"ประกันชีวิต" VS "ประกันสุขภาพ" ต่างกันยังไง เลือกให้ดี... ถ้าไม่อยากเสียเงินฟรี!!

icon 16 มี.ค. 65 icon 113,416
"ประกันชีวิต" VS "ประกันสุขภาพ" ต่างกันยังไง เลือกให้ดี... ถ้าไม่อยากเสียเงินฟรี!!
 หลายคนๆ ซื้อประกัน (ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ) เพื่อลดหย่อนภาษีเป็นหลัก แต่ถ้าดูกันลึกๆ แล้ว จะเห็นได้ว่าประกันสุขภาพ และประกันชีวิตมีประโยชน์มากกว่าแค่ "ลดภาษี" เยอะ หลายคนงงๆ ว่าประกันชีวิตมันเหมือน หรือมันซ้ำซ้อนอะไรกับประกันสุขภาพหรือเปล่า แล้วมันต่างกันยังไง วันนี้เรามีคำตอบพร้อมคำแนะนำคร่าวๆ มาให้ดูกันครับ
 
ทำความเข้าใจก่อนว่า ประกันชีวิตกับประกันสุขภาพไม่ได้มีแบบเดียวนะ
 
ประกันชีวิต
 
  ประเภทปลีกย่อยของประกันชีวิต  รูปแบบหรือจุดเด่นสำคัญๆ เหมาะกับใคร? 
1.  ประกันชีวิตแบบเน้นคุ้มครองชีวิตอย่างเดียว แบบมีกำหนดเวลา (Term Insurance)  เน้นความคุ้มครองในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น 10 ปี หรือ 20 ปี บริษัทประกันจะจ่ายเงินให้ในกรณีเดียวคือ ผู้ทำประกันตายภายในระยะเวลาคุ้มครอง หากมีชีวิตอยู่เลยจากระยะเวลาที่กำหนดไว้ จะไม่ได้รับเงินคืน ค่าเบี้ยประกันจะไม่ค่อยสูง  เหมาะกับคนที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตเพียงอย่างเดียว และลดภาษีด้วย (แต่ต้องซื้อแบบเกิน 10 ปี) 
 2. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ  บริษัทจะจ่ายเงินให้กับผู้รับประโยชน์ เมื่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นก่อนระหว่าง
(ก) ผู้เอาประกันตาย 
(ข) ผู้เอาประกันไม่ตาย และมีชีวิตอยู่จนอายุครบ ตามที่กรมธรรม์กำหนด (เช่น 90 ปี)
ค่าเบี้ยประกันจะไม่ค่อยสูง 
เหมาะกับคนที่เน้นสร้างความมั่นคงให้ครอบครัวถ้าคนที่เป็นเสาหลักของครอบครัวบังเอิญเสียชีวิตลง และลดภาษีด้วย (แต่ต้องซื้อแบบเกิน 10 ปี)
 3. ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Retirement Insurance)  เป็นประกันชีวิตที่จะเริ่มจ่ายเงินให้ผู้ทำประกันเมื่อผู้ทำประกันมีอายุถึงเกณฑ์ที่กำหนด (ส่วนใหญ่จะเป็นอายุช่วงเกษียณ) โดยมักต้องจ่ายเบี้ยประกันนานเป็นเวลาหลายๆ ปีต่อเนื่อง เช่น 10 ปีขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับแบบประกัน) โดยระหว่างที่จ่ายเบี้ยประกัน จะไม่มีเงินจ่ายคืนให้ แต่หลังจากนั้น (ซึ่งจะเป็นช่วงอายุที่เราเกษียณแล้ว) จะได้รับเงินคืนเป็นรายงวดในแต่ละปี เพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ ค่าเบี้ยประกันจะค่อนข้างสูง  เหมาะกับคนที่เน้นการออมเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ และลดภาษีด้วย
 4. ประกันชีวิตแบบเน้นสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance)   เมื่อครบอายุกรมธรรม์ จะได้รับเงินคืนเป็นก้อนบวกผลตอบแทนในเชิงของดอกเบี้ย โดยในระหว่างอายุกรมธรรม์ ก็อาจได้ผลตอบแทนคืนเป็นรายงวดด้วย (ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่ซื้อ เช่นแบบมีปันผล หรือไม่มีปันผล) เบี้ยประกันมีได้ทั้งค่อนข้างต่ำ ไปจนถึงสูงมาก  เหมาะกับคนที่ต้องการโดนบังคับให้มีการออมเงิน และขณะเดียวกันจะได้ประโยชน์จากการประกันชีวิตด้วย และลดภาษีด้วย (แต่ต้องซื้อแบบเกิน 10 ปี)
5.  ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-linked Insurance)  เป็นประกันชีวิตควบการลงทุน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
(ก) ส่วนของการประกันภัย ที่จะเป็นการให้ความคุ้มครองชีวิตตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต และอาจมีความคุ้มครองสุขภาพ และโรคร้ายแรงเพิ่มเติมได้โดยทำสัญญาเพิ่มเติม และ
(ข) ส่วนของการลงทุน เกิดจากการนำเบี้ยประกันชีวิตส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าประกันภัย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ หรือที่เรียกว่า "มูลค่าทางบัญชี" ไปลงทุนโดยการซื้อหน่วยลงทุนรวมที่บริหารโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ตามที่ผู้เอาประกัน หรือผู้ลงทุนเลือกไว้ และจะไม่มีการรับประกันผลตอบแทนใดๆ 
เหมาะสำหรับคนที่ต้องการทั้งความคุ้มครองชีวิต และผลตอบแทนจากการลงทุนผ่านกองทุนในระยะยาวด้วย 
 
