บาท | ถอนได้ 2 ครั้งต่อเดือน โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม (ครั้งถัดไปเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 50 บาท) | ถอนได้ 2 ครั้งต่อเดือน (ในการเบิกถอนตั้งแต่ครั้งที่ 3 เป็นต้นไปในเดือนเดียวกัน ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมครั้งละ 50 บาท) |
ดูรายละเอียดบัญชีเพิ่มเติม | คลิก | คลิก | คลิก | คลิก |
หมายเหตุ : - ข้อมูลข้างต้นเป็นการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดาเท่านั้น
- บัญชีที่เลือกมาเปรียบเทียบเป็นบัญชีที่วงเงินเปิดบัญชีไม่เกิน 500 บาทเท่านั้น
- บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่นำมาเปรียบเทียบ เป็นบัญชีออมทรัพย์แบบมีสมุดคู่ฝาก (ไม่รวมบัญชีเงินฝากประเภทออนไลน์ และบัญชีเงินฝากแบบไม่มีสมุด)
- ข้อมูล และรายละเอียดอัตราดอกเบี้ย เป็นข้อมูลเดือนตุลาคม 2562
- *รับดอกเบี้ยโบนัส เมื่อมียอดเงินเฉลี่ยในเดือนปัจจุบันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป หรือใช้ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี ธุรกรรม 5 ครั้งขึ้นไป ในเดือนปัจจุบัน
- **อัตราดอกเบี้ยของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์จัดเต็ม ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได้ รับดอกเบี้ยตามช่วงของยอดเงินที่ฝาก
จากข้อมูลเปรียบเทียบทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์เงินฝากออมทรัพย์ข้างต้น (ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2562) จะเห็นว่ามีบัญชีออมทรัพย์ 2 บัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.60% ต่อปี คือ
- เงินฝากออมทรัพย์ Ultra Savings (ธนชาต)
- เงินฝากทีเอ็มบี โน ฟิกซ์ (TMB) เมื่อฝากเข้าเงื่อนไขของธนาคาร
ถ้าเปรียบเทียบจากยอดเงินฝาก บัญชีเงินฝาก Ultra Savings ฝากเงินเพียง 20,000 บาท ก็สามารถรับดอกเบี้ย 1.60% ต่อปีได้แล้ว ในขณะที่บัญชีเงินฝาก ทีเอ็มบี โนฟิกซ์ จำนวนเงินฝากเริ่มตั้งแต่บาทแรกก็สามารถรับดอกเบี้ย 1.60% ต่อปี ได้เช่นกันค่ะ เพียงแต่ต้องเข้าเงื่อนไขของธนาคารที่ต้องมียอดเงินเฉลี่ยในแต่ละเดือนตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป หรือต้องมีบัญชี และบัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี และใช้ทำธุรกรรม 5 ครั้งขึ้นไปในเดือนนั้นๆ หากเดือนไหนที่เงินฝากไม่เข้าเงื่อนไขก็จะได้รับดอกเบี้ยเพียง 1.30% ต่อปี เท่ากับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์มีแต่ได้ของธนาคารกรุงศรีอยุธยาค่ะ
ส่วนบัญชีเงินฝากออมทรัพย์จัดเต็มจาก SCB ดอกเบี้ยสูงเป็นอันดับที่ 2 คือ 1.50% ต่อปี วงเงินเปิดบัญชีเพียง 500 บาท แต่หากต้องการรับดอกเบี้ยสูงต้องมียอดเงินฝากตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไปนะคะ
เห็นแบบนี้แล้วก็คงต้องบอกว่า สำหรับคนที่เริ่มเก็บออมเงิน ยอดเงินไม่สูงมาก และอยากฝากเงินรับดอกเบี้ยสูงให้อุ่นใจ "
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ Ultra Savings" น่าจะตอบโจทย์ได้ดีสำหรับเงื่อนไขที่เราเลือกมาเปรียบเทียบในครั้งนี้ ทั้งนี้ในการจะเลือกบัญชีเงินฝากสักหนึ่งบัญชี เราอาจจะพิจารณาจากปัจจัยอื่นๆ ประกอบการตัดสินใจด้วยนะคะ