หาก "กฏหมายการเก็บภาษีกองทุนตราสารหนี้" บังคับใช้จริง จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง ที่นี่! มีคำตอบ

icon 5 ก.ย. 61 icon 7,413
หาก "กฏหมายการเก็บภาษีกองทุนตราสารหนี้" บังคับใช้จริง จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง ที่นี่! มีคำตอบ

หาก "กฏหมายการเก็บภาษีกองทุนตราสารหนี้" บังคับใช้จริง จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง ที่นี่! มีคำตอบ

จากข่าวเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา มีรายงานจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบแนวทางจัดเก็บภาษีจากการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม โดยให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ของเงินได้ จากเดิมที่เสียภาษีเพียง 10% ซึ่งให้เหตุผลว่า เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมด้านการจัดเก็บภาษีระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้โดยตรงกับการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มรายได้เข้าภาครัฐปีละ 1,600-2,500 ล้านบาท วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเรื่องของกองทุนรวมตราสารหนี้ไปพร้อมๆ กันนะคะ

กองทุนรวมตราสารหนี้ (General Fixed Income Fund) คืออะไร?

กองทุนรวมตราสารหนี้ (General Fixed Income Fund) แปลตรงๆ ก็คือ กองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารการเงินที่ให้ผลตอบแทนคงที่ (Fixed Income) เช่น เงินฝาก และตราสารหนี้ประเภทต่างๆ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตั๋วเงินคลัง บัตรเงินฝากของธนาคาร ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน ตลอดจนหุ้นกู้ของภาคเอกชน กองทุนรวมประเภทนี้ เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อย เพราะตราสารหนี้จะให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยที่มีความสม่ำเสมอ นอกจากนี้ แม้ว่าราคาตราสารหนี้อาจมีความผันผวนขึ้นลงตามสภาวะตลาด แต่ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่กองทุนรวมได้รับจากการลงทุนในตราสารหนี้ ก็ยังผันผวนไม่มากเท่ากับตราสารทุน 

ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้แล้วได้อะไร?

1. กำไรจากราคา ดอกเบี้ยที่ได้รับจากตราสารหนี้ภายในกองทุน หรือราคาของตราสารหนี้ในกองทุนที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ราคากองทุนเพิ่มขึ้น ถ้าเราถือลงทุนก็จะทำให้เราได้กำไร
2. กระแสเงินสดจากปันผล กองทุนตราสารหนี้บางกองอาจมีการจ่ายเงินปันผล

ภาษีจากการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้

   แบบเดิม แบบใหม่ที่ ครม.อนุมัติหลักการ
กำไรจากการขายหน่วย
(Capital Gain)
จะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และไม่ต้องนำไปรวมเป็นรายได้  ตามแบบเดิม คือ ไม่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย
รายได้เงินปันผลต่อหน่วย (Dividend) จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% แต่มีสิทธิเลือกให้หักแล้วจบเลย หรือจะนำไปคิดรวมเป็นรายได้ก็ได้ ถ้าเลือกรวมปันผลจากกองทุน ก็ต้องนำมารวมทุกกองทุน แต่ไม่จำเป็นต้องเอาเงินปันผลจากหุ้นรายตัวมารวม และถ้าเลือกรวมปันผลจากหุ้นรายตัว ก็ต้องนำมาทุกหุ้นที่ได้ปันผล แต่ไม่จำเป็นต้องเอาเงินปันผลจากกองทุนมารวม คือเงินปันผล ก็มีหลายประเภท แยกกันได้ แต่ในประเภทเดียวกัน ต้องเอามาให้ครบ ตามแบบเดิม
รายได้ดอกเบี้ยที่ได้รับจากตราสารหนี้ภายในกองทุน (คือ ดอกเบี้ยที่เป็นรายได้เข้ากองทุน) ไม่ถูกหักภาษีใดๆ ตัวกองทุนรับรายได้เต็มๆ จะถูกหักภาษี 15% โดยให้นิติบุคคลผู้จ่ายดอกเบี้ยทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย  
ดังนั้น ... เมื่อรายได้ดอกเบี้ยที่ตราสารหนี้ภายในกองทุนได้รับถูกเก็บภาษี 15% จะทำให้ผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้ต่ำลง เช่น 
 ตัวอย่าง แบบเดิม  แบบใหม่ 
ราคากองทุน ตอนต้นปี = 10.00 
10.00 
(ไม่เสียภาษี) 
กำไรจากราคาตราสารหนี้ที่อยู่ในกองทุน
กำไรจากราคาตราสารหนี้ ไม่ต้องเสียภาษี 
0.30
(ไม่เสียภาษี) 
รายได้ดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ที่อยู่ในกองทุน  0.20  
ไม่เสียภาษี ถูกเก็บภาษีรายได้จากดอกเบี้ยที่ตราสารหนี้ภายในกองทุนได้รับ 15% คิดเป็นหักภาษี 0.03 
ราคากองทุน ณ ปลายปี 10.50 10.47 (เพราะถูกหักภาษีไป 0.03) 
ผลตอบแทนรวมในระยะเวลา 1 ปี 5.00% 4.70% 
ถึงแม้ว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมีมติอนุมัติให้จัดเก็บภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมในอัตรา 15% แต่หลังจากนี้ยังต้องส่งเรื่องให้กฤษฎีกาพิจารณาก่อนเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาตามขั้นตอนกฎหมาย ดังนั้น ขณะนี้กฎหมายยังไม่มีผลบังคับใช้จริง และไม่ได้ส่งผลกระทบกับกองทุนรวมที่ดำเนินการในปัจจุบัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากใครกำลังวางแผนจะลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ ก็จะได้เตรียมตัวรับมือกับมาตรการภาษีที่อาจจะประกาศใช้จริงในเร็ววันนี้ และถ้ามีประกาศมาเมื่อไหร่ เช็คราคา.คอมจะนำมาอัปเดตให้ทราบกันอีกแน่นอนค่ะ ไว้พบกันใหม่บทความหน้านะคะ :) 
แท็กที่เกี่ยวข้อง ภาษี ภาษี ตราสารหนี้ ตราสารหนี้ กองทุนตราสารหนี้ กองทุนตราสารหนี้ ภาษีกองทุนตราสารหนี้ ภาษีกองทุนตราสารหนี้
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)