ประกันสุขภาพ
 
  ระดับความคุ้มครองสุขภาพ รูปแบบหรือจุดเด่นสำคัญ   เหมาะกับใคร?
1.  ผู้ป่วยใน (Inpatient Care)  สำหรับการเจ็บป่วยที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล การเลือกซื้อประกันสุขภาพชนิดนี้ ต้องพิจารณาจากอัตราค่าห้องของโรงพยาบาลที่คาดว่าหากเจ็บป่วยจะต้องรักษาตัว โดยยิ่งเลือกค่าห้องสูง ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงตาม เหมาะกับคนที่ไม่มีสวัสดิการรักษาพยาบาล หรือมีสวัสดิการ แต่อาจไม่เพียงพอกับความต้องการ
 2. ผู้ป่วยนอก (Outpatient Care)   สำหรับการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล เช่น เป็นหวัด ปวดศีรษะ วงเงินในการรักษาควรพิจารณาจากค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้เมื่อไปรักษาในสถานพยาบาลที่ใช้เป็นประจำ เหมาะกับผู้ที่ไม่มีสวัสดิการ หรือเป็นผู้ที่เจ็บป่วยบ่อย
 3. โรคร้ายแรง สำหรับความเจ็บป่วยที่ต้องใช้ค่ารักษาพยาบาลสูง ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยโรคมะเร็ง (Cancer) กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Heart Attack) และโรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke)  เหมาะกับคนสุขภาพโดยรวมไม่ค่อยดี หรือคนที่เริ่มมีอายุแตะเลข 3 ปลายๆ หรือ 40 ขึ้น 
 4.  อุบัติเหตุ เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาล ทุพพลภาพ และสูญเสียอวัยวะอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ (ซึ่งนิยามว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันจากปัจจัยภายนอกร่างกาย และทำให้เกิดผลที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เจตนา หรือมุ่งหวัง) คุ้มครองเฉพาะกรณีเกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่คุ้มครองกรณีเป็นโรค เหมาะกับคนที่ทำงานซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการเกิดอุบัติเหตุ เช่น งานที่ต้องเดินทางไกลบ่อย 
 5. ชดเชยรายได้ (ประกันภัยที่ดูแลระยะยาว)  เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้ทำประกันภัยไม่สามารถทำภารกิจที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตได้ อย่างน้อย 3 ใน 6 อย่างต่อไปนี้ คือ การเปลี่ยนท่าระหว่างนอน และนั่ง, การเดิน, การแต่งกาย ,การอาบน้ำ, การทานอาหาร ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 180 วัน หรือมีคำวินิจฉัยจากแพทย์ โดยประกันจะจ่ายเป็นค่าชดเชยทดแทนแบบรายเดือนหรือตามทุนประกันภัยที่ซื้อไว้ และจ่ายต่อเนื่องสูงสุด  24 - 36 เดือนสำหรับวงเงินชดเชยรายได้ เหมาะกับผู้ที่มีครอบครัวต้องเลี้ยงดู หรือมีรายได้ไม่สม่ำเสมอ 
 
