บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี 36 เดือน ที่ไหนดอกเบี้ยสูง ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567

icon 6 พ.ย. 67 icon 88,331
บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี 36 เดือน ที่ไหนดอกเบี้ยสูง ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567
ถึงแม้การฝากเงินไว้กับธนาคารจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนสูงเหมือนการลงทุนในช่องทางอื่นๆ แต่...การฝากเงินไว้ใน "บัญชีเงินฝากปลอดภาษี" ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ให้เรามีระเบียบวินัยในการออม เพราะต้องฝากทุกเดือน เดือนละเท่าๆ กัน เช่น เดือนแรกเราฝาก 1,000 บาท เดือนต่อไปก็ต้องฝาก 1,000 บาทไปเรื่อยๆ จนครบตามงวดระยะเวลาที่กำหนด ช่วยให้เรารู้จักวางแผนจัดสัดส่วนในการออม และการใช้จ่ายได้อย่างสม่ำเสมอ 

และเมื่อเงินฝากครบกำหนดเราก็จะได้รับเงินเป็นก้อน พร้อมดอกเบี้ยที่สูงกว่าเงินฝากทั่วไป โดยได้รับยกเว้นการเสียภาษีเงินฝาก ซึ่งก็ถือได้ว่า การออมเงินโดยฝากไว้กับบัญชีเงินฝากปลอดภาษี เป็นการเริ่มต้นการลงทุนที่ง่าย และปลอดภัยที่สุด แต่...บัญชีเงินฝากปลอดภาษีก็ยังมีข้อจำกัด คือ ธนาคารแต่ละแห่งจะกำหนดการเปิดบัญชีเพียงคนละ 1 บัญชีเท่านั้นค่ะ ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเปิดบัญชีที่ไหนลองหาข้อมูล และเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย ประกอบการตัดสินใจก่อนนะคะ :)
 
ธนาคาร ชื่อบัญชีเงินฝาก เปิดบัญชี (บาท) ดอกเบี้ย
(%ต่อปี)
รายละเอียด
กรุงไทย
บัญชีเงินฝากประจำ KTB Zero Tax MAX 1,000 - 16,500 3.100 คลิก
เกียรตินาคินภัทร
บัญชีเงินฝากปลอดภาษี แบบมีสมุดคู่ฝาก/ไม่มีสมุดคู่ฝาก 500 - 16,500 3.000 คลิก
 
ไทยพาณิชย์
บัญชีเงินฝากโบนัส 36 เดือน 500 - 16,500 2.900 คลิก
 
ไทยเครดิต
บัญชีเงินฝากปลอดภาษี 1,000 - 16,500 2.900 คลิก
 
กรุงศรีอยุธยา
บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี 500 - 16,000 2.700 คลิก

ไอซีบีซี ไทย
บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี 1,000 - 16,500 2.700 คลิก

ยูโอบี
บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษีทวีสิน 1,000 - 25,000 2.500 คลิก
กรุงเทพ
บัญชีเงินฝากสินมัธยะทรัพย์ทวี 1,000 - 25,000 2.450 คลิก

แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
บัญชีเงินฝากปลอดภาษี ทวีค่า 1,000 - 16,500 2.400 คลิก

ทิสโก้
บัญชีเงินฝากปลอดภาษี 1,000 - 16,500 2.200 คลิก

ซีไอเอ็มบี ไทย
บัญชีเงินฝากประจำเพิ่มค่าสบายใจ 1,000 - 25,000 2.050 คลิก
 
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากปลอดภาษี ระยะเวลาฝาก 36 เดือน ที่สูงที่สุดสำหรับเดือนพฤศจิกายน อันดับที่ 1  ให้อัตราดอกเบี้ยสูงถึง 3.100% ต่อปี คือบัญชีเงินฝากประจำ KTB Zero Tax Maz จากธนาคารกรุงไทย อันดับที่ 2 คือ บัญชีเงินฝากปลอดภาษี แบบมีสมุดคู่ฝาก/ไม่มีสมุดคู่ฝาก จากธนาคารเกียรตินาคินภัทร ให้อัตราดอกเบี้ยสูง 3.000% ต่อปี ถัดมาเป็นบัญชีเงินฝากโบนัส 36 เดือน จากธนาคารไทยพาณิชย์ และบัญชีเงินฝากปลอดภาษี จากธนาคารไทยเครดิต ที่ให้อัตราดอกเบี้ย 2.900% ต่อปี ส่วนลำดับถัดไปจะเป็นบัญชีจากธนาคารอะไร เช็กข้อมูลจาก List ข้างต้นได้เลยค่ะ เลือกได้แล้วก็ลองหาสาขาที่อยู่ใกล้เคียง ไปเปิดบัญชีปลอดภาษีออมเงินกันยาวๆ ได้เลย บอกเลยนะคะว่าออมรอบนี้ถือว่าคุ้มสุด :)

หมายเหตุ
  • การนำเสนอข้อมูลในตารางนี้ เป็นการนำเสนอข้อมูล ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 และเป็นการเรียงลำดับตามอัตราดอกเบี้ยสูงสุด
  • การนำเสนอข้อมูลนี้ เป็นการพิจารณาการฝากเงินบัญชีปลอดภาษี ระยะเวลา 36 เดือน เท่านั้น ไม่รวมระยะเวลาอื่น เช่น 24 เดือน หรือ 48 เดือน เป็นต้น โดยดอกเบี้ยและจำนวนเงินฝากขั้นต่ำอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลาที่ธนาคารกำหนด
  • ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยข้างต้นนี้ เป็นอัตราพื้นฐานเท่านั้น ในบางกรณีธนาคารอาจเสนอโปรโมชันให้ลูกค้าพิเศษบางราย หรือลูกค้าประจำของธนาคาร หรือหากเป็นการฝากเงินร่วมกับการซื้อประกันชีวิต หรือร่วมกับการกู้สินเชื่อต่างๆ ธนาคารอาจเสนอดอกเบี้ยโปรโมชันพิเศษให้สูงกว่าในตารางข้างต้น ดังนั้น ท่านผู้อ่านควรตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารที่ท่านสนใจโดยตรงก่อนฝากอีกครั้ง ก่อนตัดสินใจ
แท็กที่เกี่ยวข้อง เงินฝากปลอดภาษี เงินฝากประจำ tax free บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี 36 เดือน
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)