"ประกันชีวิต" และ "ประกันสุขภาพ" ต่างกันแค่ไหน และเลือกซื้ออันไหนดี ?

ก่อนจะตัดสินใจซื้อประกัน เรามาดูกันก่อนนะครับว่า เราควรซื้อ "ประกันชีวิต" หรือ "ประกันสุขภาพ" กันดี แล้วสองเรื่องนี้มีอะไรต่างกันบ้าง (หมายเหตุ ข้อแตกต่างพวกนี้เป็นภาพรวมเท่านั้น เพราะอย่างที่เห็นข้างต้นนะครับ ทั้งประกันชีวิต และประกันสุขภาพมีรูปแบบ และรายละเอียดปลีกย่อยให้เลือกหลากหลายมาก) 
 
   ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ   Tip แนะนำ
เราจะได้ประโยชน์อะไรจากประกันแต่ละประเภท  หากเกิดกรณีเราเสียชีวิต (หรือรอดชีวิตมาได้ถึงอายุจุดหนึ่ง) บริษัทประกันจะจ่ายเงินก้อนหนึ่งให้ลูกหลานเราที่ระบุไว้ว่าเป็นผู้รับผลประโยชน์ (กรณีเสียชีวิต) หรือคืนทุนประกันให้เราเต็มจำนวน (กรณีเรามีอายุถึงจุดหนึ่ง เช่น 90 ปี ครบตามสัญญาประกัน) เป็นได้ทั้ง "Death Benefits" และ "Survival Benefits" หากเกิดกรณีเราล้มป่วย ทุพพลภาพ หรือได้รับอุบัติเหตุถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาล บริษัทประกันจะจ่ายเงินให้เราสำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยกรณีเราไม่สามารถทำงานได้ต้องนอนอยู่โรงพยาบาล โดยหลักแล้ว ประกันทั้งสองประเภทนี้ ถ้าทำตั้งแต่ตอนอายุยังไม่มาก เช่น 30 กว่า จะเสียค่าเบี้ยประกันต่ำกว่าทำตอนอายุเยอะๆ และขอบเขตโรคที่คุ้มครองก็มักจะได้กว้างกว่าด้วย  
จ่ายเบี้ยประกัน แล้วไปไหน  เบี้ยไม่สูญเปล่า คือเมื่อจ่ายเบี้ยประกัน จำนวนเบี้ยประกันจะมีมูลค่าสะสมเข้าไปในกรมธรรม์  เบี้ยสูญเปล่า คือเมื่อจ่ายเบี้ยประกันไปแล้ว ถ้าไม่มีป่วย เบี้ยปีนั้นๆ ก็จะสูญไปเลย จะไม่มีมูลค่าเงินสดสะสมเข้าไปในกรมธรรม์ ประกันสุขภาพเป็นเบี้ยสูญเปล่าก็จริง แต่ถือเป็นการซื้อความเสี่ยง ถ้าเกิดป่วยขึ้นมาจริงๆ เบี้ยประกันเหล่านี้จะถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับค่ารักษาพยาบาล 
จำนวนเบี้ยประกันมากน้อยแค่ไหน โดยเฉลี่ย เบี้ยประกันชีวิตจะสูงกว่าเบี้ยประกันสุขภาพ (เช่น ถ้าแบบครอบคลุมได้ประโยชน์จริงๆ ก็จะมีตั้งแต่หลายหมื่นบาท จนถึงหลักแสนบาท) แต่เนื่องจากเบี้ยมีมูลค่าสะสม จึงสามารถเก็บสะสมเป็นเงินออมเป็นมรดกได้ในอนาคต (และจะยิ่งสูงขึ้นไปอีกถ้าเป็นประกันชีวิตแบบเน้นสะสมทรัพย์หรือแบบบำนาญ)  มีได้ตั้งแต่ระดับไม่สูง จนถึงสูงมาก (เช่น หมื่นบาทต้นๆ จนถึงหลายหมื่นบาท) ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ ขอบเขตการรักษาพยาบาล หรือความคุ้มครอง เดี๋ยวนี้เราสามารถซื้อกรมธรรม์เดียวแต่ควบรวมทั้งประกันชีวิต และประกันสุขภาพในกรมธรรม์เดียวกันได้ หรือถ้าเราอายุยังไม่เยอะมาก เราอาจซื้อประกันชีวิตก่อนได้ แล้วพออายุเริ่มเยอะ หรือมีความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บสูงขึ้น ค่อยซื้อประกันสุขภาพเป็นสัญญาเพิ่มเติมกรมธรรม์ประกันชีวิตก็ได้ 
คุ้มครองอะไรให้เราบ้าง คุ้มครองการเสียชีวิต หรือจะคืนผลประโยชน์ให้แบบเต็มจำนวน เมื่อผู้เอาประกันยังคงมีชีวิตอยู่ไปจนครบสัญญาประกันภัยตามที่ระบุในกรมธรรม์นั้นๆ คุ้มครองด้านค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยรายได้เนื่องจากต้องนอนพักรักษาพยาบาล  ควรพิจารณาเลือกซื้อให้เหมาะสมกับความจำเป็นของเรา ไม่จำเป็นต้องซื้อให้คุ้มครองทุกอย่าง เช่น ประกันสุขภาพถ้าเรามีประกันกลุ่มของบริษัทนายจ้างเราที่ดีอยู่แล้ว ก็อาจซื้อแค่ประกันโรคร้ายแรง หรืออุบัติเหตุ ไม่จำเป็นต้องซื้อแบบผู้ป่วยนอก เป็นต้น 
ใครได้ประโยชน์จากเงินสินไหม  เงินประกันจะตกเป็นของผู้ที่ระบุชื่อในกรมธรรม์ว่าเป็นผู้รับผลประโยชน์ ซึ่งอาจเป็นตัวเราเอง สามี ภรรยา บุตรหลาน หรือพ่อแม่เราเองก็ได้หมด  เงินประกันจะจ่ายให้ในชื่อผู้เอาประกันเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยรายได้เท่านั้น  เงินสินไหมทดแทนกรณีประกันสุขภาพจะมี 2 แบบหลักๆ คือ
(ก) ประกันสุขภาพในวงเงินเหมาจ่าย
(ข) ประกันสุขภาพที่แยกประเภทค่าใช้จ่ายในการรักษา แต่ละประเภทมีความเหมาะสมไม่เหมือนกัน เช่น ถ้าเลือกแบบเหมาจ่ายสำหรับโรคร้ายแรง ก็อาจคุ้มกว่า ในขณะที่ถ้าแบบแยกประเภทค่าใช่จ่าย ก็อาจเหมาะกว่าสำหรับบางโรคเล็กๆ น้อยๆ ที่เราเป็นบ่อย  
ต้องจ่ายเบี้ยประกันนานแค่ไหน และระยะประกันจะนานแค่ไหน  มีได้ทุกระยะเวลา แต่หากต้องการได้รับประโยชน์ในเชิงลดหย่อนภาษี ต้องซื้อแบบแผนประกันชีวิตตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และมีผลประโยชน์ตอบแทนคืน ไม่เกินปีละ 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสม ขึ้นกับว่าทำแบบไหน ทำได้หลายแบบ แบบปีต่อปี หรือแบบอิงตามระยะเวลาของประกันชีวิตหลักที่ประกันสุขภาพนี้เป็นส่วนเพิ่มเติม  การทำประกันสุขภาพแบบมีผลปีต่อปีไม่ค่อยแนะนำเพราะถ้าเราป่วย แล้วมีการใช้สิทธิ Claim ปีหน้าบริษัทประกันมักปรับค่าเบี้ยสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ ให้ทำประกันสุขภาพแบบจำนวนเบี้ยประกันตายตัวแน่นอนแบบระยะยาวจะดีกว่า
สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างกันยังไง    เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีที่แผนประกันชีวิตนั้นมีระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และมีผลประโยชน์ตอบแทนคืน ไม่เกินปีละ 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสม โดยใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามเบี้ยประกันที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

แต่ถ้าประกันชีวิตเป็นแบบบำนาญ ยังสามารถลดหย่อนภาษีเพิ่มได้อีกตามเบี้ยประกันที่จ่ายจริง โดยสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 บาท (แต่ถ้ารวมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ RMF ต้องไม่เกิน 500,000 บาท)
เบี้ยประกันสุขภาพสามารถนำไปลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป / เงินฝากแบบมีประกันชีวิต ต้องไม่เกิน 100,000 บาท เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญจะลดหย่อนภาษีได้สูงสุด (คือ 200,000 บาท) และมากกว่าเบี้ยประกันสุขภาพ และประกันชีวิตแบบอื่นๆ

เบี้ยประกันสุขภาพต้องนำไปรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปหากต้องการจะลดหย่อนภาษี เพราะกฎหมายไทยตีความว่าการประกันสุขภาพเป็นการประกันวินาศภัย (ที่ไม่ใช่ประกันชีวิต) ดังนั้น บริษัทประกันส่วนใหญ่เลยขายประกันสุขภาพพ่วงประกันชีวิต เพื่อให้คนซื้อประกันสุขภาพสามารถนำเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้
 
บทสรุปคือ ทั้งประกันชีวิต และประกันสุขภาพมีประโยชน์ทั้งคู่ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการซื้อ สุขภาพความเสี่ยงของตัวเราเอง มีคนในครอบครัวที่ต้องพึ่งเราไหม ทำงานมีรายได้แน่นอนหรือไม่ ป่วยบ่อยไหม หน้าที่การงานเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงอุบัติเหตุแค่ไหน มีประกันสุขภาพกลุ่มของบริษัทอยู่ด้วยหรือเปล่า และความสามารถในการชำระเบี้ยประกันเรามีมากน้อยแค่ไหน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีส่วนสำคัญทั้งสิ้นในการที่จะดูว่าเราต้องซื้อประกันอะไร วงเงินแค่ไหน และคุ้มครองอะไรบ้าง ซึ่งก็ค่อนข้างจะแตกต่างกันไปในแต่ละคนครับ แต่หลักๆ เลยก็คือ ถ้าเรามีครอบครัวต้องเลี้ยงดู และเป็นเสาหลักแหล่งรายได้หลักของครอบครัว เราควรมีทั้งประกันชีวิต และประกันสุขภาพเลยนะครับ เพื่ออนาคตที่ดี และมั่นคงของครอบครัว
แท็กที่เกี่ยวข้อง ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ รู้ทันประกัน เลือกประกันอย่างไรดี
Money Guru
เขียนโดย เช็คราคา.คอม Money Guru

พูดคุยกับกูรูได้ที่



เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)